Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 กันยายน 2547
DE เจ้าตลาดสินค้า "Distar" มั่นใจธุรกิจเช่าซื้อไม่มีวันตาย             
 


   
search resources

ดี อี แคปปิตอล, บมจ.
วัฒน ตรีคันธา




ยักษ์ใหญ่สินค้า "ราชาเงินผ่อน" ภายใต้แบรนด์ "Distar" บริษัท ดี อี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (DE) ผู้ดำเนินธุรกิจเช่าซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องใช้สำนักงาน รถจักรยานยนต์ และอื่นๆ กลับมาผงาดอีกครั้ง หลังวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2539-2543 และได้ปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินเป็นที่เรียบร้อย โดยมี วัฒน ตรีคันธา มือดีจาก "ซิงเกอร์" เข้ามานั่งรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งถือเป็นผู้พลิกฟื้น DE ให้กลับมาเป็นเจ้าตลาดอีกครั้ง โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 40% เป็นอย่างต่ำ โดยล่าสุดเมื่อปี 2546 มียอดขายกว่า 1,240 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 40-50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

DE เตรียมเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 17 กันยายนนี้ โดยจะมีการขายหุ้นระหว่างวันที่ 9-10 ก.ย. ให้กับนักลงทุนทั่วไป จำนวน 110 ล้านหุ้นราคา 4.30 บาทต่อหุ้น โดยจะนำเงินที่ได้ไปคืนหนี้สถาบันการเงิน เพื่อลดภาระต้นทุน และส่วนหนึ่งนำไปใช้ขยายการดำเนินธุรกิจ

เชื่อมั่นธุรกิจเช่าซื้อไม่มีวันตาย

วัฒน ตรีคันธา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี อี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้และปีหน้าจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค แต่บริษัทมีความมั่นใจ ว่าธุรกิจเช่าซื้อยังมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่อง โดยในปี 2547 คาดว่าจะมียอดขายประมาณ 1,620 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ส่วนแนวโน้มในปี 2548 คาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นประมาณ 40% เช่นเดียวกัน เนื่องจากตามแผนการดำเนินธุรกิจจะมีการเพิ่มสาขา และตัวแทนจำหน่ายตามต่างจังหวัดให้มากขึ้นเพื่อขยายฐานลูกค้า

"ธุรกิจเช่าซื้อไม่มีวันตาย ผมเชื่อว่าอีก 30 ปีข้างหน้าตลาดยังมีโอกาสโตได้อีก แม้หลายฝ่ายจะประเมินว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะชะลอตัวลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันก็ตาม"

คาดเทรดวันแรกเหนือจอง

ส่วนการเข้าเทรดในตลาดหุ้นครั้งแรกในวันที่ 17 กันยายนนี้ คาดว่าราคาหุ้นน่าจะปรับตัวสูงเมื่อเทียบกับราคาขายที่อยู่เพียง 4.30 บาทเท่านั้น หรือมีค่า P/E อยู่ที่ 10 เท่า ขณะที่กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าค่า P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 13-15 เท่า

"หุ้นที่เทรดวันแรกน่าจะได้รับการตอบรับจากนักลงทุน เนื่องจากราคาหุ้นเรา ถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย และที่สำคัญธุรกิจเช่าซื้อยังมีโอกาสโตได้อีกมากตราบใดที่คนไทยยังอยู่ในแนวราบ และที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมา หุ้นน้องใหม่ต่างมีราคาสูงกว่าจอง"

นอกจากนี้ DE ยังมีจุดขายตรงที่สินค้าบางส่วนเป็นผู้ผลิตเองและขายเอง ทำให้สามารถควบคุมดูแลต้นทุนได้ ขณะที่สินค้าบางส่วนก็ได้จ้างผลิต เช่น มอเตอร์ไซค์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

ผุดสแตนด์อะโลน 2 แห่งปี 48

สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2547 และปี 2548 หลังระดมทุนได้กว่า 473 ล้านบาท บริษัทเตรียมนำเงินไปคืนหนี้ระยะสั้นให้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงินที่มีหนี้จำนวน 235 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 5% เพื่อลดภาระทางต้นทุน ซึ่งจะทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนลดจาก 1.8 เท่า หรือประมาณ 0.7 เท่า พร้อมกับลงทุนขยายสาขาเพิ่มเติม และที่สำคัญสำหรับแผนใน ปี 2548 บริษัทเตรียมเปิดสแตนด์อะโลน เพิ่มอีก 2 แห่งในต่างจังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้สำรวจพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีหลายแห่งเช่น สุราษฎร์ธานี, หาดใหญ่, นครศรี-ธรรมราช,ภูเก็ต,นครราชสีมา,สระบุรี และชลบุรี โดยจะเป็นการเช่าพื้นที่ตึกขนาด 3,000 ตารางเมตร และคาดว่าต้นทุนการเปิดสาขาสแตนด์อะโลนจะอยู่ที่ 30-40 ล้านบาทต่อ 1 สาขา

