เมื่ออาณาจักรสหกรุ๊ป ที่บุณยสิทธิ์ มีส่วนร่วมสร้างขึ้นมา ต้องถูกสั่นคลอนจากผลพวงของการลอยตัวค่าเงินบาท
ในฐานะประธานกลุ่ม ที่มีบริษัทในเครือกว่า 200 แห่ง เขามีภารกิจ ที่จะต้องนำพากิจการทั้งหมดให้ผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้
เมื่อครั้ง ที่บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา เข้า รับตำแหน่งประธานเครือสหกรุ๊ป ภายหลังการเสียชีวิตของนายห้างเทียมใหม่ๆ
นั้น เขา เคยคิดว่าจะดำรงตำแหน่งนี้จนอายุเพียง 60 ปี ก็จะรีไทร์ตัวเอง เพื่อเปิดโอกาสให้น้องๆ
คนอื่นรับช่วงงานต่อ
แต่เขาไม่สามารถทำได้ตาม ที่ตั้งใจไว้
บุณยสิทธิ์มีอายุครบ 60 ปี ในปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท
ดังนั้น แทน ที่เขาจะได้ออกไปพักผ่อนอยู่กับบ้านอย่างสบายๆ เขาต้องกลับมาทำงานหนักขึ้นกว่าเก่า
โดยมีเป้าหมาย ที่จะนำพาสหกรุ๊ป ซึ่งบิดาของเขาก่อตั้งขึ้นมาด้วยหยาดเหงื่อ และแรงกาย
ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจรอบนี้ไปให้ได้
การประกาศให้เงินบาทลอยตัว ส่งผลให้สหกรุ๊ปเกิดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนรวมกว่า
2,000 ล้านบาท ตามด้วยยอดขายของทุกบริษัทในเครือตกลงโดยเฉลี่ย 15-20% ในอีก
1 ปีต่อมา
"ตั้งแต่ผมค้าขายมาไม่เคยเจอแบบนี้" บุณยสิทธิ์เคยยอมรับกับ
"ผู้จัดการ" ไว้เมื่อต้นปี 2542 หลังต้องเผชิญกับวิกฤติมาแล้วเกือบ
2 ปี
บุณยสิทธิ์ได้รับการยอมรับจากพี่ และน้องให้ก้าวขึ้นมารับช่วงตำแหน่งประธานสหกรุ๊ปต่อจากนายห้างเทียม
เมื่อปี 2534 แม้ว่าเขาไม่ได้เป็นลูกชายคนโต แต่ด้วยเหตุผลที่เขาเป็นลูกชายคนเดียว ที่จัดได้ว่า
มีโอกาสได้ทำงานใกล้ชิด และได้รับการถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ด้านการค้าขายจากนายห้างเทียมมามากที่สุด
เขาจึงถูกเลือกให้เข้ามารับช่วงงานดังกล่าว
บุณยสิทธิ์เป็นลูกชายคนที่ 3 ของนายห้างเทียม เขายังมีพี่ชายอีก 2 คนคือ บุณย์เอก และบุณปกรณ์
โดยในช่วงเริ่มก่อตั้งบริษัทสหพัฒนพิบูลขึ้นในปี 2495 นั้น เป็นช่วง ที่ลูกชายทั้ง
3 ของนายห้างเทียมยังเรียนหนังสืออยู่
บุณย์เอก ลูกชายคนโตถูกนายห้าง เทียมส่งให้ไปเรียนต่อด้านวิศวะเครื่องกล ที่ออสเตรเลีย
ขณะที่บุณปกรณ์ถูกส่งให้ไปเรียนด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ประเทศอังกฤษ
ส่วนบุณยสิทธิ์ ขณะนั้น ยังคงเรียนมัธยมอยู่ ที่โรงเรียนกวดวิชาวัดสุทัศน์
ช่วง 3 ปีแรก บริษัทสหพัฒนพิบูล มีนายห้างเทียมเป็นเถ้าแก่ แต่การดูแลกิจการของบริษัทอยู่ในความรับผิดชอบของหลงจู๊
ซึ่งทำหน้าที่คล้ายผู้จัดการ
หลงจู๊ของนายห้างเทียม ช่วงเริ่มก่อตั้งบริษัทมีอยู่ด้วยกัน 3 คน เรียกว่าเป็น
"3 ทหารเสือ" ประกอบด้วยปคุณ ตั้งชัยศักดิ์, ฉลอง วิทยานนท์ และดำหริ ดารกานนท์
