|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ภิรมย์" มั่นใจหุ้น EWC กลับเข้ามาเทรดหมวดปกติวันแรก 1 กันยายนนี้ คาดได้รับการตอบรับจากนักลงทุน ระบุโบรกเกอร์ฟันธง ราคาที่เหมาะสมอยู่ที่ 16-21 บาทต่อหุ้น โดยปีนี้ตั้งเป้ารายได้เพิ่ม 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้เกือบ 600 ล้านบาท แจงกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอนาคตสดใส หลังรัฐเตรียมลงทุนเมกะโปรเจกต์กว่า 5 แสนล้านบาท ใน 3 ปีข้างหน้า และโครงการที่จะเกิดขึ้น ในช่วง 9 ปีข้าง หน้า มีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาท ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ ที่จะทำรายได้เพิ่ม
นายภิรมย์ ปริยวัต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อีสเทิร์นไวร์ (EWC) เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 กันยายน EWC จะกลับเข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้นอีกครั้งในรอบ 7 ปี ในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง หลังแช่อยู่ในหมวดฟื้นฟูกิจการ (REHABCO) มานาน และคาดว่าหุ้น EWC น่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าราคาหุ้นจะอยู่ที่ระดับเท่าใด แต่จากการประมาณการของบริษัทหลักทรัพย์ซีมิโก้ ระบุว่าราคาที่เหมาะสมของ EWC อยู่ที่ระดับ 16-21 บาท/หุ้น โดยราคาปิดครั้งสุดท้ายของบริษัทอยู่ที่ 1.90 บาทต่อหุ้น ขณะที่มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) อยู่ที่ 10 บาทต่อหุ้น
จากการที่รัฐบาลมีนโยบายลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์ ด้านระบบขนส่งภายในประเทศ ซึ่งในเบื้องต้นตามแผน 3 ปีข้างหน้าจะมีการลงทุนกว่า 5 แสนล้านบาท ในโครงการขนส่งมวลชน เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 3.9 แสนล้านบาท โครงการทางด่วนเลียบชายฝั่ง สมุทรสาคร-ชะอำ 7 หมื่นล้านบาท โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 จำนวน 4 เส้นทาง 2.5 หมื่นล้านบาท สะพานข้ามแยกอุโมงค์และโทลเวย์ 1 โครงการ 7.8 พันล้านบาท และโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 4 โครงการ มูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ โครงการของภาครัฐที่จะเกิดขึ้นนับจากปี 2547-2556 มูลค่ารวมกว่า 2 ล้านล้านบาท เช่น โครงการขนส่งมวลชน 3.9 แสนล้านบาท โครงการรถไฟรางคู่ 9.6 หมื่นล้านบาท โครงการมอเตอร์เวย์ 6.3 แสนล้านบาท ทางด่วนยกระดับระยะที่ 2 และระยะที่ 3 จำนวน 5 หมื่นล้านบาท สะพานข้ามแยกอุโมงค์และโทลเวย์ 2.3 หมื่นล้านบาท โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ 1.32 แสนล้านบาท โครงการบ้านเอื้ออาทร 2.14 แสนล้านบาท โครงการระบบชลประทาน 4.33 แสนล้านบาท โครงการสาธารณูปโภค-ไฟฟ้า 3.16 หมื่นล้านบาท และโครงการของ ทศท 8.04 พันล้านบาท
สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในปี 2546 บริษัทมีรายได้รวมประมาณ 580 ล้านบาท โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 บริษัทมีรายได้รวม 356 ล้านบาท และในปีนี้จะมีกำไรจากรายพิเศษเสริมเข้ามานั่นคือกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ ประมาณ 200 ล้านบาท
"แม้ว่าครึ่งปีหลังธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะชะลอตัวลดลง แต่ 3 ปีจากนี้ ภาครัฐบาลยังเน้นการสร้างสาธารณูปโภคในวงเงิน 5 แสนล้าน ทำให้บริษัทเชื่อมั่นว่ามีแนวโน้มเติบโตในทางที่ดี" นายภิรมย์กล่าว
ส่วนแผนงานในอนาคต เขาระบุว่า EWC จะพยายามรักษาคุณภาพมาตรฐานการผลิตให้อยู่ในระดับที่สูง รวมทั้งมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ และหาช่องทางธุรกิจที่หลากหลาย โดยเน้นกลยุทธ์ราคาและการบริการหลังการขายเพื่อให้เกิดความพอใจของลูกค้า
นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมเพิ่มกำลังการผลิตลวดเหล็กแรงดึงสูงชนิดเส้นเดี่ยว (PC-WIRE) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาการลงทุนในเครื่องจักรอุตสาหกรรมซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณเครื่องละ 50 ล้านบาท โดยมีกำลังการผลิต 1.5 พันตันต่อปี ขณะเดียวกันบริษัทจะพยายามขยายบริษัทย่อยให้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นการกระจายความเสี่ยง และเพิ่มความแข็งแกร่งด้านผลประกอบการของบริษัทให้มากขึ้น โดยในอนาคตจะเห็นบริษัทมีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย แต่ยังมุ่งเน้นธุรกิจด้านวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากความชำนาญเฉพาะด้าน
ส่วนแผนงานในอนาคต บริษัทเตรียมลงทุนเพิ่มในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจก่อสร้าง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจครบวงจร ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 4.2 หมื่นตันต่อปี และรายได้หลักมาจากการผลิตลวดเหล็กแรงดึงสูงชนิดเส้นเดี่ยว (PC-WIRE) 55% โดยมีมาร์เกตแชร์ประมาณ 15-16% และกำลังการผลิต 3 แสนตันต่อปี แบ่งเป็นงานจากราชการประมาณ 60% และเอกชนประมาณ 15-20% ที่เหลือเป็นรายย่อย
|
|
|
|
|