Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กันยายน 2547
PAPลงทุนศูนย์กระจายสินค้าตั้งเป้าดันยอดขายปีหน้าโต30%             
 


   
search resources

แปซิฟิกไพพ์, บมจ.




แปซิฟิกไพพ์ (PAP) เดินหน้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยจะทำ IPO ในช่วงปลายเดือนตุลาคม หวังนำเม็ดเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนไปคืนหนี้สถาบันการเงิน หลังผุดศูนย์กระจายสินค้าบางนา-ตราด ที่มีมูลค่าลงทุนกว่า 50 ล้านบาท คาดหลังเปิดดำเนินการในปี 48 ดันรายได้รวมเพิ่มขึ้นกว่า 30% "สมชัย"เผยเป็นยุทธศาสตร์ 3 ปี ที่จะทำให้ระบบ "ลอจิสติกส์" มีความสมบูรณ์ ส่วน แนวโน้มรายได้รวมปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 20% หรือมีมูลค่ากว่า 2.2 พันล้านบาท

นายสมชัย เลขะพจน์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด (มหาชน) (PAP) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยจะเพิ่มทุนจาก 500 ล้านบาท เป็น 660 ล้านบาท และนำหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 15.3 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 10 บาท เสนอขายกับประชาชนทั่วไป (IPO) ภายในเดือนตุลาคมนี้ และคาดว่าจะสามารถเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยมีนโยบายจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ

สำหรับเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุน บริษัทจะนำไปคืนหนี้บางส่วนให้กับสถาบันการเงิน และนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ โดยที่ผ่านมาบริษัทได้ลงทุนสร้างศูนย์กระจายสินค้าบริเวณ บางนา-ตราด มูลค่าการลงทุนกว่า 50 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งกระจายสินค้า โดยมีพื้นที่เก็บสินค้า 4,000 ตัน โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินงานได้ในต้นปี 2548 นี้

"หลังเปิดศูนย์กระจายสินค้าในต้นปีหน้า เราคาดว่าจะทำให้ยอดขายรวมของบริษัทเพิ่มขึ้นกว่า 30% และการเปิดศูนย์กระจายสินค้าถือเป็นยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจในระยะสั้นช่วง 3 ปีนี้ของบริษัท เนื่องจากที่ผ่านมามีข้อจำกัดในระบบการขนส่งสินค้า (ลอจิสติกส์) ทำให้เราต้องเพิ่มช่องทางในการกระจายสินค้า และลดต้นทุนการดำเนินงานให้ ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ของบริษัท ซึ่งเป็นตัวแทนขายสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่าย และเป็นการลดต้นทุนการขนส่ง"

นายสมชัย กล่าวว่า ระบบลอจิสติกส์ถือว่ามีส่วนสำคัญกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทมาก หากไม่มีการวางแผนในการกระจายสินค้าที่ดี จะทำให้เป็นข้อจำกัดในการจำหน่ายสินค้า โดยในปี 2546 บริษัทมีรายได้รวม 2,022 ล้านบาท และในปีนี้คาดว่าจะโต 20% หรือมีรายได้รวมประมาณ 2.2 พันล้านบาท โดยในครึ่งปีแรกของปีนี้มีรายได้รวม 1,161 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มในปี 2548 หลังระบบลอจิสติกส์มีความสมบูรณ์ จะทำให้รายได้รวมเพิ่มขึ้นอีก 30% PAP เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจและจำหน่ายท่อเหล็ก มีกำลังการผลิตสูง 1 ใน 3 อันดับแรกของประเทศ เป็นผู้นำตลาดอันดับหนึ่งสำหรับท่อเหล็ก มาตรฐาน ประมาณการส่วนแบ่งตลาด 80% สำหรับท่อเหล็ก มอก. ประมาณการส่วนแบ่งตลาด 60% สำหรับท่อเหล็กมาตรฐาน โดยรวม เป็นผู้ผลิตท่อเหล็กขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (ท่อกลม 200 มม. และท่อสี่เหลี่ยมจัตุรัส 200x200 มม.) และสามารถเพิ่มการผลิตได้กว่า 50% เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต

นายสมชัยกล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตท่อเหล็กดำ 2 แสนตัน และท่อเหล็กสังกะสี 5 หมื่นตัน เพื่อป้อนตลาดลูกค้าในประเทศ 70-80% และ 20-30% สำหรับตลาดส่งออก เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง ตะวันออกกลาง โดยปัจจุบันมีตัวแทนจำหน่ายประมาณ 500 ราย

สำหรับผลการดำเนินงานย้อนหลังของบริษัทมีกำไรสุทธิขยายตัวต่อเนื่อง โดยในปี 2544 กำไรสุทธิ 37 ล้านบาท ปี 2545 เพิ่มเป็น 109 ล้านบาท ปี 2546 กำไรสุทธิ เพิ่มเป็น 161 ล้านบาท ขณะที่ครึ่งปีแรกของปี 2547 มีกำไรสุทธิกว่า 179 ล้านบาท หรือคิดเป็น 89% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

"จุดแข็งที่มีของเราคือ การขายส่วนใหญ่จะผ่านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายของเรา ซึ่งมีความสัมพันธ์กันดี ทำให้โอกาสที่จะเป็นหนี้เสียมีน้อยมาก ซึ่งเห็นได้จากในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ที่บริษัทเหล็กหลายแห่งต่างประสบปัญหา เนื่องจากมีหนี้เสีย แต่ของเรามีต่ำมาก หรือคิดเป็น 0.1% เท่านั้น โดยในช่วงนั้นเรามีรายได้รวมประมาณ 1 พันล้านบาท แต่มีหนี้เสียเพียง 10 ล้านบาทเท่านั้น นี่ถือเป็นจุดแข็งของเรา"

ขณะเดียวกันสัดส่วนหนี้สินต่อทุนปัจจุบันเหลือเพียง 0.9 เท่า โดยเป็นหนี้กับสถาบันการเงินประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการค้า โดยการระดมทุนครั้งนี้ ส่วนหนึ่งจะนำไปคืนหนี้ให้กับสถาบันการเงิน เพื่อลดภาระดอกเบี้ย ซึ่งอยู่ที่ 5% ต่อปี เมื่อเทียบกับปี 2544 ที่มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน อยู่ที่ 4.6 เท่า

สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมท่อเหล็กในโครงการก่อสร้าง มีทิศทางเดียวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ และท่อเหล็กมีแนวโน้มที่จะนำมาใช้เพิ่มมากขึ้น เพื่อทดแทนการใช้วัสดุก่อสร้างอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ คอนกรีต หรือเหล็กประเภทอื่นๆ เช่น I-Beam,H-Beam เป็นต้น เนื่องจากท่อเหล็กมีความแข็งแกร่ง การขนส่งและเชื่อมต่อทำได้สะดวก และมีลักษณะสมมาตร ที่ทำให้สามารถกระจายการรับน้ำหนักได้ทุกทิศทาง ทำให้ประหยัดระยะเวลา และต้นทุนก่อสร้างโดยรวม

นอกจากนี้ แนวโน้มความต้องการใช้ท่อเหล็กในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น สนามกีฬาสำหรับเอเชียนเกมส์ ที่ประเทศกาตาร์ หรือสนามกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศจีน เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us