Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2545
ปัญหาเชียงใหม่ในมุมมองของ ราชันย์ วีระพันธุ์             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

20 ปีเชียงใหม่ การต่อสู้ของธุรกิจดั้งเดิม

   
search resources

ราชันย์ วีระพันธุ์




ราชันย์ วีระพันธุ์ เป็นประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ที่มีพื้นฐานมาจากธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจหลักของเขา คือบริษัทนำเที่ยวที่ชื่อ "อินทนนท์ทัวร์"

เขาเป็นนักกิจกรรมตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา ดังนั้นเมื่อมาทำธุรกิจ นอกจากเขาจะทำเพื่อส่วนตัวแล้ว เขายังทำงานให้กับสังคมอีกด้วย

เขาเคยเป็นนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ เป็นสมาชิกสภาจังหวัด ก่อนที่จะเข้ามาเป็นประธานหอการค้า

ดังนั้นเขาจึงมีมุมมองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทั้งในเชิงกว้าง และเชิงลึก

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ มาจากการอพยพหลั่งไหลเข้ามาของคนจากถิ่นอื่น ด้วยปัจจัยหลักจากสภาพแวดล้อมของเมืองที่ดึงดูดใจให้เข้ามาพำนักอาศัย และลงทุน

หากเทียบไปแล้วตัวเมืองเชียงใหม่ในวันนี้ กับเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ

และเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางลบ

ราชันย์มองว่าเชียงใหม่ ก็ไม่แตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงสร้าง ใหญ่ของประเทศ คือ โครงสร้างของระบบราชการ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะได้รับการแก้ไขกันอย่างจริงจัง ก่อให้เกิดปัญหาตามมาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คน

"การพัฒนาเชียงใหม่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ปล่อย ไปตามกระแส ตามคลื่นลม หน่วยงานราชการแต่ละแห่ง ก็เสนอแผนงานแบบสะเปะสะปะ ใครเห็นว่าพื้นที่นี้ควรทำอะไรก็เสนอผ่านเข้าไปยังต้นสังกัด ไม่ได้ประสานกับแต่ละกรมที่มีหน่วยงานอยู่ในจังหวัดเดียวกัน ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ และไม่ได้ถามว่าถ้าทำอย่างนี้แล้วคนเชียงใหม่จะเอาด้วยหรือไม่"

การวางแผนพัฒนาอย่างขาดระบบดังกล่าว ทำให้สภาพทางกายภาพของเชียง ใหม่ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง การเจริญเติบโตของเมืองเป็นไปอย่างไม่มีระบบ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองเชียง ใหม่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคมนาคม การก่อสร้าง แม้แต่เรื่องของขยะ จึงมีแต่ปัญหาทั้งสิ้น

"การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เห็นได้ชัดคือ ความเครียดของผู้คนมีมากขึ้น มีจำนวนคนมากขึ้น เดี๋ยวนี้เจอหน้ากัน ไม่รู้ว่าเป็นคนเชียงใหม่หรือเปล่าก็ต้องพูดภาษากลางไว้ก่อน"

สิ่งเหล่านี้ ทำให้เสน่ห์ของเชียงใหม่ ที่เคยดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากในอดีต เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ

"แต่ละปี เชียงใหม่มีรายได้จากการท่องเที่ยวถึง 36,000 ล้านบาท เรามีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาปีละ 3 ล้านคน เป็นคนไทย 2 ล้านคน กับต่างประเทศ 1 ล้านคน และรายได้จากการท่องเที่ยวก็เป็นรายได้หลัก แซงหน้าภาคการเกษตรที่เป็นรายได้หลักในอดีตมาหลายปีแล้ว ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หรือต่อเนื่องจากการท่องเที่ยวที่เคยมีการเติบโตตามการท่องเที่ยว ก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย"

เมื่อเสน่ห์ของเชียงใหม่ลดลง จำนวนคนมาเที่ยวก็ลดลงตาม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การแข่งขันทางธุรกิจกันอย่างรุนแรง ส่งผลให้ภาพพจน์ของเชียงใหม่ปัจจุบัน กลายเป็นเมืองที่มีค่าใช้จ่ายในการที่จะได้รับการบริการ ถูกที่สุดในประเทศไทย

"ค่าโรงแรมถูก อาหารถูก ทัวร์ถูก ทุกอย่างถูกหมด ถูกนั้นไม่ใช่เรื่องที่ผู้ประกอบการ พอใจ มันถูกเพราะเกิดจากการแข่งขัน ซึ่งมันไม่ถูกต้อง โรงแรมก็ตัดราคากันเอง ยกตัวอย่าง โรงแรมในระดับเดียวกัน ถ้าอยู่ในเชียงใหม่ กรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต กรุงเทพฯ อาจจะได้คืนละ 2,000 ภูเก็ต 6,000 ถ้าพัทยาอาจจะ 2,500 หรือ 2,000 เท่ากรุงเทพฯ แต่ถ้าอยู่เชียงใหม่เหลือ 1,000 เดียว เพราะฉะนั้นเมื่อโรงแรมเขาได้คืนละ 1,000 เขาก็ต้องตัดค่าใช้จ่ายทุกอย่างลง ใน ที่สุดมันก็เป็นจังหวัดที่มีการให้บริการที่ไม่ดี มีคุณภาพต่ำ แล้วมันก็เป็นไปด้วยกันทั้งระบบ"

ราชันย์มองว่าทั้งปัญหาเรื่องเสน่ห์ และภาพพจน์ของเชียงใหม่ เป็นเรื่องที่ต้องรีบแก้ไขโดยด่วนที่สุด "ทั้ง 2 เรื่อง มันคือคุณค่าของเมือง เมื่อคุณค่าของเมืองตกต่ำ มันก็ทำให้ มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ตกต่ำตาม และถ้าไม่รีบแก้ ก็จะยากมากที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาว และยากมากที่เราจะยกระดับมูลค่าการให้บริการ มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้สูงขึ้น"

การแก้ไขปัญหาทั้งหมด เป็นเรื่องที่คนทุกคนในเชียงใหม่ ต้องร่วมกันทำไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐและเอกชน

กลางปีที่แล้ว หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดทำ "แผนยุทธศาสตร์ชี้นำการพัฒนาจังหวัดใน 20 ปีข้างหน้า" ออกมาฉบับหนึ่ง โดยเสนอผ่านกรรมการจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และตัวแทนภาคเอกชน

แผนนี้ ราชันย์บอกว่าได้กำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับจังหวัดเชียง ใหม่ไว้อย่างเป็นขั้นตอน และครบวงจร

แผนนี้ได้ผ่านขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์มาแล้ว 1 ครั้ง และกำลังเสนอขึ้นไปตามขั้นตอน

ตัวแปรสำคัญที่จะทำให้แผนนี้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างจริงจัง เกิดผลเป็นรูปธรรม หรือไม่ ก็คือหน่วยงานภาครัฐ ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ว่าจะให้ความสำคัญกับแผนนี้หรือไม่

หรือจะปล่อยให้เชียงใหม่ กลายเป็นเมืองที่เป็น "อดีตแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของภาคเหนือ ที่มีครบถ้วนทั้งธรรมชาติ และวัฒนธรรม" ในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us