"สาขาสแตนด์อะโลนที่จะเปิดในปีหน้า 2 แห่งถือเป็นมิติใหม่ในการดำเนิน ธุรกิจของบริษัท เพราะในสแตนด์อะโลน จะมีการนำสินค้าหลากหลายยี่ห้อมาให้บริการเงินผ่อนแก่ลูกค้า จากเดิมที่เราเน้น ให้สินเชื่อเฉพาะสินค้าภายใต้แบรนด์ ไดสตาร์เท่านั้น"

วัฒน กล่าวว่า สาขาสแตนด์อะโลน ที่จะเปิดในปีหน้าจะเปิดในภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะเน้นกลุ่ม ลูกค้า C+ ถึง B ที่มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ และมีเอกสารหลักฐานการทำงานชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นหนี้เสีย

ส่วนแนวโน้มรายได้จาก 2 สาขา ประเมินว่าแต่ละสาขาน่าจะสามารถทำรายได้ให้แก่บริษัทได้ประมาณ 100 ล้านบาทต่อสาขา

"สิ่งที่แปลกใหม่อีกอย่างคือ การผ่อนชำระเงินของลูกค้า สามารถเลือกที่จะผ่อน เป็นรายสัปดาห์ได้ จากเดิมที่มีการผ่อนชำระเป็นรายเดือน ซึ่งจุดนี้คิดว่าน่าจะได้รับการตอบรับจากผู้บริโภค และสินค้าที่ขายเงินผ่อนจะผ่อนชำระกับดีอีเท่านั้น"

เดินหน้าขยายสาขา-ตัวแทน

วัฒนกล่าวว่า ช่องทางการขายสินค้า เช่าซื้อของ DE กระบวนการจัดจำหน่ายจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ผ่านสาขา ซึ่งจะมีพนักงานบริษัทเป็นผู้ดำเนินการขายสินค้า ให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง และขายผ่านตัวแทน ซึ่งปัจจุบันมีสาขา 70 แห่ง และตัวแทน 329 แห่ง ตามแผนงานจากนี้ไปถึงปี 2550 จะเพิ่มจำนวนสาขาเป็น 150 สาขา และตัวแทนจะเพิ่มจาก 315 ราย เป็น 600 รายภายใน 2 ปีข้างหน้า

สำหรับต้นทุนการเปิดสาขาแต่ละแห่งของดีอี ถือว่าต่ำมาก เนื่องจากบริษัทใช้ รูปแบบการเช่าพื้นที่ และไม่มีนโยบายซื้อตึก

ส่วนการเพิ่มจำนวนตัวแทน คาดว่าจะทำให้สามารถเจาะฐานลูกค้าที่สาขาของดีอี เข้าไปไม่ถึงลูกค้า ซึ่งต้นทุนการเปิดสาขากับต้นทุนการขายผ่านตัวแทน อยู่ในระดับเดียวกัน จึงทำให้สามารถควบคุมต้นทุนการดำเนินงานได้ และที่สำคัญการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ตัวแทนสูงถึง 40% และมีการให้เครดิตไลน์กับตัวแทน ทำให้ได้รับการตอบรับจากตัวแทนในต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก

สัมพันธ์ลูกค้าแน่น-NPLs แค่ 1%

สำหรับจุดขายอีกจุดหนึ่งที่ทำให้บริษัทมีความแข็งแกร่งคือ ระบบการทำธุรกิจที่มุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทั้งบริการก่อน-หลังการขาย และการที่มีตัวแทนในพื้นที่ ทำให้สามารถดูแลลูกค้า ได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้โอกาสที่จะเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ต่ำมาก โดย ปัจจุบันมีหนี้เสียเพียง 1% เท่านั้นเมื่อเทียบ กับพอร์ตสินเชื่อรวมกว่า 1.2 พันล้านบาท

"การที่เรามีตัวแทนขายที่เป็นคนในท้องถิ่น และสาขาที่ให้ความสำคัญต่อการดูแลลูกค้า ถือเป็นจุดขายของเราที่ทำให้หนี้เสียอยู่ในระดับต่ำ และที่สำคัญต้องยอมรับว่าคนชนบทมีวินัยทางการเงินสูงไม่เบี้ยวหนี้"

