|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
DAIDO ปรับโครงสร้างหนี้กับแบงก์ธนชาต โดยผู้ให้เช่าจะหักค่าเช่าที่ค้างชำระและคืนเงินค่าเช่าส่วนที่เหลืออยู่ให้แก่แบงก์ ซึ่งแบงก์จะหักชำระหนี้เงินต้นตามสัญญาเงินกู้ พร้อมคืนเงินที่เหลือ 1 ล้านบาท ให้บริษัทใช้เป็นทุนหมุนเวียน ส่งผลให้ต้องปิดสาขาที่ขาดทุนต่อเนื่องลงหลังจากปีที่แล้วปิดแล้วถึง 18 สาขา ทำให้ปัจจุบันมีสาขาเหลือเพียง 63 สาขาเท่านั้น
นายชนินทร์ เย็นสุดใจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (DAIDO) เปิดเผยถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 12/2547 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2547 ว่าให้มีการตกลงเจรจาและเข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) และผู้ให้เช่าพื้นที่ภายในศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์
เนื่องจากธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งบังคับการโอนสิทธิการเช่าพื้นที่ของบริษัทฯ ภายในศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ซึ่งเป็นหลักประกันการชำระหนี้เงินกู้ที่บริษัทฯ มีอยู่ต่อธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) และผู้ให้เช่ามีความประสงค์ที่จะทำการเลิกสัญญาเช่ากับบริษัทฯ
ดังนั้น จึงให้มีการเข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ด้วยกัน 3 ฝ่าย การปรับโครงสร้างหนี้จะเป็นผลให้มีการเลิกสัญญาเช่า โดยผู้ให้เช่าจะหักค่าเช่าที่ค้างชำระและคืนเงินค่าเช่าส่วนที่เหลืออยู่ให้แก่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) โดยธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ยินยอมนำเงินที่ได้จากการคืนสิทธิการเช่ามาหักชำระหนี้ต้นเงินตามสัญญากู้แทนการหักชำระดอกเบี้ย และจะคืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่บริษัทฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ
ทั้งนี้ ให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานทางธุรกิจโดยปิดสาขาที่มีผลประกอบการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทฯ มีกิจการสาขา คงเหลือ 63 สาขา ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
ก่อนหน้านี้เมื่อสิ้นปี46 DAIDO ได้ปิดสาขาที่ไม่ทำกำไรลง ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทงวดสิ้นปี 46 กลับยิ่งขาดทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้จากการขายลดลงกว่า 20% ซึ่งเกิดขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันดีขึ้น จึงทำให้บริษัทมีคู่แข่งขันในธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากการขยายสาขาหรือเปิดกิจการขึ้นใหม่ แต่บริษัทได้ปิดดำเนินการ สำหรับสาขาที่หมดสัญญาและบริษัทฯ เล็งเห็นว่าไม่สามารถทำกำไรได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ยอดขายในภาพรวมลดลง โดยบริษัทปิดสาขาถึง 18 สาขา เพื่อลดค่าใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม งบการเงินสำหรับงวด 6 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ซึ่งปรากฏว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลการ ดำเนินงานของบริษัทฯ ประจำรอบระยะเวลาเดียวกัน บริษัทฯ มีผลกำไร (ขาดทุน) เปลี่ยนแปลงเกินร้อยละ 20 นั้น บริษัทขอชี้แจงว่าเป็นเพราะผลประกอบกิจการมีผลขาดทุนสุทธิ 430.33 ล้านบาทที่เกิดจากการดำเนินงาน 137.96 ล้านบาท เนื่องจากในงวด 6 เดือน ปี 2547 ยอดขายเมื่อเปรียบเทียบกับงวด 6 เดือน ปี 2546 ลดลง 115.08 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 33.90 โดยที่ต้นทุนสินค้าเพื่อขายลดลง 15.69 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 5.90 ค่าใช้จ่ายลดลง 4.32 ล้าบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 4.13
บริษัทบันทึกผลขาดทุนจากรายการพิเศษที่บริษัทฯ ได้ตั้งค่าเผื่อไว้เป็นมูลค่า 290.49 ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้ ผลขาดทุนจากค่าเผื่อการลดมูลค่าสินทรัพย์ถาวรและสิทธิการเช่า 284.90 ล้านบาท ผลขาดทุนจากสำรองภาษีมูลค่าเพิ่มรอขอคืน 5.59 ล้านบาท
|
|
|
|
|