Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2545
เชียงใหม่ City of Craftsmanship             
 

   
related stories

ไพรัช โตวิวัฒน์ จากข้าวสู่งานหัตถกรรม
วิกรณ์ พรหมชนะ รุ่นแรกของการเปิดศักราชหัตถกรรมเชียงใหม่ในตลาดโลก
พรหมชนะ ต้นแบบผ้าฝ้ายสันกำแพง
สุคินท์ วงศ์ษา "craftsman เป็นสายเลือดของเชียงใหม่"
เอื้องคำแกะสลัก The Original Factory
เตาเม็งรายประวัติศาสตร์ที่แสดงออกในงานปั้น
ศิลาดล' สัญลักษณ์ความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมเชียงใหม่
สยามศิลาดล ผลิตภัณฑ์เพื่อรสนิยมบนโต๊ะอาหาร
สังวร ลานยศ ส่งออกกระดาษสาทำเงินปีละ 40 ล้าน
ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ หัตถกรรมเชียงใหม่โอกาสและช่องทางยังมีอีกมาก
LANNA TREND trend ในฝันของณรงค์ศักดิ์
NOHMEX การรวมกลุ่มเพื่อสร้างพลัง
เอกรัตน์ วงษ์จริต ประสบการณ์จากอิตาลีกับงานดีไซน์หัตถกรรม
Craft Design Service Center
CHIANGMAI HIGHPOINT แปลงเมืองเป็นโชว์รูมวัฒนธรรม

   
search resources

Chiangmai




ประวัติศาสตร์เชียงใหม่ มีอายุยาวนานมากว่า 700 ปี ได้สั่งสมความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่หลากหลายกลายเป็นบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์ในตัวของตัวเอง ที่มีเสน่ห์และดึงดูดให้ผู้คนมาสัมผัสไม่เสื่อมคลาย

บุคลิกของเชียงใหม่ มีแฝงอยู่ในทุกสิ่ง ที่เป็นเชียงใหม่ ไม่ว่าภาษาพูด เครื่องแต่งกาย บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ศิลปวัตถุ ประเพณีและ งานหัตถกรรม

"คนเชียงใหม่ มีความเป็นสล่าอยู่ในสายเลือด" เป็นคำกล่าวที่ทุกคนยอมรับ

"สล่า" ภาษาภาคกลางแปลว่า ช่าง แต่ความหมายแท้จริงคือความสามารถในการ ประดิดประดอยสิ่งต่างๆ โดยฝีมือของมนุษย์

งานหัตถกรรมของเชียงใหม่ตั้งแต่อดีต จึงมีความเป็นเอกลักษณ์ เปรียบเสมือน การแสดงออกทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยผ่านการประดิดประดอยจาก มือของคนเชียงใหม่

เป็นงานที่มีคุณค่า และทุกชิ้นยังมีประโยชน์ใช้สอย

ในอดีตงานหัตถกรรม ถูกตีค่าเป็นเพียงสินค้าที่ระลึกขายให้กับนักท่องเที่ยว แต่ใน ปัจจุบัน ค่าของงานหัตถกรรมเชียงใหม่ได้ถูกยกระดับให้สูงขึ้น กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สามารถทำรายได้กลับคืนสู่ท้องถิ่นอย่างมหาศาล และรายได้จากงานหัตถกรรม เป็นเม็ดเงินที่กระจายลงไปลึกถึงระดับชาวบ้าน

เรื่องราวที่กำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างของกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ จำนวนหนึ่ง ที่มองเห็นคุณค่างานหัตถกรรมเชียงใหม่ และพร้อมที่จะนำวิชาการ ความรู้ ทางธุรกิจสมัยใหม่ เข้ามาสร้างมูลค่าให้กับชิ้นงาน เพื่อแปรเปลี่ยนกลับมาเป็นรายได้

"ชาวต่างชาติหลายคนรู้จักเชียงใหม่ผ่านทางงานหัตถกรรม" เขาทุกคนเชื่อเช่นนี้

หลายคนอาจมองว่าคนเหล่านี้ เป็นเพียงพ่อค้าธรรมดา แต่พวกเขามีความแตกต่างจากพ่อค้าอื่นๆ ตรงสิ่งที่เขาขาย คือความพยายามอนุรักษ์ความเป็นเชียงใหม่เอาไว้ ไม่ให้เสื่อมคลายไป เหมือนกับที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วกับหลายสิ่งหลายอย่างในเมืองนี้

แม้ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีการรวบรวมตัวเลขรายได้จากการส่งออกงานหัตถกรรมของเชียงใหม่อย่างเป็นระบบ แต่ทุกคนเชื่อว่าหากงานหัตถกรรมเชียงใหม่ได้มีการพัฒนาอย่างจริงจังแล้ว จะกลายเป็นแหล่งรายได้หลักให้กับจังหวัดได้ในอนาคต

เป็นรายได้ซึ่งมาจากบุคลิกที่แท้จริงของเชียงใหม่

เมืองของ craftsmanship.....

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us