เล็งประมูลสินเชื่อเช่าซื้อกรมบังคับคดี

นอกเหนือจากการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้สำนักงาน รถมอเตอร์ไซค์ แล้ว DE ยังได้ขยายธุรกิจเพื่อเพิ่มช่องทางในการหารายได้เพิ่มให้แก่บริษัท โดยอาศัยความชำนาญของพนักงานสาขา และความสัมพันธ์ของตัวแทนในต่างจังหวัด โดยในช่วงที่ผ่านมาได้เข้าไปประมูลสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จากกรมบังคับคดี ที่ได้รับมอบหมายจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน นำสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการออกมาประมูล ซึ่ง DE ได้ร่วมประมูล โดยได้รับสิทธิในการเรียกร้องหนี้จากลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์จำนวน 1,119 ราย มาบริหาร

"หนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่เราประมูลได้จากกรมบังคับคดี ขณะนี้เราสามารถติดต่อกับลูกหนี้ได้แล้วกว่า 20% หรือประมาณ 200 ราย ซึ่งมีลูกค้าบางรายได้ติดต่อประนอมหนี้แล้ว และเริ่มชำระหนี้ตามปกติ โดยมูลหนี้ที่เราประมูลมีมูลค่ารวม 148 ล้านบาท ราคาประมูลอยู่ที่ 7% เท่านั้น โดยเราคาดหวังว่าหากสามารถตามหนี้ได้ประมาณ 30% ก็ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนแล้ว"

ส่วนสาเหตุที่เข้าประมูลครั้งนี้ ก็เนื่องมาจาก DE ประเมินว่ามีประสบการณ์ในการบริหารหนี้เสียอยู่แล้ว และมีพนักงานเก็บเงินที่สามารถติดตามลูกค้า มีดีลเลอร์ ที่อยู่ตามต่างจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งสามารถ ติดตามลูกหนี้ และที่สำคัญได้มีการจ้างบริษัทกฎหมายช่วยตามหนี้ ซึ่งจะแบ่งสัดส่วนรายได้เป็นค่าคอมมิชชันให้หากสามารถตามหนี้ได้ แต่ถ้าไม่สามารถติดตามหนี้ได้ บริษัทกฎหมายจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเอง

วัฒนกล่าวว่า บริษัทพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จากกรมบังคับคดี หากมีการนำออกมาประมูลอีก ซึ่งคาดว่าจะมีการนำออกมาประมูลทุกไตรมาส และจะสิ้นสุดในช่วงกลางปี 2548

ติวพนง.เข้มหวังครองเบอร์ 1

วัฒนกล่าวว่า เพื่อให้สอดรับกับแผน การขยายธุรกิจ บริษัทเตรียมฝึกอบรมพนักงานขายทั่ประเทศที่มีกว่า 1,700 คน ในปลายเดือนกันยายนนี้ โดยหลักสูตรจะมุ่งเน้นไปที่ "ขายให้ได้ใช้ให้เป็น" นั่นหมาย ความว่าพนักงานขาย จะต้องสามารถนำเอา จุดเด่นของสินค้า "ไดสตาร์" มาเป็นจุดขายให้ได้ ซึ่งในปัจจุบันสินค้าเงินผ่อนแบรนด์เนมเครื่องใช้ไฟฟ้า DE ถือเป็นเจ้าตลาด

โดยหัวใจสำคัญของระบบขายตรงของ DE เน้นใน 6 P คือ PLace,Product, Price,promotion,people และ PICK UP FOR CANVASSING ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าจะเป็นในลักษณะของ Service for Life และบริษัทก็มีสัญญาประกันตลอดอายุเช่าซื้อสินค้า

"วัฒน" ถือเป็นมือหนึ่งด้านการตลาดสินค้าเงินผ่อน เขามีประสบการณ์จาก "ซิงเกอร์" มาเป็นเวลานานกว่า 34 ปี หลังเกษียณเมื่อปี 2542 เขาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการทั่วไปของซิงเกอร์ ก่อนที่จะถูกทาบทามให้มานั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการดีอีฯ คงต้องจับตามองอย่าง ใกล้ชิดว่า เขาจะงัดกลยุทธ์อะไรออกมาขย่มตลาด "ราชาเงินผ่อน" ที่โตวันโตคืนในขณะนี้ และมีหลายบริษัทเตรียมบุกตลาดนี้ ดีอีฯจะสามารถเพิ่มส่วน แบ่งตลาด (มาร์เกตแชร์) หรือรักษาฐานลูกค้าเดิมได้อย่างไร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us