Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2545
Double Standard             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 





"where were you hiding when the strom broke
when the rain began to fall
when the thunder and the lightning struck
and the rain and the four winds did howl"

นี่คือบทเพลงหนึ่ง ในอัลบั้มชุด Declaration ที่ออกในปี 1984 ของวง the alarm ที่สอดรับกับ คำถามว่า ทำไมต้องเป็นเริงชัย มะระกานนท์ คนเดียว ที่ถูกลงโทษ? ขณะที่คนอื่นหนีไปหลบซ่อนใต้ชายคา พรรคการเมือง ท่ามกลางพายุร้ายทางเศรษฐกิจ การเงินที่รุนแรงนับแต่ปิดสถาบันการเงินครั้งยิ่งใหญ่ และเปลี่ยนเป็นระบบลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540

ครั้งนี้ แบงก์ชาติทำหน้าที่กล่าวหา "อดีต ผู้ว่าการฯ" เริงชัย มะระกานนท์ ตาม พ.ร.บ. ความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โดยข้อสรุป ของคณะกรรมการความรับผิดฯ เมื่อ 30 พ.ย.2544 ว่ามีความผิดฐานประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเพียง คนเดียว เป็นแพะรับบาป ที่ต้องชดใช้ความเสียหาย 185,953 ล้านบาท หากชำระไม่ได้ต้องล้มละลายถูก ยึดทรัพย์!!

ข้อสรุปที่กล่าวโทษเริงชัยคนเดียว ทั้งๆ ที่ เศรษฐกิจขณะนั้นถึงขั้นฉิบหายอย่างถึงที่สุด เกิน กว่าผู้ว่าการแบงก์ชาติจะแก้ไขได้โดยลำพัง ถือว่าข้อ กล่าวหาประเภทนี้นอกจากจะเป็นการ "ฉลาดหลัง เหตุการณ์" แล้ว ยังเป็น Double standard ที่เลือก ปฏิบัติต่อคนรับผิดฯ อื่นๆ ต่างเกณฑ์กัน ตลอดจน มองข้ามกระบวนการตัดสินใจของรัฐ เกี่ยวกับการ ตัดสินใจเปลี่ยนเป็นระบบแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่ต้องอาศัยอำนาจ รมว.คลัง และนายกรัฐมนตรีร่วม ตัดสินใจ เปลี่ยนระบบลอยตัวค่าเงินบาท ที่ให้ผล ประโยชน์มหาศาลแก่ผู้รู้ด้วย

เกมการฆ่าเริงชัยที่ถูกทำเสมือนหนึ่ง "ผู้ก่อ การร้าย" มีความจริงที่เหลือเศษเล็กเศษน้อยไว้ผสม ปรุงแต่งเป็นเหตุผลให้สังคมยอมรับ แล้วฉีกคนคนนั้น ออกเป็นสองข้างให้เลือกตัดสินว่า เขาถูกหรือผิด โดย หันหลังให้กับศักดิ์และสิทธิของมนุษย์ที่จะสามารถ ป้องกันตัวเอง ตลอดจนผลของ "เกมของคนนอก" นี้ได้สร้างปัญหาต่อการทำงานของพนักงานในแบงก์ ชาติด้วย

น่าสังเกตว่า ช่วงเวลาในตำแหน่งของนัก การเมืองกับปัญหาบุคลิกภาพอ่อน-แข็ง ของผู้ว่า แบงก์ชาติและ รมว.คลัง มีผลต่อกัน ยิ่งนักการเมือง มีเวลาในตำแหน่งสั้นเท่าใด ธนาคารชาติกลับ มีอิสระทางการเมืองน้อยลงเท่านั้น...พวกเขา มักจะละเมิดนโยบายอนุรักษนิยมทางการเงิน โดยเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐบาลมากขึ้น เพื่อขยาย ฐานเลือกตั้งของตน ใครไม่สามารถตอบสนอง รัฐบาลได้ ก็ต้องลาออกหรือถูกปลดเพราะมาตรฐาน ไม่เข้าเกณฑ์ double standard

