|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์กรุงเทพเพิ่มความเข้มงวดสินเชื่ออสังหาฯ หวั่นลูกค้ากู้เงินไปพัฒนาโครงการแล้วขายไม่ได้ พร้อมจับตามองอุตสาห-กรรมที่ใช้พลังงานสิ้นเปลือง หันมาให้น้ำหนักธุรกิจ ส่งออกแทนเพราะมีมูลค่าสูงถึง 30% ของพอร์ต ยันปีนี้สินเชื่อโตสุทธิเข้าเป้า 4-5% แน่นอน
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)(BBL) เปิดเผยว่า ตลาดที่อยู่อาศัยยังสามารถขยายตัวได้ในระดับหนึ่ง ทำให้ภาพรวมของการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ยังสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค ในขณะที่เศรษฐกิจยังมีการขยายตัวอยู่ในอัตราที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพ
"การปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารยังคงปล่อยให้อยู่ โดยจะมีการพิจารณาถึงฐานะการเงิน สัดส่วนเงินกู้ต่อเงินลงทุนมีความเหมาะสม มีความสามารถในการชำระเงินอย่างต่อเนื่อง และโครงการที่พัฒนานั้นตลาดยังมีความต้องการ"
สำหรับสินเชื่อโดยรวมของธนาคารกรุงเทพ เชื่อว่าสินเชื่อคงโตได้ในระดับหนึ่งได้ เพราะเมื่อเศรษฐกิจ มีอัตราการเติบโต ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องการเงิน ทุนหมุนเวียน และมีการขยายกำลังการผลิต ทำให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อได้ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้ต้องมีการทบทวนแนวโน้ม ของอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการขยายตัวของสินเชื่อ
ด้านนายเดชา ตุลานันท์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า ในปีนี้ธนาคารได้ตั้งเป้าปล่อยกู้สิน เชื่อสังหาริมทรัพย์ไว้ที่ 8-10% ของพอร์ตสินเชื่อ ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีพอร์ตสินเชื่อรวมอยู่ประมาณ 800,000-900,000 ล้านบาท ในขณะที่สินเชื่อรวมของธนาคารในปีนี้ตั้งเป้าโตสุทธิ 4-5%
สำหรับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์นั้น ธนาคารได้เริ่มมีการเข้มงวด และระมัดระวังเป็นพิเศษ ตั้งแต่เดือนมิ.ย.2547 ที่ผ่านมา เพราะเกรงว่าเมื่อธนาคารปล่อยสินเชื่อไปทำโครงการอสังหาริมทรัพย์แล้ว และประสบปัญหาไม่สามารถจำหน่ายได้ เนื่องจากในปัจจุบันมีโครงการเกิดขึ้นจำนวนมาก หากตลาดเริ่มอิ่มตัว และหากโครงการไม่มีคุณภาพ ตั้งอยู่ในทำเล ที่ตั้งไม่ดีก็ไม่สามารถจำหน่ายได้
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ใหม่นั้น มีไม่มากนัก เพราะธนาคารเข้มงวดมากขึ้น สำหรับโครงการที่ได้ปล่อยกู้นี้ ผู้ประกอบการใช้เงินทุนของตัวเองด้วย มีระยะเวลาการปล่อยกู้ 2 ปี ธนาคารปล่อยกู้แค่ 1,800 ล้านบาทเท่านั้น
"นอกจากอสังหาริมทรัพย์แล้ว ธนาคารก็ได้เพ่งเล็งอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานไม่สร้างสรรค์ด้วย ทั้งนี้ธนาคารก็ได้หันมาเน้นให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมส่งออกเป็นพิเศษ เพราะอุตสาหกรรมส่งออกโดยรวมอยู่ที่ 30% ของพอร์ต"
นายเดชา กล่าวว่า ในส่วนของหนี้สินภาคครัวเรือน ที่ตัวเลขล่าสุดออกมาอยู่ที่ประมาณ 130,000 บาทต่อหัวนั้นถือว่าเป็นอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ต้องดูว่าภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจเป็นอย่างไร หากเศรษฐกิจมีการขยายตัวที่ระดับ 5% ก็ไม่ถือว่าน่ากลัว แต่ต้องไม่มีปัจจัยอื่นๆ เข้ามากระทบ โดยเฉพาะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
"หนี้สินภาคครัวเรือนยังไม่มีปัจจัยอะไรที่จะชี้ว่าจะมีปัญหา แต่ภาครัฐต้องร่วมมือเพื่อหามาตรการ ป้องกันด้วย ในส่วนของธนาคารกรุงเทพก็ระมัดระวัง มาตลอดอยู่แล้ว โดยไม่เน้นปล่อยสินเชื่อมาก แต่เน้นการปล่อยสินเชื่อที่มีคุณภาพ"
|
|
|
|
|