สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ (NOHMEX) เป็นการรวมกลุ่มกันของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมส่งออกของภาคเหนือตอนบน
ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเชียงใหม่
ต้นกำเนิดของ NOHMEX เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน เริ่มจากกลุ่มผู้ผลิตของที่ระลึกเพื่อขายนักท่องเที่ยวได้รวมกลุ่มกันเป็นชมรม
ใช้ชื่อว่า "ชมรมของฝากของที่ระลึกเชียงใหม่" แต่ต่อมาได้ขยายฐานสมาชิก เพิ่มขึ้น
โดยรวมกลุ่มผู้ผลิตจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น ลำพูน ลำปาง เชียงราย เข้ามาด้วย
ประกอบกับโครงสร้างธุรกิจของสมาชิก ได้เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อขายนักท่องเที่ยว
มาเป็นผลิตเพื่อส่งออกด้วย จึงได้มีการเปลี่ยน รูปแบบองค์กร โดยการจดทะเบียนเป็นสมาคม
NOHMEX ในภายหลัง
ปัจจุบัน NOHMEX มีสมาชิกอยู่ประมาณ 180 ราย "หลักการของเราคือ clustering
เป็นการรวมกลุ่มของคนที่ทำธุรกิจ เดียวกัน เพื่อสร้างพลัง ที่จะช่วยให้ธุรกิจโดย
รวมพัฒนาขึ้นไปได้" ไพรัช โตวิวัฒน์ นายกสมาคม NOHMEX บอกกับ "ผู้จัดการ"
ว่ากันว่าในการรวมกลุ่มกันของธุรกิจ ประเภทเดียวกันขึ้นเป็นสมาคม ที่ทำกิจกรรม
เพื่อธุรกิจโดยส่วนรวมแล้ว NOHMEX ถือเป็น สมาคมที่แอคทีฟมากที่สุดสมาคมหนึ่ง
"เท่าที่ผมสังเกตเห็นคือผู้ผลิตงานหัตถกรรมเชียงใหม่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็น
คนรุ่นที่ 2 คือรุ่นลูกที่ได้ไปเรียน ไปเห็นอะไรมา แล้วมาทำ กลุ่มที่ทำก็เป็นเพื่อนฝูงกัน
จึงสามารถรวมตัวกันได้ ปัญหาหนึ่งที่ผม มักได้พบเวลาไปบรรยาย คืองานหัตถกรรมของที่อื่น
ที่เขาไม่โตเพราะเขาไม่ยอมจับกลุ่มกัน แต่แข่งกัน ตัดราคากัน และก็ตายกันทั้งแถว
แต่ที่นี่เราทำร่วมกัน ถึงจะทำของประเภทเดียวกัน ก็ไม่ก๊อบปี้กัน เพราะต่างคนต่างมีแบบของตนเอง
และหากใครเอาของคนอื่นมาให้ก๊อบปี้ก็ไม่ทำแล้ว" ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ กรรมการผู้อำนวยการ
คิงส์ คอลเลคชั่น ตั้งข้อสังเกต
กิจกรรมหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังที่จะพัฒนาการส่งออกงานหัตถกรรมของเชียงใหม่
คือการร่วมกันของผู้ประกอบการ 5 ราย ที่เป็นกรรมการอยู่ใน NOHMEX จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า
(DC- Distribution Center) ขึ้นในสหรัฐอเมริกา เมื่อ 2 ปีก่อน (โปรดอ่านเรื่อง
"DC ในอเมริกา 5 ผู้ส่งออกเชียงใหม่" นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนตุลาคม 2542
ประกอบ)
แม้โครงการนี้จะไม่ประสบความสำเร็จในภายหลัง แต่ผลที่กลุ่มผู้ร่วมทุนทั้ง
5 รายได้รับทั้งทางตรงคือออร์เดอร์ที่มีติด ตามมา และทางอ้อมคือได้มีโอกาสศึกษา
ช่องทางการค้าในสหรัฐอเมริกาอย่างลึกซึ้ง นั้น มีค่ามากกว่าเงินที่ได้ลงทุนไปมากนัก
โครงการนี้เกิดขึ้นในยุคที่ ณพงษ์สงวนนภาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัทลานนาวู้ดเด้นโปรดักส์
เป็นนายกสมาคม NOHMEX ซึ่งไพรัช นายกคนปัจจุบันก็ได้เป็น 1 ใน 5 ผู้ร่วมทุนด้วย
เขาจึงได้รับรู้ข้อมูลข้อบกพร่องของโครงการดังกล่าวเป็นอย่างดี
จุดบกพร่องดังกล่าว เมื่อรวมกับจุดที่จำเป็นต้องปรับปรุงอีกหลายอย่างในการพัฒนางานหัตถกรรมของเชียงใหม่
เมื่อไพรัช ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมต่อจากณพงษ์ เขาจึงมีนโยบายใหญ่ 2
เรื่อง ที่ต้องการผลัก ดันให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด
1. การผลักดันให้เชียงใหม่เป็นเมืองแสดงสินค้าเช่นเดียวกับเมือง Highpoint
รัฐนอร์ทแคโลไรน่า สหรัฐอเมริกา
2. การจัดตั้งศูนย์บริการออกแบบสินค้าหัตถกรรม (Craft Design Service Center-CDSC)
แม้ทั้ง 2 นโยบาย จำเป็นต้องใช้ระยะ เวลาค่อนข้างนาน จึงจะประสบผลสำเร็จ
และโดยเงื่อนไขวาระในการดำรงตำแหน่งนายกสมาคมของเขา อาจจะไม่ทันเห็นทั้ง
2 โครงการเป็นรูปเป็นร่างอย่างสมบูรณ์
แต่เขาก็ยังต้องการให้เกิดการเริ่มต้น ให้ได้ในยุคนี้