|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ช.การช่าง แจงรายได้ปีนี้หดกว่า 50% จากเดิมตั้งเป้า 1.2 หมื่นล้านบาท หดเหลือ แค่ 8 พันล้านบาท เพราะ "โครงการวงแหวนด้านใต้" ล่าช้า มั่นใจปีหน้ารายได้เพิ่มเป็น 1.2 หมื่นล้าน บาท ลั่นพร้อมลุยเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลมูลค่า 6 แสนล้าน ตั้งเป้าประมูลงานได้ 20% เล็งออกหุ้น กู้ 3 พันล้านบาทปลายปีนี้ เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้ ขณะที่การนำBMCL เข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์เลื่อนไปปีหน้า
นายประเสริฐ มริตตนะพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบัญชีและการเงิน บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) (CK) เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับประมาณรายได้รวมปี 2547 จากเดิมที่ประเมินว่าทั้งปีจะมีรายได้รวมประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ลดลงเหลือประ-มาณ 8 พันกว่าล้านบาท เนื่องจากการรับรู้รายได้จากโครงการวงแหวนด้านใต้มีความล่าช้า
โดยโครงการนี้มีมูลค่ากว่า 1.5 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่คาดว่าจะสามารถเริ่มงานได้ภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ แต่มีการเลื่อนระยะเวลาออกไปและเพิ่งเริ่มงานได้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้การรับรู้รายได้ในปีนี้ลดลง จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องปรับประมาณการรายได้ใหม่ ซึ่งใกล้เคียงกับรายได้เมื่อปีที่ผ่านมา
โดยครึ่งปีแรกของปีนี้ บริษัทมีรายได้รวม 2,965 ล้านบาท แต่คาดว่าในครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้น ทำให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ที่มีรายได้รวมทั้งปี 8,068 ล้านบาท และปี 2548 คาดว่าจะมีรายได้รวมประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับปีนี้ ปัจจุบันมีโครงการที่ประมูลได้แล้วกว่า 2.25 หมื่นล้านบาท
นายประเสริฐ กล่าวว่าจะเข้าไปประมูลโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของรัฐ ที่ในช่วง 6 ปีข้างหน้าจะมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่มูลค่า กว่า 6.45 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะประมูลงานได้ประมาณ 20% ขณะเดียวกันบริษัทอยู่ระหว่างเซ็นสัญญาในโครงการจ้างงานก่อสร้างมหกรรมพืชสวนโลก มูลค่าโครงการ 1.19 พันล้านบาท และมีงานรอประมูล 2 โครงการมูลค่าประมาณ 14 ล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัทยังเตรียมออกหุ้นกู้จำนวน 3 พันล้านบาท ปลายปีนี้โดยแต่งตั้งให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นที่ปรึกษาการเงินและตัวแทนจำหน่าย เพื่อนำเงินไปใช้หนี้เงินกู้และลดภาระดอกเบี้ย ส่วนที่เหลือใช้เป็นทุนหมุนเวียน
ส่วนความคืบหน้าในการนำ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จำเป็นต้องรอดูภาวะตลาด ไม่เกี่ยวกับการที่รัฐเจรจาซื้อหุ้นคืน โดยการเจรจาตกลงเรื่องราคาขายหุ้น BMCL ทางผู้บริหารได้เสนอราคาขายให้แก่ภาครัฐ 3 บาทต่อหุ้น แต่บริษัทยังไม่ได้รับการติดต่อจากหน่วย งานของภาครัฐให้เข้าไปเจรจาตกลงเรื่องราคา
"ตอนนี้ยังไม่มีการเรียกเข้าพบกับหน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งเท่าที่ทราบก็มีเพียงหนังสือจากกระทรวงคมนาคมแจ้งให้ทาง CK ทราบเรื่องการขอซื้อหุ้นคืนของภาครัฐ ซึ่งเราก็พร้อมที่จะเจรจาหากภาครัฐพร้อม ส่วนข่าวที่ว่ามีหนังสือจากหน่วยงานของภาครัฐแจ้งแก่ ก.ล.ต. ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนเสนอซื้อหุ้น BMCL นั้น ทางเราก็ไม่ทราบว่า ก.ล.ต.ได้รับหนังสือฉบับนี้หรือยัง แต่ถ้าแผนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลง เชื่อว่าทางสำนักงานก.ล.ต.จะต้องมีหนังสือแจ้งมา"
สำหรับการดำเนินงานของ BMCL หลังเปิดให้บริการ และมีการปรับราคาค่าโดยสารเมื่อวันที่ 13 ส.ค. จำนวนผู้มาใช้บริการลดลงจาก 2.3 แสนคน ลง มาเหลือเฉลี่ยวันละ 1.6-1.8 แสนคน แต่ทางบริษัทก็ได้ค่าบริการเพิ่มขึ้น โดยบริษัทเชื่อว่าในภาวะที่ราคาน้ำมันแพงจะทำให้คนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินมากขึ้น และในอนาคตภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินก็จะมีร้านค้าปลีกมาตั้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งจูงใจให้มีผู้มาใช้บริการ BMCL เพิ่มขึ้น ปัจจุบันขบวนรถไฟฟ้าของ BMCL มี 19 หัว 5 โบอิ้ง สามารถรองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 2.5- 3 แสนคนต่อวัน
|
|
|
|
|