Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 สิงหาคม 2547
เกณฑ์ตั้งสำรองธปท.พ่นพิษฉุดตลาดหุ้นไทยร่วง 7.67 จุด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารทหารไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารทหารไทย
ธาริษา วัฒนเกส
Banking




เกณฑ์ตั้งสำรองแบงก์ชาติป่วน ดัชนีหุ้นแบงก์ฉุดตลาดหุ้นร่วงระนาว 7.67 จุด ขณะที่แบงก์ชาติออกมายืนยันเกณฑ์ใหม่ไม่กระทบฐานะการเงินแบงก์พาณิชย์แน่นอน เหตุตั้งสำรองไว้สูงแล้วและมีการปล่อยสินเชื่อด้วยความระมัดระวังหวั่นซ้ำรอยกรุงไทย ทางด้านผู้บริหารแบงก์กรุงไทยออกโรงชี้แจงมีลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ ธปท. 8,000 ล้านบาท และดำเนินการฟ้องร้องกว่าครึ่งแล้ว มั่นใจแก้ปัญหาจบตามเกณฑ์ภายใน 1 ปี เชื่อมั่นไม่ กระทบแผนออกหุ้นกู้หมื่นล้าน

นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่ ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนไปยังธนาคารพาณิชย์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยกำหนดให้กันสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ที่มีอายุมากกว่า 2-4 ปีเพิ่มขึ้น และลดมูลค่าหลักประกันที่นำมาหักมูลหนี้ก่อนการกันสำรองหนี้เอ็นพีแอลนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะของธนาคารพาณิชย์

เนื่องจากมูลค่าที่ต้องกันสำรองเพิ่มเป็นเม็ดเงินที่ไม่มาก และก่อนที่จะนำข้อกำหนดที่ปรับปรุงใหม่ออกใช้ ทาง ธปท.ได้ชี้แจงไปยังสถาบันการเงินแล้ว ทำให้มีการเตรียมพร้อมที่จะสำรองเพิ่มเพื่อรองรับเกณฑ์ใหม่ และมูลค่าที่ต้องกันสำรองเพิ่มก็เป็นเงินจำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม เกณฑ์กันสำรองหนี้เอ็นพีแอลที่ออกมาเพิ่มเติมในครั้งนี้จะไม่เป็นปัญหาต่อสินเชื่อที่ปล่อยใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์มีความระวังในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และหากสินเชื่อที่ปล่อยไปแล้วกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอลก็ยังมีเวลาที่จะแก้ไขอีกประมาณ 2 ปี

"แบงก์พาณิชย์น่าจะระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการปล่อยสินเชื่อแต่ละครั้งทางแบงก์ต้องมีการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน เพราะมีตัวอย่างในกรณีธนาคารกรุงไทยให้เห็นกันแล้ว" นางธาริษา กล่าว

ความเคลื่อนไหวตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (30 ส.ค.) ดัชนีผันผวนอยู่ในกรอบแคบๆ สามารถขึ้นไปยืนในแดนบวกได้ในช่วงเปิดตลาด ก่อนจะปรับตัวลดลงปิดที่ระดับ 612.45 จุด ลดลง 7.67 จุด หรือ 1.24% ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดของวัน โดยระหว่างวันขึ้นไปทดสอบที่จุดสูงสุดที่ระดับ 620.58 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเพียง 9,703.60 ล้านบาท

กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด คือ พลังงาน ธนาคาร และสื่อสาร ด้านนักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิเพียง 40.16 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 295.73 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 255.12 ล้านบาท

นางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ นักวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอดทั้งวันนี้ประเด็นสำคัญที่เข้ามากระทบต่อบรรยากาศการลงทุนเพราะมีข่าวที่กระทบในกลุ่มธนาคารพาณิชย์เรื่องการปรับเกณฑ์การตั้งสำรองหนี้ และการจัดชั้นคุณภาพหนี้ ทำให้ความกังวลในเรื่องดังกล่าวฉุดให้นักลงทุน เทขายหุ้นในกลุ่มธนาคารออกมาอย่างหนัก โดยดัชนี กลุ่มธนาคารปิดที่ 208.61 จุด ลดลง 5.64 จุด หรือ 2.63%

ทั้งนี้ แม้ว่าการใช้เกณฑ์ใหม่จะทำให้ในหลายธนาคารต้องมีการตั้งสำรองหนี้สูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อรายได้ของธนาคาร แต่ทั้งนี้ธนาคารหลายแห่งมีการตั้งสำรองหนี้ไว้เกินเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งไว้ จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบมากต่อรายได้ของธนาคาร

ด้านหุ้นธนาคารที่มีการปรับลดลงอย่างมากเมื่อวานนี้ BBL ปิดที่ 90.50 บาท ลดลง 3.00 บาท หรือ 3.21%, KTB ปิดที่ 8.00 บาท ลดลง 0.20 บาท หรือ 2.44%, SCB ปิดที่ 45.75 บาท ลดลง 1.25 บาท หรือ 2.66%, BAY ปิดที่ 10.40 บาท ลดลง 0.60 บาท หรือ 5.45%