ปัญหา ที่นายห้างเทียมต้องเผชิญในช่วงแรกของการก่อกำเนิดสหพัฒน์คือ หลงจู๊
ทั้ง 3 เมื่อเริ่มทำงานมาได้ระยะหนึ่ง ก็อยากเป็นเถ้าแก่ไปสร้างอาณาจักรเป็นของตนเอง
ฉลองไปได้ลูกสาวข้าราชการผู้ที่อยากได้ลูกเขยเป็นเถ้าแก่ จึงอาศัยประสบการณ์ ที่อยู่กับนายห้างเทียมออกไปตั้งกิจการเป็นของตนเองขึ้นในพื้นที่ใกล้เคียงกับ ที่ตั้งของสหพัฒน์
และยังใช้ชื่อบริษัทว่า "สหวิบูลย์" ซึ่งถือเป็นคู่แข่งรายหนึ่งของสหพัฒน์ในขณะนั้น
ปคุณได้ออกไปตั้งบริษัทเวิลด์เทรดดิ้ง เพื่อขายท่อน้ำเอสล่อน และต่อมาได้พัฒนา
ขึ้นเป็นเอเยนต์ขายเม็ดพลาสติกให้กับกลุ่มทีพีไอของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ในภายหลัง
ส่วนดำหริได้ไปร่วมทุนกับบริษัทซิปวายเคเคของญี่ปุ่น และพัฒนากิจการจนกลายเป็นกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยนในปัจจุบัน
การบริหารงานโดยอาศัยหลงจู๊ ทำให้นายห้างเทียมมองว่า จะไม่เป็นผลดีกับการขยายอาณาจักรของสหพัฒน์ต่อไปในอนาคต
แต่เนื่องจากลูกชาย 2 คนแรก ยังเรียนอยู่ต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อบุณยสิทธิ์เรียนจบมัธยมปีที่
6 เมื่อปี 2498 จึงถูกนายห้างดึงเข้ามาให้รับผิดชอบงานในสหพัฒน์อย่างเต็มตัว
ขณะที่มีอายุเพียง 18 ปี
บทเรียนแรก ที่บุณยสิทธิ์ได้รับคือ การถูกส่งตัวไปอยู่ประเทศญี่ปุ่น ทำหน้าที่สั่งสินค้าเข้ามาขายในประเทศไทยผ่านทางสหพัฒน์
บุณยสิทธิ์ใช้ชีวิตอยู่ ที่ญี่ปุ่นถึง 6 ปีเต็ม ซึ่ง ที่นี่เอง ที่เป็นแหล่งสร้างสมประสบการณ์ ที่สำคัญยิ่งให้กับเขา
เพราะทำให้เขาได้ซึมซับความรู้ด้านการค้าขายของคนญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในช่วงสร้างประเทศหลังจากพ่ายแพ้สงครามโลกครั้ง ที่
2 ขณะเดียวกันเขาก็ได้สร้างสายสัมพันธ์กับบริษัทการค้าต่างๆ ของญี่ปุ่น ซึ่งมีผลต่อเนื่องกับธุรกิจของสหพัฒน์ในช่วงเวลาต่อมา
ที่สำคัญ การใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับพ่อค้าชาวญี่ปุ่น ทำให้แนวความคิดในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของบุณยสิทธิ์เอนเองมาทางเอเชียสไตล์
มากกว่าจะเป็นอเมริกันสไตล์ เหมือน ที่รัฐบาลของไทยได้ดำเนินการมาตลอดตั้งแต่ปี
2540
"สำหรับสหพัฒน์ เราคิดว่าญี่ปุ่นเป็นชาติ ที่เป็นมิตร และเข้าใจการค้าขายแบบเอเชียมากที่สุด
เพราะวัฒนธรรมการค้าแบบญี่ปุ่นก็มาจากเมืองจีน เขาจะเข้าใจเรามากกว่า อย่าง
เช่น ระบบการเงินการธนาคาร เราก็เอาแบบอย่างมาจากญี่ปุ่นหลังสงคราม แต่อยู่ๆ
ใครก็ไม่รู้เอาบีไอบีเอฟมาใช้ อยู่ดีๆ ก็ใช้ชาติตะวันตกเข้ามายุ่ง เราเอเชียคบกันเองก็ดีอยู่แล้ว"
บุณยสิทธิ์ให้ทัศนะ
เมื่อกลับจากญี่ปุ่น บุณยสิทธิ์มีส่วนสำคัญในการช่วยให้นายห้างเทียมขยายอาณาจักรสหพัฒน์จนเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
