Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2545
mall asia โลก e-business ของซีพี             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล วีระพล โชควิทยารัตน์

   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์
โฮมเพจ มอลล์ เอเซีย
www.ehotelthailand.com
www.thaifoodmart.com

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Super Brand Mall
E-Commerce
มอลล์ เอเซีย




ดูเหมือนว่า เข้าสู่โลก e-business ของกลุ่มซีพีในอีกด้านหนึ่งกำลังถูกเผยโฉมหน้าออกมา

อันที่จริงแล้ว จุดประสงค์ของการเข้าสู่โลกของ e-business ของบริษัทมอลล์ เอเซีย ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากธุรกิจอีกหลายแห่งที่มีเว็บไซต์ไว้เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ แต่เป้าหมายของบริษัทนี้กลับมากไปกว่านั้น

การเปิดตัว บริษัทมอลล์ เอเซีย อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2544 เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่สินค้าของผู้ผลิตในไทย ในการไปเปิดตลาดการค้าในประเทศจีน ผ่านห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์แบรนด์มอลล์ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซุปเปอร์แบรนด์มอลล์เป็นหนึ่งในเครือข่ายการลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจที่มาจากศักยภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองเซี่ยงไฮ้ ทั้งในแง่รายได้ต่อหัวของประชากร และจำนวนพลเมืองในเซี่ยงไฮ้ที่มีอยู่จำนวนมาก

บนชั้น 5 ของห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ ถูกจัดเตรียมไว้เพื่อจัดจำหน่ายอาหารไทย จากผู้ผลิตของไทยมากกว่า 200 บริษัท เพื่อเปิดตลาดในเซี่ยงไฮ้ ที่เป็นเป้าหมายสำคัญอีกแห่งหนึ่ง เพราะหมายถึงตลาดประชากรมีรายได้ 2 แสนบาทต่อปี และผู้มีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน ที่มีอยู่นับล้านคน

แต่การมีโชว์รูมจำหน่ายสินค้าบนห้างสรรพสินค้าเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะเพียงพอกับขนาดอันกว้างใหญ่ของเมืองเซี่ยงไฮ้ และประเทศจีน การมีเว็บไซต์ thaifoodmart.com จึงเป็นประโยชน์ทางภูมิศาสตร์ในการเผยแพร่ หรือประชาสัมพันธ์ได้มากกว่าการตั้งตัวแทน หรือผู้จัดจำหน่าย

อย่างไรก็ตาม วีระพล โชควิทยารัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทมอลล์ เอเซีย ยอมรับว่า บทบาทของเว็บไซต์ในเวลานี้เป็น ได้แค่สื่อในการให้ข้อมูล การจะคาดหวังให้ลูกค้าหรือผู้ซื้อให้เข้ามาสั่งซื้อ และชำระค่า สินค้าผ่านเว็บไซต์ ยังทำไม่ได้ในเวลานี้

ความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์ในจีน บวกกับจำนวนของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต 22 ล้านคน เป็นชาวจีนในเซี่ยงไฮ้ 3-4 ล้านคน วีระพลเชื่อว่า จะทำให้โอกาสของการเรียกดูข้อมูลจาก หน้าเว็บไซต์ thaifoodmart.com ย่อมเป็นไปได้สูง

วิธีการของพวกเขาก็คือ การจัดกิจกรรมทางการตลาด เช่น การจัดงานสาธิต สินค้าควบคู่กับการเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ ที่จะเป็นรายละเอียดสินค้าเบื้องต้น การคิดค่าบริการจากผู้ผลิตสินค้าจะคิดค่าแรกเข้า 1,000 บาท และค่า web page หน้าละ 2,000 บาท

"เราเดิน 2 เกมพร้อมกัน คือ การตั้งร้านค้าปลีก ค้าส่ง และแฟรนไชส์ ดังนั้นการมีแฟรนไชส์ และเว็บไซต์ในการติดต่อจะสร้างโอกาสให้กับธุรกิจ"

นอกเหนือจากเว็บไซต์ thaifoodmart. com เว็บไซต์ b to b สำหรับเผยแพร่ข้อมูลอาหารไทยให้กับผู้จัดจำหน่าย สิ่งที่เกิดขึ้นต่อไป คือ เว็บไซต์ b to c เพื่อประชาสัมพันธ์ ประโยชน์ของอาหารไทยกับผู้บริโภคโดยตรง

ทว่าเป้าหมายของมอลล์ เอเซีย ไม่ได้ถูกทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจที่มีอยู่เดิมเท่านั้น แต่พวกเขายังทำหน้าที่เป็นผู้สร้างระบบซื้อขายสินค้าในโลกของ e-business ให้กับผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

การเข้าสู่ e-business ของมอลล์ เอเซีย ได้วางตัวเองเป็นผู้ให้บริการ หรือ service provider ในการจัดทำระบบจัดซื้อสินค้าอัตโนมัติ หรือ e-procurement ให้กับกลุ่มสมาคมโรงแรม

มูลค่าของการจัดซื้อของใช้ทั่วไปปีละนับหมื่นล้านบาท บวกกับการมีระบบจัดซื้อที่ค่อนข้างทันสมัย โรงแรมถูกเลือกให้เป็นลูกค้าเป้าหมายกลุ่มแรก ในการผลักดันเข้าสู่ระบบ e-procurement ที่มอลล์ เอเซียสร้างขึ้น