ในอดีต มีการปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติ เกิดขึ้น ขณะผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่ เช่นวันที่ 13 กันยายน 2527 ขุนคลัง สมหมาย ฮุนตระกูล ปลด นุกูล ประจวบเหมาะ ซึ่งมีบุคลิกแข็งแบบ ยอมหักไม่ยอมงอ ด้วยเหตุว่าละเลยการตรวจสอบ จนทำให้เกิดวิกฤติการณ์เอเชียทรัสต์ล้ม นุกูล ไม่มีสิทธิรับบำนาญ (จากเรื่อง "เมื่อคนหัวรั้น เจอคนบ้าเลือด เลือดก็เลยท่วมธนาคารชาติ" ฉบับที่ 13 กันยายน 2527) แต่อีก 21 วันต่อมา คลังประกาศลดค่าเงินบาทลง 14.8% ในวันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2527

"การที่ประเทศไทยต้องลดค่าของเงิน ก็คือ ที่ประเทศไทยถูกทำโทษจากกองทุนการ เงินระหว่างประเทศนั่นเอง ปัญหามีว่า มีใครตัวไหน บ้างที่ทำให้ประเทศต้อง "ถูกทำโทษ" ในครั้งนี้?" นี่คือความเสียหายที่ถูกทวงถามความรับผิดชอบ ที่ตีพิมพ์ในเรื่อง "ทำไมจะต้องมาลงที่สมหมายคน เดียว?" (ฉบับที่ 15 พฤศจิกายน 2527)

ต่อมาปี 2533 ยุคแบงก์ชาติตกอับเมื่อ รมว. คลัง ประมวล สภาวสุ ปลด กำจร สถิรกุล เพราะเหตุ การเปิดสาขาแบงก์ต่างประเทศและปี 2539 รมว.คลัง สุรเกียรติ์ เสถียรไทย สั่งปลด เอกกมล คีรีวัฒน์ จาก ตำแหน่งรองผู้ว่าการฯ หลังลาออกจากเลขาธิการ ก.ล.ต. ในกุมภาพันธ์ 2539 ด้วยข้อหา "มีความผิด ทางราชการ" ตาม พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ ม.316 ที่อ้าง ว่าเปิดเผยข้อมูลลับให้กับบุคคลภายนอก จนเกิดผล เสียหายต่อสถาบันการเงินและระบบการเงิน (จาก เรื่อง "ใครจะไปก่อนกัน?" ในฉบับที่ 149 กุมภาพันธ์ 2539)

"เมื่อโดนดำเนินคดีก็ต้องสู้ ผมก็พร้อมจะ พิสูจน์ ก็ว่ากันมาเลยเป็นกรณีๆ ไป ผมจะชี้แจงเลย ว่า แต่ละเรื่องใช่หรือไม่ใช่ ที่เอาความลับราชการ มาเปิดเผยเรื่องมันลับที่ไหนกัน ส่วนใหญ่ผมอ่านมา จากในหนังสือชี้ชวนทั้งนั้น"

จากนั้นก็ถึงคิว วิจิตร สุพินิจ ที่ชิงลาออกตาม มาก่อนที่นายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา จะเปลี่ยน ตัว รมว. คลัง สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ล่าสุด เมื่อ 29 พฤษภาคม 2544 "กรณีปลดหม่อมเต่า" ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เนื่องจากขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบายการเงิน และดอกเบี้ย

บทเรียนจากความขัดแย้งในอดีตดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงกรณีศึกษาว่าด้วยอำนาจถ่วงดุล ระหว่างรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย แม้ว่า ความระมัดระวังการปลดผู้ว่าแบงก์ชาติ ทำให้ยุค หลังๆ นายกรัฐมนตรีเลือกรัฐมนตรีคลังที่มีภูมิหลัง เป็นเทคโนแครตทางการเงินการคลังเข้ามา เช่น วีรพงษ์ รามางกูร, สุธี สิงห์เสน่ห์, ธารินทร์ นิมมาน เหมินท์ และล่าสุดคือ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

ขณะที่แบงก์ชาติยุคหม่อมเต่าได้นำ "คน นอก" มาเสริมทีมตั้งแต่ระดับผู้ช่วยผู้ว่าการ ผู้อำนวย การหลายตำแหน่ง และปรับโครงสร้างระบบใหม่ ในแบงก์ชาติ แต่สุดท้ายหม่อมเต่าก็ถูกปลด คนที่เข้า มาแทนที่คือ "หม่อมอุ๋ย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ที่มี บุคลิกนักประสานสิบทิศ พลิกแพลงและยืดหยุ่น ที่ถูก คาดหวังบทบาทการทำงานจะเป็นไปตามมาตรฐาน เดียวกับรัฐบาล มิเช่นนั้นมาตรฐาน double standard อาจถูกนำมาตีความเมื่อเกิดการลาออกหรือถูกปลดอีก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us