เขาเป็นคนก่อตั้งบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล คอสเมติกส์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อ
เป็นไอซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล) ขึ้นในปี 2507 เพื่อขยายไลน์สินค้าไปสู่เครื่องสำอาง
และเสื้อผ้า จากเดิม ที่สหพัฒน์เน้นสินค้าอุปโภคบริโภคเพียงอย่างเดียว
เขามีส่วนผลักดันให้สหพัฒน์ปรับโครงสร้างธุรกิจ จาก ที่เป็นเพียงผู้นำเข้าสินค้ามาจำหน่ายภายในประเทศ
เป็นการดึง คู่ค้าจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่คือ ญี่ปุ่น เข้ามาร่วมทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้า เพื่อขายในประเทศไทย
และส่งกลับไปขาย ที่ญี่ปุ่น
และเมื่อการร่วมทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้าเริ่มมีมากขึ้น เขาก็เป็นผู้ริเริ่มโครง
การสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ขึ้น ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่ปี
2515 รวมศูนย์การผลิตสินค้าทั้งหมดไว้ในที่เดียว เพื่อป้องกันปัญหามลภาวะ
และหนีความแออัดของเมือง ที่เริ่มจะขยายตัว
กล่าวได้ว่าการขยายตัวของสหพัฒน์ จากเดิม ที่เป็นเพียงร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภคเล็กๆ
จนกลายเป็นอาณาจักร สหกรุ๊ป ที่มีบริษัทในเครือกว่า 200 แห่งได้ในช่วงระยะเวลา
40 กว่าปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากความสามารถ และมันสมองของนายห้างเทียมแล้ว
บุณยสิทธิ์ก็เป็นคีย์แมน คนสำคัญอีกคนหนึ่งด้วย
และเมื่อสิ้นยุคนายห้างเทียม บุณยสิทธิ์ก็ยังต้องเป็นคีย์แมนคนสำคัญ ในการเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของสหกรุ๊ป
เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจาก การลอยตัวค่าเงินบาท หลังจากเขาเข้ารับตำแหน่งประธานสหกรุ๊ปต่อจากนายห้างเทียมเพียง
6 ปี
ปัญหาของสหกรุ๊ปนั้น อยู่ ที่สินค้าส่วนใหญ่ มุ่งเน้นการขายในตลาดภายในประเทศเป็นหลัก
ส่วน ที่ส่งออก ก็เน้นไป ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจมาก่อนหน้าประเทศไทย
จากการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 นอกเหนือจากภาระหนี้สินต่างประเทศของไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดแล้ว
ในทางตรงข้าม กำลังซื้อภายในประเทศได้หดตัวลงอย่างรวดเร็ว
สหกรุ๊ปก็เป็นอีกกลุ่มธุรกิจหนึ่ง ที่ต้องได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โครงการ "Thailand Best" จึงถูกคิดค้นขึ้น เพื่อกระตุ้นให้คนไทยเลิกนิยมในสินค้านำเข้า
และหันมาใช้สินค้า ที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศ โดยการติดสัญลักษณ์ "Thailand
Best" ไว้บนโลโกของสินค้าทุกชนิด ที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ เป็นการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคได้รับรู้ว่าสินค้าชนิดใด ที่ผลิตได้ภายในประเทศ
