Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2545
20 ปีเชียงใหม่ การต่อสู้ของธุรกิจดั้งเดิม             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

เชียงใหม่กึ่งศตวรรษ กงเกวียนกำเกวียน!!
เชียงใหม่กึ่งศตวรรษ (2)
สุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์ 'เราอยู่ได้เพราะคนเชียงใหม่ใฝ่รู้'
จากร้านเล็กๆ ในโรงหนังสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงของร้านหนังสือท้องถิ่น
สีสวน' ภาพ 2 ด้านที่แตกต่าง
นิ่มซี่เส็ง 'ผมต้องดิ้นรนตั้งแต่เด็ก'
ปัญหาเชียงใหม่ในมุมมองของ ราชันย์ วีระพันธุ์

   
search resources

Chiangmai




20 ปีที่แล้ว เชียงใหม่เคยขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองปราบเซียน เพราะคนที่จะเข้ามาทำการค้าในจังหวัดนี้ หากเป็นคนจากที่อื่นมักจะไม่ประสบผลสำเร็จ

ธุรกิจการค้าในขณะนั้น ตกอยู่ในมือของทุนท้องถิ่นเป็นส่วน ใหญ่ ทั้งคนท้องถิ่นดั้งเดิม และคนท้องถิ่นที่เป็นคนจีนที่อพยพขึ้นมา ตั้งรกรากที่เชียงใหม่ตั้งแต่เมื่อกว่า 100 ปีก่อน จนได้ลูกได้หลานเป็นคนเชียงใหม่

ปัจจุบันทุนท้องถิ่นเหล่านี้ ต่างเงียบหายไปจากวงการ บริษัทห้างร้าน ที่เคยเป็นสัญลักษณ์ทางธุรกิจของเชียงใหม่หลายแห่ง หากไม่พยายามประคองตัวเอาไว้ ก็ต้องล่มสลายลงไป อย่างเช่น ห้างตันตราภัณฑ์ หรือโรงแรมปอยหลวง

สีสันทางธุรกิจในเชียงใหม่ปัจจุบัน กลับตกอยู่ในมือคนต่างถิ่น โดยเฉพาะจากกรุงเทพฯ

การเปิดตัวของกาดสวนแก้วเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว เป็นประตูที่เปิดให้กับทุนจากที่อื่นๆ หลั่งไหลเข้าไปกอบโกยเงินจากกระเป๋าของคนเชียงใหม่ จนทำให้ทุกวันนี้กลุ่มทุนที่ครอบครองธุรกิจในเมืองเชียงใหม่ เหลือเป็น ทุนของคนเชียงใหม่จริงๆ น้อยมาก

กลุ่มเซ็นทรัลที่เข้าไปยึดหัวหาดได้ทั้ง ที่กาดสวนแก้ว และแอร์พอร์ต พลาซ่า

กลุ่มสุราทิพย์ ของเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่เป็นเจ้าของโรงแรมหลายแห่งในเชียงใหม่

แฟรนไชส์ดังๆ ทุกวันนี้ แทบจะไม่มี เลยสักราย ที่ยังไม่มีสาขาในจังหวัดนี้

ซูเปอร์สโตร์ทั้งโลตัส บิ๊กซี คาร์ฟูร์ และแม็คโคร ต่างแย่งพื้นที่กันเพื่อเปิดสาขา

การเข้ามาของทุนจากส่วนกลางเหล่า นี้ ทำให้วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนเมืองเปลี่ยนไป คล้ายคนกรุงเทพฯ มากขึ้น

ถ้าจะถามว่าแล้วคนท้องถิ่นที่แท้จริงหายไปไหน ทำไมคนเชียงใหม่จึงทำการค้าสู้คนจากที่อื่นไม่ได้

คำตอบที่ได้รับ ต่างบอกกันว่าเพราะบุคลิกที่แท้จริงของคนเชียงใหม่เองเป็นเช่นนี้...

...คนเชียงใหม่เป็นคนรักสงบ ไม่ต้องการให้เกิดการต่อสู้กันอย่างรุนแรง ดังนั้น ถ้าเมื่อใดเริ่มเห็นแนวโน้มว่าจะเกิดความขัดแย้ง คนเชียงใหม่จะถอยหลบออกมาก่อน

...คนเชียงใหม่เป็นคนที่รักความสะดวกสบาย เพราะสภาพแวดล้อมที่เป็นมาตั้งแต่ อดีตไม่ค่อยได้พบกับการดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอดมากนัก

...คนเชียงใหม่เป็นคนช้าๆ ทั้งคำพูด และการคิด ดังนั้น เมื่อระบบธุรกิจเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงมักตามไม่ค่อยทัน

ฯลฯ

ท่ามกลางบทบาทที่ค่อยๆ เลือนหายของทุนท้องถิ่น ยังมีคนเชียงใหม่อีกส่วนหนึ่งที่ยังต่อสู้ดิ้นรน เพื่อทำให้ธุรกิจของตัวเองสามารถยืนอยู่ได้ภายในจังหวัดบ้านเกิดอย่างมั่นคง และแข็งแรง

คนกลุ่มนี้ ไม่เคยมีบทบาททางสังคมที่โดดเด่น อย่างเช่น ที่ผู้บริการกิจการท้องถิ่น เมื่อ 20 ก่อนหลายคนเคยปฏิบัติ แต่คนกลุ่มนี้เขาพยายามบริหารกิจการให้เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง และพยายามปรับปรุงกิจการให้แข็งแรงสามารถต้านแรงเสียดทานที่เกิดจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

คนเหล่านี้ คิดเสมอว่าคนเชียงใหม่ ก็สามารถทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ไม่แพ้คนกรุงเทพฯ

เรื่องราวของคนกลุ่มนี้ เป็นเรื่องที่น่าติดตาม.....

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us