นายพงศธร สิริโยธิน รองกรรมการผู้จัดการ และรักษาการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)(KTB) กล่าวว่า หนังสือเวียนเกี่ยวกับเกณฑ์การเพิ่มสำรองจัดชั้นหนี้สงสัยจะสูญ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้ส่งมานั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ธนาคารพาณิชย์รับทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว โดยธนาคารได้มีการเตรียมพร้อมในการตั้งสำรองและเร่งที่จะดำเนินการฟ้องร้องลูกหนี้ทุกรายหากไม่สามารถ ตกลงกันได้ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ธนาคารจะฟ้องร้องลูกหนี้ครบทุกราย

สำหรับลูกหนี้ที่ค้างชำระเกินกำหนดระยะเวลา ที่ ธปท.กำหนดนั้น และธนาคารต้องฟ้องเพื่อดำเนินคดีเมื่อต้นปี มียอดรวมอยู่ประมาณ 8,000 ล้านบาท โดยธนาคารได้ดำเนินการฟ้องร้องลูกหนี้ไปแล้วประมาณ 4,000 ล้านบาท ทำให้ไตรมาสแรกของปีนี้ ธนาคารเหลือลูกหนี้ที่ต้องดำเนินการฟ้องร้องประมาณ 5,000 ล้านบาท และสิ้นไตรมาสแรกธนาคาร ได้ฟ้องร้องลูกหนี้เพิ่มเติมอีก 3,000 ล้านบาท พร้อมทั้งได้ตั้งสำรองเพิ่มเติมอีก 2,500 ล้านบาท ดังนั้นเกณฑ์ของ ธปท.ที่จะนำมาใช้จึงไม่มีผลกระทบต่อการตั้งสำรองและเงินกองทุนของธนาคาร ซึ่งมั่นใจว่า เงินกองทุนที่ธนาคารมีอยู่ในขณะนี้เพียงพอต่อการสำรองตามเกณฑ์ ธปท.กำหนดแน่นอน

"สาเหตุที่ยังมีลูกหนี้ประเภทดังกล่าวอยู่นั้นเพราะส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายย่อยอยู่ต่างจังหวัด จึง ต้องใช้ระยะเวลาในแต่ละขั้นตอน ซึ่งมั่นใจว่าภายใน 1 ปี ขั้นตอนทุกอย่างจะจบตามเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนด ที่จริงแล้วแบงก์ได้เตรียมพร้อมไว้ตลอดเวลา หนังสือเวียนครั้งนี้เป็นเพียงกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนเท่า นั้นแต่ไม่ได้เปลี่ยนหลักเกณฑ์จึงไม่มีผลกระทบต่อธนาคาร"

จากกรณีที่ ธปท.ได้สั่งให้ธนาคารตั้งสำรองเพิ่มเติม เชื่อว่าไม่น่ามีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยเฉพาะกระทบต่อหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ธนาคารจะออกเพิ่มเติมประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยยังคงมีแผนการออกในช่วงเดือนตุลาคมนี้เหมือนเดิม พร้อมทั้งมั่นใจว่าจะสามารถขายหมด เพราะสภาพคล่องในระบบยังคงมีสูง ทำให้นักลงทุนมีความต้องการที่จะลงทุนประเภทหุ้นกู้ด้อยสิทธิอีกมาก

นายสมหมาย ภาษี ประธานกรรมการ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)(TMB) กล่าวว่า ธนาคารไม่มีปัญหาในการตั้งสำรองฯ เพิ่มเติม เนื่องจากที่ผ่าน มาธนาคารได้ตั้งสำรองฯ เกินกว่าเกณฑ์ ธปท. กำหนดไว้มาก โดย ณ วันที่ 30 มิ.ย. ได้ตั้งสำรองแล้ว 26,392 ล้านบาท มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 21,859 ล้านบาท ส่วนกรณีที่ยอดเอ็นพีแอลของธนาคารปรับเพิ่มขึ้นมา 2 ไตรมาสติดต่อกัน จาก 9.88% เป็น 11.10% เพราะต้องการเพิ่มความเข้มข้นในการจัดชั้นหนี้สงสัยจะสูญตามเกณฑ์ของ ธปท. ซึ่งหลังจากนี้จะไม่มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นอีกแล้ว

ก่อนหน้านี้ นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า ธนาคารไม่มีนโยบายตั้งสำรองเพิ่ม ตามเกณฑ์จัดชั้นการตั้งสำรองเอ็นพีแอลใหม่ของทางการ โดยธนาคารเลือกใช้วิธีเร่งเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ให้รวดเร็วขึ้นแทน ซึ่งหากหาข้อตกลงร่วมกันไม่ได้ ก็จำเป็นต้องส่งฟ้องศาลดำเนินการบังคับคดีต่อไป โดยขณะนี้ธนาคารมีเอ็นพีแอลกว่า 33,000 ล้านบาท หรือประมาณ 11% ของยอดสินเชื่อรวม และได้ส่งฟ้องถึงกรมบังคับคดีแล้ว 29,000 ล้านบาท โดยจำนวนที่ส่งฟ้องนี้ศาลได้พิจารณาเสร็จและอยู่ในขั้นตอนขายทอดตลาดถึง 60% หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ที่ผ่านมาได้ตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญถึง 80%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us