Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2545
โรงเรียนกับเชียงใหม่ยุคศึกษาให้รู้จักเชียงใหม่             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

ปรินส์ รอยแยล ประวัติศาสตร์ และคำเมืองเป็นเรื่องที่ต้องฟื้นฟู
ปรินส์ รอยแยล วิทยาลัย
มงฟอร์ตวิทยาลัย หลักสูตรอภิบาลการผสมผสานระหว่างคนกับท้องถิ่น
มงฟอร์ตวิทยาลัย

   
search resources

Chiangmai




ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้พัฒนาการของเมืองเชียงใหม่ มีลักษณะที่แย่ลง วิถีชีวิตของคนในเชียงใหม่ทุกวันนี้ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ นานา เนื่องจากความแออัดของผู้คน

การจราจรที่ติดขัด ไม่มีระบบขนส่งมวลชน ตลอดจนปัญหาขยะล้นเมืองจนไม่สามารถ หาที่ทำลายหรือฝังกลบได้ ฯลฯ

ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่ทุกคนรับรู้ และพูดกันมานาน แต่ก็ยังไม่สามารถหาแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืนได้ นอกจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ

มีการวิเคราะห์กันว่าเหตุผลหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นมา เป็นเพราะการเจริญเติบโตของเชียงใหม่ เป็นการเจริญเติบโตในแนวดิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างได้เข้ามาสุมกันอยู่ในเขตอำเภอเมือง ไม่กระจายออกไปยังอำเภอรอบนอก เป็นผลมาจากการพัฒนาที่ขาดการวางแผน อย่างเป็นระบบ

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคนเชียงใหม่ ทำให้เสน่ห์ของเมืองนี้ นับวันยิ่งเลือนหายไป เมื่อไปผนวกกับการเปิดรับวัฒนธรรมจากกรุงเทพฯ มากเกินไป ทำให้คนเชียงใหม่ทุกวันนี้ มีความเป็นอยู่คล้ายคนกรุงเทพฯ มากขึ้น

ภาษาพูดที่คนเมืองพูดกัน กลับนิยมใช้ภาษากลางเป็นส่วนใหญ่ เสื้อผ้าที่สวมใส่ ก็เป็นไปตามแฟชั่น ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมถูกละเลย และทด แทนด้วยพฤติกรรมวัตถุนิยม

หลายคนลงความเห็นกันว่าในแต่ละวัน คนเชียงใหม่กำลังหลงลืมรากเหง้าของตัวเองลงไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่รากเหง้านั้น มีประวัติศาสตร์ความเป็นมา ยาวนานมากกว่า 700 ปี

ทำไมคนเชียงใหม่ถึงไม่ให้ความสำคัญกับรากเหง้าของตนเองเช่นนี้ คำตอบส่วนหนึ่ง โทษไปที่นโยบายการศึกษา ในอดีต ซึ่งส่วนกลางเป็นคนกำหนด ทำให้คนเชียงใหม่ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่าน มา ไม่เคยถูกปลูกฝังให้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นตนเองอย่างจริงจัง ตั้งแต่เด็ก

"คนเชียงใหม่รู้จักประวัติของกรุงเทพฯ สุโขทัย หรืออยุธยามากกว่า จากแบบเรียนที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เด็ก แต่ประวัติศาสตร์ของบ้านเกิดเอง กลับไม่มีบรรจุไว้ในหลักสูตร ต้องมาศึกษาเอา เองหลังเรียนจบ" เป็นเสียงสะท้อนที่ออก มาจากคนเชียงใหม่

มิหนำซ้ำช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้กำหนดนโยบายการศึกษา ถึงกับบ้าจี้ออก นโยบายบังคับให้เด็กนักเรียนในเชียงใหม่ ห้ามพูดภาษาท้องถิ่นในโรงเรียน ทั้งๆ ที่รู้ว่าภาษาคือ จุดเริ่มต้นของวัฒนธรรม

ทำให้วัฒนธรรมของเชียงใหม่ ถูกกลืนโดยวัฒนธรรมจากที่อื่นได้ง่าย ทั้งที่วัฒนธรรมนั้นยังไม่ได้รับการพิสูจน์เลยว่าเหมาะสมกับเชียงใหม่หรือเปล่า

เป็นที่น่ายินดีว่าขณะที่กำลังมีการปฏิรูปการศึกษาอย่างในปัจจุบัน โรงเรียนหลายแห่งในเชียงใหม่ เริ่มตื่นตัว ที่จะปลูกฝังรากเหง้าดั้งเดิม กลับเข้าไปไว้ในตัวเด็กๆกันอีกครั้ง

ปรินส์ รอยแยล วิทยาลัย และมงฟอร์ต วิทยาลัย ถือเป็น 2 โรงเรียน ที่มีประวัติศาสตร์สัมพันธ์กับพัฒนาการเชียงใหม่ กำลังปรับความคิดครั้งสำคัญ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us