Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 กันยายน 2547
SCIB เตรียมบุกธุรกิจลีสซิ่งครบเครื่องยูนิเวอร์แซลแบงก์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย

   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
Banking and Finance




ธนาคารนครหลวงไทยเล็งบุกตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในปี 48 เผยอาจเป็นการซื้อพอร์ตสินเชื่อหรือตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ รองรับการเป็นยูนิเวอร์แซลแบงก์ ที่ขาดแค่ธุรกิจลีสซิ่งเท่านั้น ผู้บริหารระบุไม่มีแผนนำบริษัทในเครือเข้าตลาดหุ้น อ้างต้องการถือหุ้น 100% เพื่อง่ายแก่การบริหาร ส่วนการเพิ่มทุนในช่วง 3 ปีนี้ไม่มีให้เห็นแน่ เนื่องจากเงินกองทุนแข็งแกร่ง

นางสาวอังคณา สวัสดิ์พูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (SCIB)เปิดเผยว่า แผนการดำเนินธุรกิจในช่วงต่อไปของธนาคารเตรียมที่จะเข้าไปลงทุนในธุรกิจลีสซิ่ง ซึ่งเป็นธุรกิจเดียวที่ธนาคารยังไม่เข้าไปลงทุน หลังจากที่ก่อนหน้าได้เข้าไปลงทุนในธุรกิจประกันชีวิต ประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เพื่อเป็นการรองรับนโยบายการเป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจร (ยูนิเวอร์แซลแบงก์) โดยคาดว่าธุรกิจลิสซิ่งจะสามารถเปิดตัวได้ภายในปี 2548 โดยเน้นการปล่อยสินเชื่อรถยนต์เป็นหลัก

ส่วนแนวทางการลงทุนในธุรกิจลีสซิ่ง อยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะเข้าไปซื้อกิจการเดิมของบริษัทธุรกิจลีสซิ่งอยู่แล้ว หรือการเปิดตัวด้วยการตั้งบริษัทใหม่ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มในขณะนี้ ทำให้บริษัทต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการบริโภค

สำหรับนโยบายการทำธุรกิจของธนาคารนครหลวงไทย ไม่มีแผนที่จะนำบริษัทในเครือเข้าตลาดหุ้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัทแม็กซ์ประกันชีวิต บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนนครหลวงไทย บริษัทหลักทรัพย์นครหลวงไทย บริษัทนครหลวงไทยบริการ ที่ถือหุ้นอยู่ 100% และบริษัทนครหลวงไทยประกันวินาศภัย ที่ปัจจุบันถือหุ้นอยู่ 45.5% เนื่องจากต้องการให้ง่ายต่อการบริหารงาน

"การมีธุรกิจที่ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ถือเป็นจุดเด่นของธนาคารนครหลวงไทย ที่สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างครบวงจร"

นางสาวอังคณา กล่าวว่า แม้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) 14 วัน อีก 0.25% และมีธนาคารบางแห่งได้ขยับอัตราดอกเบี้ยตามบ้างแล้ว แต่ธนาคารนครหลวงไทยยังไม่มีนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ เนื่องจากยังมีสภาพคล่องล้นกว่า 1 แสนล้านบาท โดยปัจจุบันธนาคารมียอดปล่อยกู้ 3 แสนล้านบาท ขณะที่มีเงินฝากรวมกว่า 4 แสนล้านบาท ทำให้เห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้

นอกจากนี้ การที่ธนาคารต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราที่สูงถึง 3.5% ที่ธนาคารเร่งระดมเงินฝากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะครบกำหนดในสิ้นปี 2548 ถือเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ทำให้ยังไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ย ซึ่งมีสัดส่วนสูงประมาณ 20% ของพอร์ตเงินฝาก และจะครบกำหนดการชำระคืนในครึ่งปีหลังของปีนี้ประมาณ 7 พันล้านบาท และส่วนที่เหลือจะครบกำหนดภายในสิ้นปี 2548

นางสาวอังคณากล่าวว่า หลังจากที่เงินฝากที่มีต้นทุนสูง ครบกำหนดจะทำให้ธนาคารสามารถ บริหารต้นทุนได้ง่าย เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนเงินฝากเฉลี่ยอยู่ที่ 1.3% เท่านั้น เมื่อครบกำหนดแล้วจะทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยรับของธนาคารเพิ่มขึ้น

ส่วนแผนการเพิ่มทุนของธนาคารในช่วง 3 ปีข้างหน้า ธนาคารนครหลวงไทยยังไม่มีนโยบายเพิ่มทุน เนื่องจากมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) อยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง โดยปัจจุบันบีไอเอสอยู่ที่ 12.37%

สำหรับผลการดำเนินงานธนาคารงวดครึ่งปีแรกของปี 2547 มีกำไรสุทธิ จำนวน 3,702 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิจำนวน 1,343 ล้านบาท ธนาคารมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 2,359 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us