Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2545
เอกรัตน์ วงษ์จริต ประสบการณ์จากอิตาลีกับงานดีไซน์หัตถกรรม             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

Craft Design Service Center

   
search resources

เอกรัตน์ วงษ์จริต




ในฐานะนักออกแบบ เอกรัตน์ วงษ์จริตมีความสฟนใจงานหัตถกรรมของเชียงใหม่มาเป็นเวลานาน

"เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมผสม ไม่ว่าจะเป็นพม่า หรือชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่เข้า มาอาศัยพื้นที่บริเวณนี้ พวกเขาเหล่านี้ได้สร้างเทคโนโลยีและโนว์ฮาวในการผลิตชิ้นงานขึ้นมา จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของงานหัตถกรรมเชียงใหม่ ที่มีคุณค่าทางจิตใจ เพราะทุกชิ้นทำด้วยมือ แตกต่างจากทางตะวันตก ที่ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมไปหมด" เขาบอกเหตุผล

เอกรัตน์ เป็นหัวหน้าหลักสูตรปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการออกแบบ ของคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

เขาเป็นคนกรุงเทพฯ จบปริญญาตรีสาขามัณฑนศิลป์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และ จบปริญญาโท สาขา Industrial Design จาก Domus Acadamy ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นสถาบันสอนการออกแบบที่มีดีไซเนอร์ชื่อดังของโลกหลายคน ร่วมเป็นอาจารย์สอนอยู่

เอกรัตน์มีประสบการณ์ใช้ชีวิตอยู่ในอิตาลี เมืองที่มีชื่อในด้านการออกแบบศิลปวัตถุมานานถึง 6 ปี เขาจึงรู้ข้อมูลตื้นลึกหนาบาง ในแวดวงแฟชั่น และตกแต่ง ซึ่งกำลังเป็นธุรกิจข้ามชาติที่สำคัญธุรกิจหนึ่ง ในขณะนี้เป็นอย่างดี

เขาเคยเป็นผู้ช่วยของ Paolo Nava สถาปนิกทางด้านตกแต่งภายในและเฟอร์นิเจอร์ ก่อนที่จะกลับมาเมืองไทย เพื่อเปิดสตูดิโอของตนเองขึ้นมา แต่ก็ต้องปิดตัวลงหลังฟองสบู่แตกในปี 2540

เขาผันชีวิตตัวเองมาเป็นอาจารย์ และเป็นคนคิดค้นหลักสูตรปริญญาโทขึ้นมาด้วยตัวเอง "ผมอยากจะทำให้ดีกว่าที่เคยเรียนที่ Domus"

ด้วยความสนใจงานหัตถกรรมของเชียงใหม่ เขาจึงใช้เวลาในการศึกษาพัฒนาการของงานมานาน จนพบว่าปัจจุบันงานหัตถกรรม ของที่นี่ กำลังเดินมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ และจะมีผลต่ออนาคตของธุรกิจนี้

"ตอนนี้แบบมันเริ่มซ้ำซากจำเจ และโปรดักส์บางอันเริ่มตาย เช่น ร่มบ่อสร้าง รวมถึงกระบวนการผลิตของชาวบ้านบางอย่างที่ทำให้ไอเดียถูกจำกัด"

เขาจึงมีโครงการเข้ามาช่วยพัฒนาด้านการออกแบบงานให้กับผู้ประกอบการหัตถกรรมของเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจาก NOHMEX

เดือนตุลาคม 2544 เขาได้พาลูกศิษย์ ที่เป็นนักศึกษาปริญญาโทจำนวน 16 คน ขึ้นมาดูงานหัตถกรรมของเชียงใหม่ เพื่อให้นักศึกษาเหล่านี้ได้เรียนรู้กระบวนการผลิต ก่อนที่จะนำข้อมูลมาประยุกต์ เพื่อออกแบบงานที่ฉีกแนวไปจากเดิม

"ผมมองว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัว คือต้องมีการพลิกวิธีการคิด เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการออกแบบงานหัตถกรรมใหม่ แต่ทำให้ผลที่ออกมามันแตกต่างจากเดิม ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น เทคโนโลยี การใช้งาน ตัววัสดุผสมผสานกันไป เช่น จากไม้มะม่วงที่ทำเป็นแจกัน เราก็เปลี่ยนให้เป็นโคมไฟ ขาโต๊ะ ขาเตียง ทำให้เกิด ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้น จากเทคโนโลยีเดิม ทำให้โปรดักส์ไม่ตาย มันจะไหลไปเรื่อยๆ"

เขายอมรับว่าแท้จริงแล้วสิ่งที่เขาทำ ก็คือการปลูกฝังความคิดให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเพิ่มงานวิจัยและพัฒนาเข้ามาในกระบวนการผลิต แต่ผู้ประกอบ การส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญ "สิ่งนี้จะเป็นแนวทางที่ทำให้เราสามารถสู้กับจีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ซึ่งผู้ประกอบการในประเทศเหล่านี้เขามีรัฐบาลสนับสนุน"

ขณะนี้เอกรัตน์ได้เริ่มขายความคิดนี้ไปยังผู้ประกอบการแต่ละราย โดยใช้วิธีนำผลงานของนักศึกษา ที่เข้าใจคอนเซ็ปต์ในการพัฒนางานหัตถกรรมของเขามานำเสนอ

"งานพวกนี้ ก็เป็นเพียงแนวทาง เช่น กระดาษสา ถ้าเราไม่ทำเพียงแผ่นกระดาษเฉยๆ แต่เราสอดโครงลวดเข้าไปตั้งแต่ตอนผลิตวัตถุดิบ เราก็จะได้แผ่นกระดาษสาที่สามารถดัดเป็นรูปเป็นร่างได้ ไม่ใช่แค่เป็นแผ่นๆ สำหรับตัด"

สิ่งที่เอกรัตน์กำลังทำ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ความฝันที่จะสร้าง Design Center ให้เป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งถือเป็น 1 ใน 2 เป้าหมายสำคัญในการดำรงตำแหน่งนายกสมาคม NOHMEX ของไพรัช โตวิวัฒน์ ประสบผลสำเร็จ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us