Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2545
ศิลาดล' สัญลักษณ์ความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมเชียงใหม่             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

เชียงใหม่ City of Craftsmanship
เตาเม็งรายประวัติศาสตร์ที่แสดงออกในงานปั้น

   
search resources

Seladon




'ศิลาดล' เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษของคำว่า seladon ซึ่งหมายถึงเครื่องเคลือบสังคโลก แต่คนไทยได้เรียกทับศัพท์คำคำนี้ จนหลายคนคิดว่าเป็นภาษาไทย

ความหมายของศิลาดล คือเคลือบดินเผาสีเขียวแตกลายงา โดยอาศัยน้ำเคลือบที่ทำมาจากขี้เถ้าไม้ และผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง ถึง 1260-1300 องศาเซลเซียส

"ถ้าไม่ใช่สีเขียว หรือไม่แตกลายงา ก็ไม่ใช่ศิลาดล และถ้าเป็นสีอื่น เราก็เรียกว่าเป็นเครื่องเคลือบดินเผาธรรมดา ไม่ใช่ศิลาดล" ศรีสุรางค์อธิบาย

ศิลปะการผลิตเครื่องเคลือบสังคโลก หรือศิลาดล มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อน และได้มีการถ่ายทอดต่อมายังอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นยุคสมัยที่รุ่งเรือง และมีการติดต่อค้าขายกับอาณาจักรอื่นๆ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่อำเภอสวรรคโลก

ตามประวัติศาสตร์ พ่อขุนเม็งรายปฐมกษัตริย์ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ เป็นพระสหายร่วมน้ำมิตรกับพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งอาณาจักรสุโขทัย และพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองพะเยา

การเป็นพระสหายร่วมน้ำมิตร ทำให้มีการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมระหว่างทั้ง 2 อาณาจักร ศิลปะการผลิตเครื่องเคลือบสังคโลก ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่พ่อขุนรามคำแหงได้นำศิลปะแขนงนี้ ขึ้นมาถ่ายทอดไว้ให้กับเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองของพระสหายร่วมน้ำมิตร

แต่การถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ จะไม่สามารถรุ่งเรืองขึ้นมาได้เลย หากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ และธรรมชาติของผู้คนในเชียงใหม่ไม่เกื้อหนุน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นสล่า หรือ craftsmanship ของคนเชียงใหม่ ที่มีติดตัวมาตั้งแต่ในอดีต

ประกอบกับเชียงใหม่ เป็นแหล่งดินดำ ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญที่นำมาใช้ในการผลิตศิลาดล "ที่เราสามารถผลิตสินค้าตัวนี้ได้ เพราะเชียงใหม่เป็นแหล่งดินดำ ซึ่งผิดกับลำปาง เพราะดินของลำปางเป็นดินขาว ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเครื่องปั้นดินเผาของเชียงใหม่ กับลำปางจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และดินของลำปางก็ไม่สามารถนำมาผลิตศิลาดลได้" ศรีสุรางค์อธิบายเพิ่ม

ในช่วงที่เชียงใหม่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าหลายครั้งในเวลาต่อมา ทำให้ศิลปะการผลิตศิลาดลเริ่มขาดการสืบทอด จนกระทั่งในช่วงทศวรรษ 2510 เริ่มมีนักโบราณคดีชาวไทย และต่างประเทศหลายราย ที่ทราบว่าเชียงใหม่ เคยเป็นแหล่งผลิตสำคัญของศิลปะแขนงนี้ มีความต้องการจะฟื้นฟูกลับขึ้นมาอีกครั้ง

"ในยุคนั้นก็มีไทยศิลาดล กับแม่ริมเซรามิค ที่มาก่อน แต่ของไทยศิลาดล เขาก็จะมีสีเขียวของเขาต่างหาก ส่วนแม่ริมเซรามิค ลักษณะของงานจะแตกต่างจากของเรา ของเขาจะทำงานชิ้นใหญ่ ส่วนของเราตามมาทีหลัง จากนั้นก็มีสยามศิลาดลที่เกิดขึ้นใกล้เคียงกัน" ศรีสุรางค์เล่าถึงประวัติ

ปัจจุบันมีผู้ผลิตศิลาดล เกิดขึ้นในเชียงใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลายราย และศิลาดลก็กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของเชียงใหม่ ที่มีคุณค่า แม้ว่าจะมีปริมาณไม่สูงมาก เพราะงานแต่ละชิ้น ต้องการความประณีต และความพิถีพิถันในการผลิต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us