36 ปี สยามสแควร์ ชอปปิ้งมอลล์กลางแจ้งที่มีลักษณะเด่นไม่เหมือนใครทำให้ส ถานที่แห่งนี้ไม่มีวันตาย
วันนี้ถ้าเอ่ยชื่อ สยามสแควร์
เราจะเห็นความเป็นที่สุด ในหลายๆ เรื่อง
การเกิดขึ้นของโรงหนังสยาม สกาล่า ลิโด 3 โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ ความจุประมาณ 800-1,000
นั่ง คือ ความหรูเริ่ดที่สุดในยุคเริ่มแรกของสยามสแควร์ ก่อนจะถึงยุคนัดพบกันที่บันได
15 ขั้นของศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์บนถนนพระราม 1 ยิ่งมามีศูนย์การค้า ขนาดมหึมามาบุญครองบนถนนพญาไท
กระแสของผู้คนก็หลั่งไหลล้นหลามในย่านนี้มากขึ้น เมื่อผสมผสานเข้ากับแนวความคิดของศูนย์การค้าแบบแนวราบ
ในคอนเซ็ปต์ Outdoor & indoor Shopping ของผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ได้จัดพื้นที่ร้านค้าในซอยต่างๆ ของสยามสแควร์ให้เชื่อมโยงกับสองศูนย์การค้าใหญ่
และแต่ละ ซอยยังทะลุถึงกันตลอดสร้างความสะดวกในการเข้าออก ทำให้ย่านนี้ ยิ่งมีเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือน
ร้านขายเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายเฉพาะในสยามสแควร์ มาบุญ ครอง สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่
มีทั้งหมดมากมายหลาย ร้อยร้าน ส่วนใหญ่เป็นแฟชั่นที่ล้ำยุคทันสมัยตามเทรนด์ของตลาดแฟชั่นโลก
แฟชั่นกับสยามสแควร์จึงอยู่คู่กันมาแสนนาน ในระดับราคาที่แตกต่างกัน
ใครต้องการแบกแบรนด์เนมของแท้ ต้องขึ้นไปบนห้างสยาม เซ็นเตอร์ หรือสยามดิสคัฟเวอรี่
หากต้องการได้ของราคารองลงมาก็หาซื้อได้ที่มาบุญครอง แต่ถ้าเป็นสินค้าราคาเดียวหรือใกล้เคียงกับสวนจตุจักร
ก็ต้องเป็นร้านค้าย่อยในสยามสแควร์
ตัวเลขจากสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์ ระบุว่าเฉพาะในสยามสแควร์ มีร้านขายเสื้อผ้า
เครื่องแต่งกาย ทั้งหมดประมาณ 80 ร้าน ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งหมด 74 ร้าน
หลายร้านแจ้งเกิดที่สยามสแควร์ก่อนไปเปิดสาขาที่อื่น ในขณะที่มีโรงเรียนกวดวิชา
โรงเรียนสอนภาษา สอนดนตรี ตัดเย็บเสื้อผ้าและสอนคอม พิวเตอร์ รวมกันทั้งหมด 41
แห่ง
หากเจ็บไข้ได้ป่วยยังมีคลินิกให้เข้าไปหาหมอถึง 21 ร้าน มีร้านขายยา 6 ร้าน ร้านเสริมสวย
24 ร้าน มีธนาคารอีก 10 แห่ง และยังมีร้านค้าอื่นๆ เช่น ร้านขายเทป ซีดี ร้านถ่ายรูป
ร้านขายดอกไม้ ขายอุปกรณ์ตกแต่ง บ้าน ศูนย์บริการ บริษัทห้างร้านอื่นๆ อีกมากมาย
รวมทั้งหมดกว่า 500 ร้าน
ความหลากหลายของร้านค้าที่มีทุกอย่างครบวงจร ทำให้ผู้คน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ
ทุกระดับฐานะมารวมกันที่นี่ ทำให้วันนี้สยามสแควร์มีความเป็นที่สุดในหลายๆ เรื่องของเมืองไทย
เช่น
เป็นแหล่งที่มีแฟชั่นสายเดี่ยวเกิดขึ้นเป็นที่แรก และหาดูได้มากที่สุดในเมืองไทย
สยามสแควร์ เป็นแหล่งแฟชั่นที่สามารถชี้เทรนด์แฟชั่นของเมืองไทยเด่นชัดที่สุด
เป็นแหล่งฟาสต์ฟูดยี่ห้อไทยๆ และต่างชาติมารวมกันมากที่สุด
เป็นย่านชอบปิ้งที่มีรถเมล์ผ่านมากที่สุด
สถานีรถไฟฟ้าสยามเป็นสถานีร่วมที่ผู้โดยสารมาขึ้นลงมากที่สุด
มีร้านค้าย่อยสำหรับชอปปิ้งมากที่สุด ตั้งแต่ มาบุญครอง โบนันซ่ามอลล์ ต่อเนื่องไปยังสยามเซ็นเตอร์
เป็นแหล่งที่มีโรงเรียนกวดวิชามากที่สุด และหาที่จอดรถยากที่สุด
สามารถพบเห็นรูปแบบโฆษณาสินค้าต่างๆ เช่น ป้ายโฆษณา แผ่นพับ ใบปลิว ตู้ไฟโฆษณา
บิลบอร์ด
เป็นแหล่งที่แมวมองเดินหาเด็กใหม่ๆ เข้าวงการวัยรุ่นมากที่สุด
มีการเข้ามาสอบถามข้อมูลทำวิจัยในเรื่องต่างๆ มากที่สุด
คาแรกเตอร์ที่โดดเด่นไม่มีใครเหมือน เป็นความสำเร็จของสยามสแควร์ มีมาอย่างต่อเนื่องถึง
36 ปี แต่ก็น่าสนใจอย่างมากว่า สยามสแควร์ในอนาคตถูกกำหนดจากผู้บริหารของจุฬาลงกรณ์ไว้อย่างไร
มานพ พงศทัต ผู้บริหารคนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงแนวคิดหลักๆ
ในการปรับปรุงสยาม สแควร์ไว้ว่า ในอนาคต สยามสแควร์จะต้องไม่มีการทุบทิ้งเพื่อร้างศุนย์การค้าติดแอร์
อย่างที่อื่นเป็นอันขาด แต่ต้องประสานความเป็น Out door ชอปปิ้ง และ Indoor ชอปปิ้ง
ซึ่งเป็นคาแรกเตอร์หลัก เอาไว้ด้วยกัน พร้อมๆ กับการยก ระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับบรรดาพ่อค้า
แม่ค้า และสร้างความสะดวกให้แก่ผู้ที่เข้ามาจับจ่ายซื้อของให้มากที่สุด
เป็นชอปปิ้งเซ็นเตอร์สไตล์ไทยๆ ที่เป็นต้นแบบให้ศูนย์การค้าอื่นๆ แล้วค่อยพัฒนาให้ก้าวขึ้นเป็นแบบนานาชาติ
คือ ความตั้งใจของผู้บริหารจุฬาลงกรณ์ในยุคนี้