Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2545
มงฟอร์ตวิทยาลัย หลักสูตรอภิบาลการผสมผสานระหว่างคนกับท้องถิ่น             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

โรงเรียนกับเชียงใหม่ยุคศึกษาให้รู้จักเชียงใหม่
มงฟอร์ตวิทยาลัย

   
search resources

มงฟอร์ตวิทยาลัย




หลักสูตรอภิบาล การผสมผสานระหว่างคนกับท้องถิ่น

บราเดอร์อนุรักษ์ นิธิภัทราภรณ์ เพิ่งเข้ามาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมงฟอร์ต เมื่อ 4 ปีก่อน แต่เขาได้เปลี่ยนแปลงหลายสิ่ง หลายอย่างในโรงเรียนแห่งนี้ให้ดีขึ้น

เขาจัดเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนที่ ยังหนุ่ม และมีแนวคิด แม้เขาไม่ใช่คนเชียง ใหม่ แต่ก็เข้าใจถึงคุณค่าของขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนี้ได้เป็นอย่างดี

"ในวัยเด็ก ผมโตมาโดยที่ไม่ค่อยได้พบเห็นวิถีแบบไทยๆ มากเท่าไร เมื่อได้มาเจอกับวิถีท้องถิ่นของคนเชียงใหม่แล้ว จึงมีความรู้สึกชื่นชม และดื่มด่ำกับสิ่งที่ได้พบ" เขาบอก "ผู้จัดการ"

บราเดอร์อนุรักษ์ เป็นนักการศึกษา ที่เห็นว่าการศึกษาไม่จำเป็นต้องอาศัยห้องเรียนเพียงอย่างเดียวจึงจะประสบผลสำเร็จ และสถาบันการศึกษาไม่ควรจะเคลื่อนไหวไปตามกระแสสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน

แต่สถาบันการศึกษา ควรจะเป็นสถาบันหลักที่มั่นคง สามารถนำการศึกษาให้เข้าไปถึงชุมชนได้ โดยไม่ให้วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านเปลี่ยนแปลง

"ระบบการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา เป็นตัวแปรอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยก มีความเข้าใจกันว่าคนที่ไม่ได้เข้าโรงเรียน คือ คนไม่มีการศึกษา ขณะที่คนที่เข้าเรียนคือ คนมีการศึกษา ทั้งๆ ที่ในวิถีชีวิตเดิมๆ ของเรา การเรียนรู้ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปในระบบโรงเรียน แต่เป็นความพยายามที่จะดึงศักยภาพของคนออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด"

จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงที่บราเดอร์อนุรักษ์เดินทางขึ้นมารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมงฟอร์ตเมื่อ 4 ปีก่อน วิถีชีวิตของคนในสังคม ถูกเปลี่ยนไปจากรากฐานดั้งเดิม อย่างมาก ตามกระแสโลกาภิวัตน์

เขามองว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นเสมือนกับการยัดเยียดในสิ่งที่คนรับ ไม่เต็ม ใจรับ แต่จำเป็นต้องรับ

สิ่งดีๆ ที่เคยมีอยู่ในชุมชนเชียงใหม่ในอดีต กำลังถูกพยายามลบเลือนให้หายไปจากแนวคิดของคนส่วนใหญ่ เพราะความกลัวที่จะถูกมองว่าไม่ทันสมัย

เขาถือว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น จะกลายเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ หากคนในเชียงใหม่ ละทิ้งขนบธรรมเนียม ประเพณีดั้งเดิม และหันไปรับวัฒนธรรมจากส่วนกลาง ที่ถูกส่งต่อมาจากทางชาติตะวันตกแทน

เขาจึงต้องการจะปลูกฝังวิถีความเป็นเชียงใหม่ดั้งเดิมให้กลับคืนมาอีกครั้ง โดยเริ่มต้นกับเด็กนักเรียนในโรงเรียนมงฟอร์ต

เขากำหนดกิจกรรมให้เด็กนักเรียนชั้นประถม ต้องเรียนรู้ประเพณีของท้องถิ่น เช่นการตีกลองสะบัดชัย การทำโคมกระดาษ และการเล่นสะล้อ ซอ ซึง ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นเมือง

เด็กทุกคนจะต้องเรียนรู้ว่าในการใช้ชีวิตจริงของคนไทยในอดีตเป็นอย่างไร โดยให้หัดทำสวนครัว เลี้ยงไก่ และการนำสมุนไพรตามธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์

