Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 กันยายน 2547
"รพี" ไขก๊อก ก.ล.ต. สิ้นปี จับตายุคเปลี่ยนคนรุ่นเก่าตบเท้าออก             
 


   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
รพี สุจริตกุล




"รพี สุจริตกุล" ยื่นลาออก ก.ล.ต.แล้ว มีผลสิ้นปีนี้ หลังทำงานมายาวนานกว่า 12 ปี ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง อ้างต้องการทำงานภาคเอกชน ยืนยันไม่เกี่ยวการเมือง และไม่มีปัญหาการทำงาน ระบุยังอยู่ในวงการตลาดทุน แต่ขอทำงานด้านต่างประเทศป้องกันความขัดแย้ง เพราะเคยเป็นผู้กำกับดูแลมาก่อน

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 10 ก.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติอนุมัติการลาออกของนายรพี สุจริตกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส โดยจะมีผลวันที่ 31 ธ.ค. 2547

ด้านนายรพี สุจริตกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า เหตุผลของการลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากได้ร่วมทำงานกับ ก.ล.ต.ตั้งแต่ก่อตั้ง รวมระยะเวลากว่า 12 ปีแล้ว และเห็นว่าขณะนี้ทีมผู้บริหารปัจจุบันของ ก.ล.ต.สามารถดำเนินงานไปได้ด้วยดี ดังนั้น จึงไม่มี ความกังวลแล้ว ประกอบกับโดยส่วน ตัวต้องการทำงานในภาคของเอกชนบ้าง หลังจากที่อยู่ในภาคของการกำกับดูแลมาโดยตลอด

ทั้งนี้ ตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. จะต้องยื่นลาออกก่อนที่จะออกจากตำแหน่งเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน จึงจะสามารถไปทำงานที่อื่นได้ ซึ่งเท่าที่คิดไว้ต้องการทำงานที่เกี่ยวข้อง กับด้านต่างประเทศเป็นหลัก เพื่อจะได้ ไม่เกิดความขัดแย้งเพราะเคยเป็นเจ้าหน้าที่กำกับดูแลมาก่อน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะไปทำงาน ที่ไหน แต่คิดว่ายังคงอยู่ในแวดวงตลาดเงินตลาดทุน

นายรพียืนยันว่าต้องการลาออกมานานแล้ว ตั้งแต่เลขาธิการ ก.ล.ต. คนเก่าคือนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ยังคงดำรงตำแหน่งอยู่ แต่ขณะนั้นถูกห้ามไว้เพื่อให้ช่วยงานที่ก.ล.ต.ก่อน แต่ขณะนี้ทุกอย่างลงตัวแล้วจึงตัดสินใจยื่นใบลาออก โดยไม่ได้เกี่ยว กับการแทรกแซงทางการเมือง หรือการเปลี่ยนตัวเลขาธิการคนใหม่แต่อย่างใด

"ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ ผมคงทำงานที่เป็นงานเก็บตกของก.ล.ต. อย่างเช่นในเรื่องของการดูเรื่องกฎหมาย ต่างๆ ซึ่งมีเยอะมาก จากนั้นก็คงจะกลับไปอยู่บ้านที่เชียงใหม่ซักพักหนึ่ง ค่อยกลับมาทำงาน ซึ่งงานที่ถนัดก็คงเป็นงานด้านหลักทรัพย์ เพราะอยู่กับวงการนี้มาตลอด แต่อยากทำงานที่เกี่ยวกับด้านต่างประเทศมากกว่า เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง เพราะเคย เป็นคนกำกับดูแลมาก่อน ตอนนี้ยังไม่ได้สมัครงานที่ไหน และยังไม่มีใครมาชวน ที่ลาออกเพราะเห็นว่าอยู่ที่นี่มานาน ทำมาแล้วเกือบทุกตำแหน่ง และตอนนี้ทุกอย่างก็อยู่ตัวแล้ว จึงอยากออกไปทำงานในภาคเอกชนบ้าง" นายรพีกล่าว

ส่วนผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งแทนนั้น นายธีระชัยกล่าวว่า จะต้องมาจากการสรรหาของคณะกรรมการ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ถึงกระบวนการดังกล่าว

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า นายรพีนับเป็นผู้ร่วมบุกเบิกและก่อตั้งสำนักงาน ก.ล.ต.รุ่นแรก เมื่อปี 2535 ด้วยการยืมตัวมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาช่วยงานในช่วงแรกๆ และให้สิทธิเลือกจะทำงานที่แบงก์ชาติหรือจะทำงานที่ ก.ล.ต.ต่อไป ซึ่ง "รพี" ก็เลือกที่จะทำงานกับ ก.ล.ต.ผ่านการร่วมงานกับเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.คนแรก นายเอกกมล คีรีวัฒน์, นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา, นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ซึ่งหมดวาระและไปทำงานอยู่ที่แบงก์กสิกรไทย ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ

"รพี" จึงเป็นอีกหนึ่งผู้บริหารก.ล.ต.ที่ผ่านเหตุการณ์สำคัญในตลาดทุนไทยมาหลายเหตุการณ์ ตั้งแต่กรณีกล่าวโทษนายสอง วัชระศรีโรจน์ ข้อหาสร้างราคาหุ้น ผ่านวิกฤตตลาดหุ้นไทยตกจาก 1,700 จุด มา 200-300 จุด และผ่านวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กระทั่งถึงปัจจุบันตลาดหุ้นไทยเริ่มฟื้นจากวิกฤต

นายรพี สุจริตกุล เริ่มงานที่ ก.ล.ต.ยุคก่อตั้งก.ล.ต.ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย. 2535-30 ก.ย. 2537 รวม 2 ปี 5 เดือน 8 วัน จากนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายกำกับตลาดทุน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2537 - 29 ก.พ. 2539 รวม 1 ปี 5 เดือนและตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจหลักทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2539 - 31 ม.ค. 2543 รวม 3 ปี 11 เดือน

จากนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขาธิการ ตั้งแต่วันที่ 01 ก.พ. 2543 - 12 ธ.ค. 2545 รวม 2 ปี 10 เดือน 12 วัน ก่อนจะดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือ ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส รวม 1 ปี 9 เดือนกับ 3 วัน

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจาก "รพี" ที่ขอลาออกแล้ว ยังมีกระแสข่าวออกมาว่าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารเตรียมยื่นใบลาออก

แต่อย่างไรก็ตาม นายรพีกล่าวปฏิเสธ "คิดว่าจะไม่มีใครลาออกตาม"

นอกจากนั้น สำนักงาน ก.ล.ต.ยังได้มีการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารใหม่ ได้แก่ นางปะราลี สุคนธมาน ผู้อำนวยการ ฝ่ายตรวจสอบและคดี เป็น ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับธุรกิจนายหน้าและค้าหลักทรัพย์ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป

นางวรัชญา ศรีมาจันทร์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบและคดี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป

นายประกิด บุณยัษฐิติ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับธุรกิจนายหน้าและค้าหลักทรัพย์ เป็นผู้อำนวยการ ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ มีผลตั้นแต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป

นายแสงศิริ ศิริศันสนียวงศ์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายตรวจสอบและคดี เป็นผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค. เป็นต้นไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us