ด้วยคุณภาพ ที่ทัดเทียมกับสินค้านำเข้า แต่ราคาถูกกว่า
โครงการนี้ บุณยสิทธิ์ไม่จำกัดเฉพาะสินค้าของสหกรุ๊ปเท่านั้น แต่เปิดโอกาสให้เจ้าของสินค้ารายอื่น
สามารถยื่นขอติดสัญลักษณ์ดังกล่าวได้ด้วย เพราะวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการ
คือ การ "ช่วยชาติ"
ในส่วนของสหกรุ๊ปเอง บุณยสิทธิ์ได้ปรับแนวทางการบริหารงานใหม่ โดยหยุดการลงทุนทุกอย่าง
และนำระบบคิดแบบ "ซีโร่มาร์เก็ตติ้ง" มาใช้ โดยให้ทุกบริษัทในกลุ่ม เลิกตั้งเป้าหมายการเติบโต
แต่ให้หันมามุ่งเน้นในการควบคุมค่าใช้จ่าย เพิ่มความสามารถในการผลิต และมีการทำกลยุทธ์การตลาดแบบค่อยเป็นค่อยไป
"นับตั้งแต่ฟองสบู่แตก เราไม่ได้ลงทุนอะไรเพิ่มขึ้นเลยหยุดไปเลย
ตอนนี้คือ ช่วงเวลาของการจ่ายคืนหนี้ทั้งใน และต่างประเทศให้เร็วที่สุด พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่าย
และลดสินค้าคงเหลือ" บุณยสิทธิ์กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
นอกเหนือจากการจัดการภายในแล้ว สหกรุ๊ปยังมีกิจกรรมนำสินค้าในเครือไปออกร้านขายอีกหลายครั้ง เพื่อลดจำนวนสินค้าคงเหลือ
แต่กิจกรรมสำคัญที่สุด ที่สหกรุ๊ปจัดขึ้นมาจากผลของวิกฤติเศรษฐกิจ คือ มหกรรมสินค้าส่งออกในเครือ
ซึ่งเป็นการนำสินค้าทุกชนิด ที่สามารถผลิตได้มาจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการ และมีการเชิญชวนบริษัทคู่ค้า
ซึ่งเป็นผู้นำเข้าชาวต่างประเทศ และเอเยนต์ภายใน ประเทศได้เข้าชม ซึ่งล่าสุดได้มีการจัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นครั้ง ที่
3 แล้ว เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา
กิจกรรมดังกล่าว บุณยสิทธิ์ไม่หวังผลเฉพาะหน้า แต่ถือเป็นการปูพื้นฐานระยะยาว
ที่สินค้าในเครือสหกรุ๊ป จะต้องมีสัดส่วนการส่งออก ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
แนวทาง ที่บุณยสิทธิ์ได้ทำมาทั้งหมดตั้งแต่เกิดวิกฤติ มีผลให้สถานการณ์ของสหกรุ๊ปในวันนี้ดีขึ้นอย่างมาก
วันที่ 25 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นวันที่บุณยสิทธิ์มีอายุครบ 63 ปีเต็ม หากไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้น
ป่านนี้เขาคงได้พักผ่อนอยู่กับครอบครัว ที่บ้าน ทิ้งภาระการบริหารสหกรุ๊ป
ไว้ให้เป็นความรับผิดชอบของน้องๆ ไปนานแล้ว
แต่ 3 ปีที่ผ่านมา กลับเป็น 3 ปีที่เขาต้องเหนื่อยมากกว่าเก่า ในฐานะประธานเครือสหกรุ๊ป
เขาจำเป็นต้องรักษาอาณาจักร ที่บิดาของเขาได้สร้างไว้ ให้คงอยู่ต่อไป และเติบโตได้อย่างมั่นคง
และเมื่อวันหนึ่ง ที่เขาได้มีโอกาสรีไทร์ตนเองออกจากภาระอันหนักอึ้งนี้ไปได้
จะเป็นการรีไทร์ ที่น่าภาคภูมิใจ เพราะนั่นหมายถึงเขาทำภารกิจชิ้นสำคัญนี้สำเร็จแล้ว