เด็กทุกคนจะต้องรู้จักการปล่อยปลา การดูแลรักษาคุณภาพของแม่น้ำปิง และการ นำขยะกลับมารีไซเคิล โดยทำเป็นกระดาษ หรือปุ๋ยหมัก และฟืน

"เรามีการตั้งธนาคารขยะให้เด็กได้บริหารกันเอง มีหลักออกมาเลยว่าใบไม้ห้ามเผา กิ่งไม้เล็กห้ามเผา กิ่งไม้ใหญ่ใส่เตาหุงข้าว ส่วนที่เป็นของเล็กๆ เอาไปเก็บ ไปกลบ สอนให้เด็กรู้ว่างานเก็บขยะคือ งานที่มีศักดิ์ศรี มีเกียรติยศ การเก็บขยะไม่ใช่การลงโทษ เพราะที่ผ่านมาเราทำกันผิดๆ เด็กคนไหนทำผิด เราลงโทษให้ไปเก็บขยะ ทั้งที่ความจริงแล้วนั่นคือการทำความดี แต่คอนเซ็ปต์การรับรู้ของเด็ก กลายเป็นการลงโทษ"

สำหรับเด็กชั้นมัธยม เขากำหนดกิจกรรมให้เด็กต้องออกไปสัมผัสกับชีวิตภายนอก โดยจัดอาจารย์ 1 ชุด เป็นอาจารย์ ที่ไม่มีชั่วโมงการสอนในห้องเรียน ให้เข้ามารับผิดชอบงานนี้โดยเฉพาะ

"เราต้องการให้เด็กได้ไปสัมผัสกับชีวิตที่มีหลายมิติ และสามารถผสมผสานชีวิต เหล่านั้น จนเกิดเป็นตัวตนของเด็กขึ้นมาให้ได้"

กิจกรรมที่จัดตามหลักสูตรนี้ เด็กจะได้มีโอกาสออกไปรู้จักกับชีวิตของผู้คนกลุ่มต่างๆ ที่เขามีโอกาสได้สัมผัสน้อยมาก เช่นเด็กกำพร้า คนพิการ ผู้สูงอายุ แม้กระทั่งชาวนา

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่นำให้เด็กได้ไปศึกษาการใช้ชีวิตของชนเผ่าปะกาเกอ ญอ หรือชนเผ่ากะเหรี่ยง เพื่อให้เด็กได้เรียน รู้ถึงการดำรงชีวิตของคนที่แตกต่างเผ่าพันธุ์กันว่าเป็นอย่างไร

การออกไปสัมผัสกับชีวิตของคนเหล่านี้ กระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเด็กจะได้มีเวลาศึกษาชีวิตของคนที่ได้ไปพบพอสมควร ก่อนที่จะนำข้อมูลที่ได้รับกลับมารายงานให้อาจารย์ได้ทราบ

"สิ่งเหล่านี้ เป็นการศึกษาอีกแบบหนึ่ง เป็นการศึกษาแบบแอบแฝง"

กิจกรรมนี้ได้เริ่มทำมาหลังจากบราเดอร์อนุรักษ์เข้ามารับตำแหน่งเมื่อ 4 ปีก่อน โดยช่วงแรกเป็นเพียงกิจกรรม แต่เมื่อปีที่แล้ว นี้ได้ถูกบรรจุให้เป็นหลักสูตรของมงฟอร์ตที่จะต้องกระทำอย่างจริงจัง ตั้งชื่อว่า หลักสูตร อภิบาล

นอกจากนี้แล้ว เขายังเตรียมเปิดหลักสูตรเชียงใหม่ศึกษา และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งกำหนดให้เด็กนักเรียนจะต้องเรียนรู้ประวัติความเป็นมา และเรื่อง ราวต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดให้เป็นหลักสูตรประจำโรงเรียน หลังจากพระราชบัญญัติการศึกษาฉบับใหม่มีผลบังคับใช้

ตามหลักสูตรใหม่ที่เขาคิดไว้ ต่อไปเด็กนักเรียนมงฟอร์ต จะใช้เวลาในห้องเรียนเพียงครึ่งวัน ส่วนที่เหลือเป็นการเรียนรู้โดยการทำกิจกรรม

เป็นกิจกรรมที่ดึงความเป็นคนเชียงใหม่ให้กลับคืนมาสู่เด็กนักเรียนมงฟอร์ตอีกครั้ง ก่อนที่จะถูกกระแสโลกาภิวัตน์พัดจนเกือบหายไปเหมือนในอดีต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us