แม้ตลอดปี 2544 ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง มีโครงการให้ พนักงานเกษียณอายุก่อนกำหนดมาอย่างต่อเนื่อง
แต่ถึงที่สุดแล้ว มีพนักงานตัดสินใจเข้าร่วมโครงการน้อยกว่าเป้าหมายไว้ ทำให้ปีนี้
ยังคงเป็นอีกปีหนึ่งที่ระบบธนาคารยังคงต้องเดินหน้าปลดพนักงาน ต่อจากปีก่อน
"ก่อนหน้านี้พนักงานแบงก์ทั้งระบบมีประมาณ 120,000 คน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง
97,000 คน และคาดว่าคงจะมีคนตกงานเพิ่ม ขึ้นอีกจำนวนไม่น้อยหลังจากนี้" ชัยสิทธิ์
สุขสมบูรณ์ ประธาน สหพันธ์แรงงานธนาคารและสถาบันการเงินแห่งประเทศไทย (สธง.)
กล่าว
จากตัวเลขที่มีการรวบรวมเมื่อปีที่แล้วพบว่า ธนาคาร หลายแห่งได้ปรับลดพนักงานไปแล้วเป็นจำนวนมาก
เช่น ธนาคาร กรุงไทย ที่มีโครงการร่วมใจจากก่อนเกษียณ 5 ครั้ง มีพนักงาน
สมัครเข้าโครงการถึง 4,068 คน ส่วนธนาคารกรุงเทพก็มีโครงการ เกษียณอายุก่อนกำหนด
ซึ่งมีพนักงานเข้าร่วมในโครงการประมาณ 1,000 คน ธนาคารกสิกรไทย ประมาณ 1,000
คน ส่วนธนาคารไทย พาณิชย์ ล่าสุดมีประมาณ 300 คน
การที่ธนาคารพาณิชย์ยังคนเดินหน้าจูงใจให้พนักงานเข้าร่วม โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดนั้น
เนื่องจากธนาคารแต่ละแห่ง ยังต้องการลดต้นทุนลงมาให้มากที่สุด เพราะภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น ประกอบกับระบบเทคโนโลยีที่ได้มีการ พัฒนาขึ้นมาใหม่
ทำให้ในการทำธุรกรรมของธนาคารปัจจุบันไม่ จำเป็นต้องใช้คนเข้ามามีบทบาทมากนักเหมือนสมัยก่อน
แม้วิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย เคย บอกกับ "ผู้จัดการ"
ว่า สิ่งที่เขาไม่ต้องการจะทำมากที่สุด ในการเข้า ตำแหน่งคือการลดพนักงาน
แต่ในที่สุดแล้ว เขาก็จำเป็นจะต้องออก โครงการร่วมใจจากครั้งที่ 6 มาจนได้
ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2544
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในช่วงปลายปี 2544 ต่อเนื่องมาจนถึง ต้นปี 2545 ธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง
ยังได้ประกาศโครงการลด พนักงานออกมาอีกเป็นระยะๆ (รายละเอียดดูจากตาราง)
อนาคตประเทศไทย อาจจะมีผู้ประกอบการรายย่อยเพิ่มขึ้น มาอีก จากอดีตพนักงานแบงก์เหล่านี้