หากไม่นับอินโดนีเซียแล้ว ประเทศไทยถือได้ว่าประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนักหน่วงที่สุด
ในเอเชีย ในช่วงปี 2541 โดยที่ดีมานด์ในประเทศลดลงถึง 20% และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีลดลงราว
9% ทั้งนี้ มีเพียงการฟื้นตัวจากภาคเศรษฐกิจภายนอกโดยบังเอิญเท่านั้น ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงไปกว่านี้
การปรับตัวภายนอกนั้น เห็นได้ชัดจากการที่มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด โดยอยู่ ที่ระดับสูงกว่า
20% ของ จีดีพี ในปี 2539-2541 จาก ที่เคยอยู่ในภาวะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมาก่อน
การฟื้นตัวขนานใหญ่ของดุลบัญชี เดินสะพัด และการเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าของการลงทุน
โดยตรงจากต่างประเทศ ล้วนมีบทบาทสำคัญ ที่ทำให้ ไทยสามารถชำระหนี้สินภายนอกได้ และฟื้นฟูสภาพคล่องในระดับนานาประเทศได้อีกครั้ง
หนี้สินต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกับสัดส่วนของหนี้สินระยะสั้น
ที่ลดลงจาก 50% ของยอด หนี้สินรวมในปี 1995 มาอยู่ ที่ 27% ในปี 1998 นอกจากนั้น
การจัดสรรเงินช่วยเหลือของไอเอ็มเอฟ ยังช่วยผ่อนคลายภาระหนี้อัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศล่วงหน้าได้ราว
20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐด้วย ขณะที่เงินสำรอง ต่างประเทศอาจเพิ่มขึ้นเป็น
40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปลายปี 2000 อันเป็นผลมาจากยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดราว
6-9% ของจีดีพีอย่างต่อเนื่อง ส่วนการปรับปรุงหนี้ต่างประเทศ และดัชนีบ่งชี้สภาพคล่อง
เมื่อผนวกรวมกับประวัติการชำระหนี้ ที่ไม่มีรอยด่างพร้อย ก็ล้วนแต่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีการยกระดับ
หรือปรับปรุงอันดับความน่าเชื่อถือในเงินตราต่างประเทศระยะยาว ไปเป็นระดับที่น่าลงทุน
นอกจากนั้น รัฐบาลชุดปัจจุบันยังคงเดินหน้าในการปฏิรูปเศรษฐกิจเชิงโครงสร้าง
และขณะนี้เริ่มมีกฎหมายใหม่ออกมารองรับการปฏิรูปเศรษฐกิจบ้างแล้ว แม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านอยู่บ้าง
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืน จึงขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
ในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจ และการปรับปรุงการลงทุนของกิจการธนาคาร
อย่างไรก็ตามยอดหนี้ประเภท ที่ไม่ก่อรายได้ ( ซึ่งสูงเกือบ 50%) เป็นสิ่งบ่งชี้ว่ากระบวนการปรับปรุงแก้ไขยังต้องดำเนินต่อไปอีกนานพอสมควร
การดำเนินนโยบายการคลังแบบระมัดระวัง ที่มีมานานช่วยให้รัฐบาลดำเนินมาตรการต่างๆ
ได้คล่องตัวอยู่บ้าง แต่กระนั้น ผลกระทบของการปรับโครงสร้าง การเงิน และการกระตุ้นด้านการคลังจะก่อหนี้ของภาครัฐเพิ่มขึ้น
ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ ที่สูงขึ้นจะสร้างภาระให้กับงบประมาณแผ่นดิน และทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการรักษาระดับของหนี้สาธารณะด้วย
แต่จากประสบการณ์ในอดีตชี้ให้เห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหามากนัก หากมีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษี
โดยที่อัตราดอกเบี้ย ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และเศรษฐกิจมีอัตราการเติบโต ที่ระดับ
5-6% ต่อปี หมายความว่า หนี้สาธารณะโดยรวมจะลดลงจาก 51% มาอยู่ ที่ 16% ของจีดีพี
ซึ่งเป็นสภาพ ที่ใกล้เคียงกับช่วงปี 2529-2539
จุดแข็งของประเทศไทย เศรษฐกิจค่อนข้างเปิด และยืดหยุ่น เนื่องจากไม่มีนโยบายแทรกแซงจากภาครัฐ
ฝ่ายบริหารมีแนวทางปฏิรูป โดยปฏิบัติตามแผน โครงการของไอเอ็มเอฟ มีประวัติการดำเนินนโยบายการคลังแบบระมัดระวัง
ไม่มีประวัติด่างพร้อยในเรื่องการชำระหนี้สาธารณะ
จุดอ่อนของประเทศไทย มีระบบการเงิน ที่อ่อนแอ มียอดหนี้ ที่ไม่ก่อรายได้สูง
มีฐานการส่งออก ที่ไม่ทันสมัยเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง พึ่งพาปริมาณความต้องการจากภายนอกมากเกินไป
มาตรฐานการศึกษาอยู่ในระดับต่ำ โครงสร้างพื้นฐานไม่ดี