Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543
ฟิตช์ อิบคา ชี้เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น             
 

   
related stories

ประเทศไทย พื้นฐานยังเชื่อถือได้
ฟิตช์ อิบคา

   
search resources

ฟิตช์ อิบคา




ทีมงานของฟิตช์ อิบคา (Fitch IBCA) มาเยือน ประเทศไทยเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมทบทวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ

เจ้าหน้าที่ของฟิตช์ อิบคารายหนึ่งกล่าวว่า ทีมงานเดินทางกลับไปด้วยความเชื่อมั่นมากขึ้นหลังจาก ได้รับรู้ข้อมูลต่างๆ เพิ่มขึ้น แม้ว่าอาจจะยังไม่มีการปรับปรุงอันดับความน่าเชื่อถือใหม่ในทันทีก็ตาม

พอล รอว์กินส์ (Paul Rawkins) ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศแห่งฟิตช์ อิบคาให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ไทยมีกรอบทางกฎหมายสำหรับจัดระเบียบระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่แทน ที่กฎหมายเก่าแล้ว

"มีสิ่งต่างๆ มากมาย ที่เกิดขึ้นในหลายด้าน เช่น การปฏิรูปทางสถาบัน ซึ่งตลาดอาจจะยังไม่ได้ นำมาพิจารณาความน่าเชื่อถือด้วย และคงใช้เวลาอีกนานกว่าจะเห็นผลของสิ่งเหล่านี้ แต่ใน ท้ายที่สุดจะเกิดผลดีขึ้นอย่างมากทีเดียว"

ทีมงานของรอว์กินส์มาเยือนไทยครั้งก่อน เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว และก่อนหน้านั้น ในเดือนมิถุนายนได้มีการปรับปรุงการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในด้านเงินตราต่างประเทศระยะยาว ให้มีระดับการลงทุน ที่ BBB- ส่วนความน่าเชื่อถือในแง่เงินตราต่างประเทศระยะสั้นอยู่ ที่ F3 และเงินตราในประเทศระยะยาวอยู่ ที่ BBB-

"เราพบว่าสิ่งต่างๆ ที่เห็นนั้น ดีกว่า ที่คาดไว้ ไม่คิดว่าจำเป็นต้องตีความว่าเป็นการปรับปรุงที่ดีขึ้น แต่มีสิ่งต่างๆ ซึ่งเราเคยกังวลก่อนมา และตอนนี้เราก็รู้สึกดีขึ้น"

เขากล่าวว่าสิ่งที่บรรลุผลสำเร็จไปแล้วในแง่ของการปฏิรูปสถาบัน กฎหมายล้มละลาย และด้านหลักอื่นๆ เป็นสิ่งที่ย้อนกลับไปไม่ได้

"เรายังพบว่ามีการเคลื่อนไหวในด้านการปรับโครงสร้างองค์กร และปรับโครงสร้างทางการเงิน ซึ่งอย่างน้อยตอนนี้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงแล้วในขณะที่แต่ก่อนไม่เคยมีการขยับใดๆ ผมว่าอุปสรรคถูกทำลายลงแล้ว" รอว์กินส์บอก

ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เงินกู้ประเภท ที่ไม่ก่อรายได้ลดลงเหลือราว 37% ของยอดเงิน กู้ในระบบการเงิน เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม ที่ผ่านมาจากระดับราว 50% เมื่อกลางปีที่แล้ว

รอว์กินส์กล่าวอีกว่าวิธีการดึงเอาหนี้เสียออกจากระบบการเงินของไทย โดยการจัดตั้งองค์กรบริหารสินทรัพย์ขึ้นมานั้น อาจจะดำเนินงานไม่รวดเร็วเหมือนอย่างวิธีการของรัฐบาลมาเลเซีย และเกาหลีใต้ ที่ตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นมารับซื้อหนี้เสียทั้งหมดไว้เสียเอง แต่รัฐบาลไทยมีเหตุผลบางประการที่เลือกใช้วิธีการดังกล่าว คือ รัฐบาลไม่มีเงินพอ ที่จะเข้าไปแบกรับภาระหนี้เหล่านี้ได้ และภาคธุรกิจก็มีบุคลากร และประสบ การณ์ด้านการปรับโครงสร้างมากกว่า

"มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าในท้ายที่สุด ไทยจะมีระบบการธนาคาร ที่แข็งแกร่งขึ้น" รอว์กินส์เสริม และกล่าวถึงธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่า กำลังใช้แนวทาง ที่ถูกต้องตามความเป็นจริงในการกระตุ้นด้านการคลัง และปรับโครงสร้างภาคการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังวิกฤติการเงิน ในปี 2540

กระทรวงการคลังคาดการณ์ด้วยว่า หากรัฐบาลออกพันธบัตรรัฐบาล เป็นมูลค่าอย่างน้อย 135,000 ล้านบาทต่อปี เป็นเวลาต่อเนื่องกันไป 5 ปี ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ดังกล่าวจะคิดเป็นสัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่อปี ซึ่งเพิ่มจาก 9.5% ในปีนี้เป็นกว่า 15% ในปี 2547 ทั้งนี้ ธารินทร์ได้เสนอแผนรายละเอียดการออกพันธบัตรระยะ 5 ปีดังกล่าวแก่คณะรัฐมนตรีแล้ว

รอว์กินส์กล่าวว่าธารินทร์ติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิด และหนี้สาธารณะอยู่ในขั้น ที่สามารถสะสางได้ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงสำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยในอีก 2-3 ปีข้างหน้า คือ การปิดโอกาสในการก่อหนี้สาธารณะเพิ่ม ซึ่งทำให้รัฐบาลไม่สามารถใช้เป็นมาตรการกระตุ้นด้านการคลัง หากเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นอีก เช่น ในกรณี ที่ปริมาณความต้องการสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ เกิดลงฮวบลงอย่างกะทันหัน

ทั้งนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าภาคการเงินจะกลับสู่ภาวะเข้มแข็ง และจะเริ่มมีอัตราการเติบโตของการกู้ยืม หรือแม้แต่จะมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในประเทศอย่างยั่งยืนหรือไม่ หากปริมาณความต้องการสินค้าในทั่วโลกลดลง

นอกจากนั้น ความไม่แน่นอนในเรื่องทิศทางนโยบายของรัฐบาลชุดหน้ายังคงบดบังบรรยากาศโดยรวมด้วยเช่นกัน เนื่องจากทีมเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย เป็นที่ยอมรับอย่างสูง แต่ในการเลือกตั้งทั่วไป ที่จะมีขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน อาจมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม รอว์กินส์กล่าว ว่า แนวทางนโยบายของทีมเศรษฐกิจรัฐบาลชุดนี้ และของพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ และมีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสมัยหน้า คงจะไม่แตกต่างกันมากนัก เขากล่าวว่า "คนส่วนใหญ่เห็นว่าการเลือกตั้งเป็นเรื่องตัวบุคคลมากกว่าเป็นเรื่องนโยบาย เราแค่อยากรู้ว่าผลจะออกมาอย่างไรเท่านั้น "

ไม่ว่าใคร ที่จะเข้ามาบริหารประเทศในปีหน้าจะต้องสานต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งดำเนินการมานานนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศษฐกิจ โดยจะต้องรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศไว้

เมื่อปลายปีที่แล้ว หนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยลดลงเหลือ 13,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยลดจากระดับ 34,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ขณะที่ยังคงมีการไหลเข้ามาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ส่วนกิจการธุรกิจต่างๆ ยังคงอยู่ในภาวะการชำระหนี้สิน และ รีไฟแนนซ์หนี้ต่างประเทศ

"มีการไหลออกของการลงทุน ที่ก่อหนี้สิน ขณะที่การลงทุน ที่ไม่ก่อหนี้ ก็ไหลเข้ามาด้วย" รอว์กินส์กล่าว และเสริมว่าความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ จากภายนอกเป็นเหตุผลที่ทำให้มีการปรับปรุงการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเมื่อปีที่แล้ว และเมื่อมองจากการท่องเที่ยว การส่งออก และยอดเกินดุลบัญชี เดินสะพัด ผลประกอบการเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ทีมงานของฟิตช์ อิบคา เดินทางกลับประเทศไปโดยที่มีความวิตกกังวลน้อยกว่าเมื่อครั้งเดินทางเข้ามา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us