หลายคนอาจนึกถึงระบบ e-procurement ที่สมบูรณ์แบบทันทีที่ออร์เดอร์ถูกสั่งไปยังซัปพลายเออร์ การชำระเงินจะมีขึ้นโดยอัตโนมัติผ่านระบบออนไลน์ที่เชื่อมโยงไปยังธนาคารที่เข้าร่วม โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตเป็นการันตี การขนส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งมีขึ้นเกือบจะทันทีที่การชำระเงินไม่มีปัญหา

แต่ระบบ e-procurement ของที่นี่ยังเป็นจุดเริ่มต้น เพราะพวกเขายังต้องใช้เวลาในการสร้างการเรียนรู้ เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมในการสั่งซื้อสินค้าจากฝ่ายจัดซื้อก่อนเป็นลำดับแรก

สิ่งที่โรงแรมที่เป็นสมาชิก 30 รายแรก ทำได้ในเวลานี้ก็คือ พวกเขาจะสั่งซื้อสินค้าประเภทของใช้ทั่วไป เช่น สบู่ กระดาษ น้ำยาล้างห้องน้ำ จากหน้าเว็บไซต์ e-hotelthailand. com ที่ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อซื้อสินค้าจากซัปพลายเออร์ที่เข้ามาเสนอขายสินค้า ที่ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1. hot deal คือ การขายสินค้าราคาพิเศษ 2. การเสนอขายสินค้าในลักษณของขั้นบันได คือ ยิ่งซื้อมากราคาจะถูกลง และ 3. การเสนอซื้อเป็นวอลุ่ม

นอกเหนือจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงิน หรือการส่งสินค้าจะผ่านระบบปกติ ที่ใช้กัน

อย่างไรก็ตาม วีระพลเชื่อว่า โรงแรมจะประหยัดต้นทุนในการจัดซื้อสินค้าใช้สิ้นเปลือง 5-10% เมื่อเทียบกับการซื้อผ่านระบบปกติ คือ เป้าหมายของการให้บริการค่าทราน แซกชั่น และค่า fee ที่เก็บจากซัปพลายเออร์ และจากค่าโฆษณาบนแผ่นป้ายแบนเนอร์

แผนต่อเนื่องก็คือ ด้วยเครือข่ายธุรกิจในจีนที่มีอยู่ จะเป็นโอกาสให้กับซัปพลายเออร์ของไทยได้มีโอกาสส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ ขณะเดียวกันโรงแรมอาจสั่งซื้อสินค้าจากเมืองจีนมาใช้งานได้

"ระบบออนไลน์มันกว้าง พร้อมจะสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ หรือการตลาดได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่า เราจะค้นพบและ สร้างสรรค์ขึ้นมาได้แค่ไหน"

ลูกค้าเป้าหมายถัดจากนั้น คือ โรงพยาบาล ที่จะมีการจัดซื้อของใช้สิ้นเปลืองเป็นจำนวนมาก

"สิ่งที่เราทำ ก็คือ การผลักดันให้ธุรกิจเล็กๆ หันมาออนไลน์ด้วย เติบโตไปด้วยกัน และการทำธุรกิจต่อไปจะต้องมีฐาน เครือข่าย และข้อมูล" วีระพลเชื่อว่า การทำ ธุรกิจในอนาคต จะถูกเชื่อมโยงด้วยตัวระบบ และรูปแบบทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หรือคล้าย คลึงกัน และรูปแบบการตลาด

ว่าไปแล้ว รูปแบบของธุรกิจของมอลล์ เอเซีย และพันธวณิชไม่ได้แตกต่างกันมากขึ้น คือ เริ่มต้นด้วยระบบ e-procurement

"ในโลกของ ตอบโจทย์ 2 อย่าง ลดต้นทุนหรือเพิ่มกำไร ไม่เช่นนั้นไม่มีประโยชน์" การเริ่มต้นด้วย e-procurement ก็ด้วยเหตุผล เหล่านี้ สามารถเห็นผลทางธุรกิจได้ชัดเจน ระหว่างธุรกิจและธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของทั้งสองธุรกิจนี้อยู่ที่ลูกค้าเป้าหมาย ในขณะที่พันธวณิช จะสร้างระบบจัดซื้ออัตโนมัติ e-procurement ให้กับผู้ซื้อที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ แต่มอลล์ เอเซีย อยู่ที่ผู้ประกอบการรายย่อย

"เราโฟกัสทีละส่วน แต่ก็มีแผนทำงาน ร่วมกันอยู่ ทำงานกันคนละมุม เราเน้น supplier เขาเน้น buyer ต่างคนต่างเดิน ในอนาคตเราก็จะมาเจอกันตรงกลาง"

การสร้างระบบ e-procurement เป็นเสมือนการสร้าง "สายไฟ" หนึ่งเส้น ที่จะสร้างความครบถ้วนให้กับธุรกิจ เงินทุนกว่า 10 ล้านบาท จะถูกใช้ไปกับการสร้างระบบ e-procurement อีก 2-3 โครงการที่จะเกิดขึ้น

และนี่ก็คือ กระบวนการทางธุรกิจเพื่อเข้าสู่โลกใบใหม่ของที่กำลังเดินไปอย่างช้าๆ และไม่สามารถทำโดยลำพัง แต่ยังได้นำเอาธุรกิจอื่นๆ เข้าร่วม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us