Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 กันยายน 2547
เตือนจัดสรรระวังต้นทุนการเงินพุ่งหากขายช้ากว่า 3 ปีเสี่ยงขาดทุนสูง             
 


   
search resources

Real Estate
เฉลิมนคร, บจก.
สุนทร สถาพร




ผู้บริหารบ้านสถาพร ชี้ตลาดโซนเหนือยอดขายอืด เหตุมีซัปพลายในตลาดจำนวนมาก ส่งผลผู้ประกอบการชะลอการเปิดโครงการใหม่เหลือเดือนละ 1-2 โครงการ พร้อมแนะระวังต้นทุนทางการเงินเพิ่ม เตือนหากทำยอดขายที่ช้าเกิน 3 ปีขาดทุนเห็นๆ ส่วนผู้ประกอบการที่กู้เงินซื้อที่ดินตั้งแต่ ปี 45 เริ่มแบกรับต้นทุนทางการเงิน

นายสุนทร สถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฉลิมนคร จำกัด ผู้พัฒนาโครงการบ้านสถาพรในย่านรังสิต เปิดเผยถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์โซนเหนือของกรุงเทพมหานครว่า ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ตลาดอยู่ในภาวะทรงตัว มีสินค้าประเภทบ้านเดี่ยวผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก มีการแข่งขันรุนแรง ทำให้อัตราการเติบโตของตลาดในโซนนี้ช้าเมื่อเทียบกับโซนอื่นๆ ของกรุงเทพฯ

"แม้ว่าในปีนี้ตลาดคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยวในเมืองมีอัตราการเติบโตดีอยู่ แต่สำหรับบ้านเดี่ยวชานเมืองโดยเฉพาะโซนเหนือเป็นภาวะของความต้องการโต ช้ากว่าการผลิตบ้านของผู้ประกอบการ คาดว่าจะต้องใช้เวลานาน จนกว่าความต้องการจะดูดซับสินค้าที่มีอยู่ออกไปจนถึงภาวะสมดุล ซึ่งภาวะดังกล่าวไม่ได้เป็นปัญหาในภาพรวม แต่เป็นปัญหาของยอดขายที่ช้าลง เท่าที่ได้มีการสอบถามจากผู้ประกอบการในโซนนี้ ตอบตรงๆ เหมือนกันว่าตลาดในปีนี้สู้ปี 2546 ไม่ได้" นายสุนทร กล่าว

ส่วนยอดขายของบริษัทในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2547 มีอัตราลดลงประมาณ 20-25% จากปี 2546 ที่มียอดขายทั้งปี 370 ล้านบาท คือมียอดขายเฉลี่ย 4 ยูนิตต่อเดือน จากเดิมมียอดขายเฉลี่ย 7-8 ยูนิตต่อเดือน สำหรับสินค้าที่อยู่ในสต๊อกของบริษัทปัจจุบันมีประมาณ 40-50 ยูนิต

อย่างไรก็ตาม จากภาวะการขยายตัวของซัปพลายในอัตราที่สูงประกอบกับภาวะยอดขายของผู้ประกอบการหลายรายในโซนนี้มีอัตราที่ลดลง ส่งผลให้อัตราการเปิดตัวโครงการใหม่ในโซนนี้ลดลงเหลือ เฉลี่ยเดือนละ 1-2 โครงการ จากที่ในปี 2545-2546 มีอัตราการเปิดโครงการใหม่เฉลี่ยเดือนละ 4-5 โครงการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์

นายสุนทร กล่าวต่อว่า การที่ยอดขายช้าลงอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการได้ เนื่องจากหาก ขายช้าเกินกว่า 3 ปี จะเกิดภาวะระหว่างการขาดทุนและกำไร หรือบางรายอาจขาดทุนไปเลยก็เป็นได้ เพราะยอดขายที่ช้าลงย่อมหมายถึงต้นทุนทางการเงินที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องกู้มาจากสถาบันการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต้องจ่ายอยู่แล้วต้องมีภาระเพิ่มยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการที่ชะลอการเปิดตัวยังต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่าจะแบกรับภาระต้นทุน ดอกเบี้ยที่กู้จากสถาบันการเงินเพื่อซื้อที่ดิน หรือเสี่ยงเปิดโครงการ เพื่อจะได้ขายสินค้าออกไปแล้วนำเงินดังกล่าวมาชำระหนี้ เพราะถ้าถือที่ดินเปล่าเอาไว้จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น และภาวะเช่นนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการรายเล็กเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้ประกอบการที่ซื้อที่ดินช่วงปี 2545-2546 เริ่มแบกรับภาระต้นทุนทางการเงินแล้ว

"สำหรับบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ สามารถชะลอการเปิดโครงการออกไปได้ แต่คนที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ฯถ้าไม่เปิดใน 3 ปีจะขาดทุน ดังนั้นผู้ประกอบการเหล่านั้น จะเริ่มเปิดโครงการใหม่ โดยทำบ้านราคาที่ถูกลงจากแผนเดิมที่วางเอาไว้ ซึ่งจากเดิมตั้งเป้าไว้บ้านเดี่ยวเฉลี่ย 3-10 ล้านบาทต่อยูนิต เหลือประมาณ 2-6 ล้านบาท ส่วนทาวน์เฮาส์จากราคาเฉลี่ย 1.2 ล้านบาท เหลือประมาณ 8 แสนบาท" นายสุนทร กล่าว

อนึ่ง ขณะที่กำลังซื้อเริ่มชะลอตัว ด้านสถาบันการเงินหลายแห่งเตรียมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้น เพื่อเป็นการบริหารต้นทุนของธนาคาร อย่างเช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะ เป็นต้น

สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี นายสุนทร คาดว่าภาวะราคาน้ำมัน มีผลกระทบบ้างแต่ไม่มาก ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลมีผลทำให้ต้นทุนด้านการขนส่งเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2-3% ส่วนวัสดุที่ต้องพึ่งพิงน้ำมันหรือที่ต้อง ใช้การขนส่ง อาทิ ดิน, ปูน และพลาสติกที่ใช้ทำท่อต่างๆ ทั้งนี้ ผลกระทบจะเกิดขึ้นต้องพิจารณาว่า ราคาน้ำมันดีเซลจะขึ้นเท่าไหร่ในปี 2548 ขณะนี้เป็นเพียงความกังวลเท่านั้น ราคายังไม่ได้ปรับขึ้นจริง โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้ประกาศพยุงราคาน้ำมันดีเซลไปจนถึงสิ้นปี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us