|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โนเกียไทยเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ ฌอน คอลลิกัน ย้ายไปดูแลออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในขณะที่ประเทศไทยรอผู้บริหารจากสิงคโปร์ เปิดผลงานประทับใจทำยอดขายโนเกียโตเท่าตัว ผลจากการปลดล็อกรหัสประจำเครื่องและการเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมมือถือครั้งใหญ่ที่ให้เจ-มาร์ทและ บลิสเทล ขายโนเกียได้
นายฌอน คอลลิกัน กรรมการผู้จัดการ โนเกีย โมบาย โฟนส์ บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) กล่าวว่าจะเข้ารับตำแหน่ง Country Manager รับผิดชอบประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่จะถึงนี้ โดยตำแหน่งในประเทศไทยจะมีผู้บริหารระดับสูงที่ปัจจุบันประจำประเทศสิงคโปร์ในตำแหน่ง Regional Director เข้ามารับผิดชอบตลาดประเทศไทยแทน
"ผู้บริหารคนใหม่มีประสบการณ์ ในธุรกิจโทรคมนาคมกว่า 17 ปีทั้งในระดับโอเปอเรเตอร์และดูแลหลายแบรนด์ เพิ่งเข้ามาร่วมงานกับโนเกีย 2 ปี โดยจะมีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. เช่นเดียวกัน"
ฌอนเข้ามาเป็นกรรมการ ผู้จัดการในประเทศไทยตั้งแต่ 1 มี.ค. 2545 โดยรับผิดชอบด้านการปฏิบัติการ การบริหาร และการตลาดของโทรศัพท์มือถือโนเกีย ทุกรุ่นในประเทศไทย ซึ่งในช่วง เกือบ 3 ปีของการบริหาร ฌอนทำให้ยอดขายของโนเกียเพิ่มขึ้นเท่า ตัวหรือ 100% โดยเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม ด้วยการปลดล็อกรหัสประจำเครื่องโทรศัพท์มือถือหรืออีมี่ของโอเปอเรเตอร์ รวมทั้งการที่โนเกียปรับกลยุทธ์ทำงานใกล้ชิดกับพาร์ตเนอร์ธุรกิจอย่างเจ-มาร์ทและบลิสเทล เป็น 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้ยอดขายโนเกียเพิ่มขึ้นเท่าตัวในช่วงระหว่างการบริหารงานของฌอน
เขากล่าวว่า การเติบโตของตลาดในประเทศไทยในช่วงต่อไปนี้จะมาจากปัจจัย 2 ด้านคือ 1.เทคโนโลยีใหม่ๆ ในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า เชื่อว่าจะมีการให้ใบอนุญาตรวมทั้งจัดสรรความถี่ในย่าน 3 G ถึงแม้จะไม่มีผลในระดับให้บริการ แต่ก็น่าจะเกิดในระดับให้ใบอนุญาต และ 2.คนส่วนใหญ่ยังใช้การสื่อสาร ด้วยเสียง ซึ่งเป็นความท้าทายของโอเปอเรเตอร์ในการให้บริการด้วยโลว์คอสต์ โปรดักต์และค่าบริการที่ถูกลง ซึ่งเป็นตลาดที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองและมีโอกาสเติบโต
ในมุมมองของฌอน เห็นว่าตลาดประเทศไทยสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มคือกลุ่มผู้เริ่มใช้งานครั้งแรก หรือตลาดต่างจังหวัดหรือในพื้นที่ห่างไกลที่มีโอกาสขยายตัว และกลุ่มลูกค้าในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความต้องการเทคโนโลยีใหม่ๆ เหมือนในต่างประเทศ
"พฤติกรรมคนไทย ยังมีความต้องการโทรศัพท์แฟชั่น มีสไตล์ การออกแบบที่สวยงามและเทคโนโลยี ไม่ต่างจากต่างประเทศอย่างฮ่องกง สิงคโปร์ หรือยุโรป และมีคนที่เปลี่ยนเครื่องเร็วกว่า 12 เดือนจำนวนมาก"
นายฌอน คอลลิกันกล่าวสรุปภาพการทำงานในประเทศไทยว่าการที่โนเกียมีส่วนแบ่งตลาดในตำแหน่งที่ดีและมีความใกล้ชิดกับพาร์ตเนอร์มาจากโนเกียประเทศไทย มีทีมงานที่มีศักยภาพ มีความรู้และเข้าใจตลาดประเทศไทยดี ซึ่งตอนแรกที่เข้ามารับตำแหน่งในประเทศไทยก็จะต้องมีช่วงการเรียนรู้ ซึ่งเป็น ช่วงที่ตลาดประเทศไทยมีการเปลี่ยน แปลงมาก
กลยุทธ์หลักที่โนเกียใช้คือการปรับกลยุทธ์ที่เป็นนโยบายจากต่างประเทศให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนไทย โดยสิ่งที่โนเกียพยายามทำคือให้ ผู้บริโภคมีโอกาสสัมผัสกับแบรนด์โนเกียอย่างครบวงจรไม่ใช่แค่การซื้อผลิตภัณฑ์ แต่รวมถึงการให้บริการหลังการขาย โปรแกรมด้านบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าหรือ CRM รวมทั้งโครงการตอบแทนให้สังคม
"การก๊อบปี้นโยบายต่างประเทศมาทั้งหมดเป็นเรื่องง่ายแต่การสร้างสิ่งใหม่ๆเป็นเรื่องท้าทาย"
สำหรับงานใหม่ของฌอน ถือเป็นการทำธุรกิจในสภาพตลาดที่อยู่ในจุดอิ่มตัว (Matual Market) เพราะออสเตรเลียมีประชากรมือถือ 80% จำนวนประชากร 20 ล้านคนมีคนใช้มือถือถึง 16 ล้านคนแล้ว ตลาด ที่มีโอกาสคือ การเปลี่ยนเครื่อง (Replacement) ต่างจากประเทศไทยที่ตลาดยังมีโอกาสเติบโต ในขณะที่ความท้ทายในออสเตรเลียคือการเปิดบริการโทรศัพท์มือถือ 3G ในปี 2005
|
|
|
|
|