Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543
ลงทุน "วอร์แรนต์"อย่างไร ไม่ให้เสี่ยง             
 


   
search resources

Investment




สภาวะการซื้อขายวอร์แรนต์เริ่มคึกคักขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อมีวอร์แรนต์หลายตัวจ่อคิวเข้ามาซื้อขายเพิ่มขึ้น จึงกลายเป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่ง ที่บริษัท จดทะเบียนหลายแห่งนิยมนำมาใช้ใน การแก้ไขปัญหาของบริษัท

ไม่ว่าจะเป็นวอร์แรนต์เป็นของแถม ที่มีค่า และเพิ่มแรงจูงใจให้แก่นักลงทุนทำให้การระดมทุนทำได้ง่าย และบริษัทก็ยังไม่ต้องเพิ่มจำนวนหุ้นในทันที การออกวอร์แรนต์แทนเงินปันผลหรือโบนัส และการใช้วอร์แรนต์ เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ก็ตาม

แม้ว่าวอร์แรนต์จะเป็นที่คุ้นเคย และไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับนักลงทุนแต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะรู้จักวอร์แรนต์เพียงแค่ "มีการซื้อขาย ที่ขึ้นลงได้รวดเร็วกว่าหุ้นตัวแม่ มีมาร์จินสูงกว่า และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเท่านั้น "

โดยพื้นฐาน วอร์แรนต์เป็นสิ่งอันตรายอย่างยิ่ง เพราะวอร์แรนต์จะมีผลตอบแทนดีก็ต่อเมื่อภาวะตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้น (bullish market)

"นักลงทุนทั้งไทย และต่างประเทศไม่สนใจวอร์แรนต์เพราะสภาพคล่องไม่มี" ธนวัฒน์ ปัจฉิมกุล รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.ดีบีเอสไทยทนุ กล่าว

ถ้ามองกลับไปยังกระดาน วอร์แรนต์ในช่วงนี้นักลงทุนแทบไม่อยากมองว่า วอร์แรนต์ ที่ตนเองลงทุนไปนั้น มีมูลค่าเหลือ ที่ระดับเท่าไร เพราะในขณะนี้จะเห็นได้ว่าราคาหุ้นมีราคาต่ำกว่าราคาใช้สิทธิแทบทั้งสิ้น และหากว่าสภาพตลาดหุ้นเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ โอกาส ที่จะทำกำไรแทบจะมองไม่เห็น

วอร์แรนต์ ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ Naked Warrant เช่น วอร์แรนต์ ที่ใช้ในการซื้อหุ้นสามัญ ที่บริษัทออกจำเป็นต้องออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ เพื่อรองรับการใช้สิทธิ "ดังนั้น การใช้สิทธิของวอร์แรนต์จึงทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นกำไรต่อหุ้นลดลง ซึ่งก็คือ มี dulution" ธนวัฒน์อธิบาย

Covered Warrant หรือวอร์แรนต์ ที่บริษัทผู้ออกได้มีหุ้นแม่อยู่ในมือแล้ว เมื่อผู้ถือวอร์แรนต์ใช้สิทธิบริษัทไม่ต้องออกหุ้นใหม่ ดังนั้น จำนวนหุ้นจึงไม่เพิ่มขึ้น กำไรต่อหุ้นจะไม่เปลี่ยนแปลงหรือไม่มี dulution

สำหรับ Derivative Warrant หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จะต่างจากวอร์แรนต์โดยทั่วไปคือ จะให้สิทธิซื้อหุ้นของบริษัทอื่น ที่มิใช่บริษัทผู้ออกวอร์แรนต์ การออก Derivative Warrant จะไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการระดมทุน และไม่มีผลกระทบต่อกำไรต่อหุ้นเนื่องจากบริษัทผู้ออกวอร์แรนต์จะส่งมอบหุ้น ที่มีอยู่แล้วหรือซื้อหุ้น ที่อยู่ในตลาดมาส่งมอบให้

"ดังนั้น Derivative Warrant จึงจัดอยู่ใน Covered Warrant ด้วย" ธนวัฒน์บอก

สำหรับมูลค่าของวอร์แรนต์จะประกอบไปด้วยมูลค่าการใช้สิทธิ (in-trinsic value) และมูลค่าตามเวลา (time value) เป็นมูลค่าของวอร์แรนต์ ที่ขึ้นอยู่ กับอายุ ที่เหลือ โดยหากวอร์แรนต์มีระยะเวลา ที่จะใช้สิทธิเหลืออยู่มาก มูลค่าของเวลาจะสูง แต่หากมีอายุคงเหลือสั้น มูลค่าของเวลาก็จะต่ำด้วย

ปัจจัย ที่ใช้ในการพิจารณาว่า วอร์แรนต์ ที่จะลงทุนนั้น น่าสนใจหรือไม่สิ่งสำคัญคือ การมองปัจจัยพื้นฐานของตัวแม่ เพราะการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นแม่ในการเลือกการลงทุนในวอร์แรนต์ จะต้องมองในเรื่องของภาวะธุรกิจ ผลประกอบการ และแนวโน้มในอนาคตของตัวแม่เป็นหลัก อีกทั้งเงินปันผลก็มีอิทธิพลต่อวอร์แรนต์ด้วย

เพราะทุกครั้ง ที่บริษัทจ่ายเงินปัน ผล ราคาหุ้นแม่จะลดลง โอกาส ที่มูลค่าของวอร์แรนต์จะเพิ่มสูงขึ้นก็มีน้อยเช่นกัน ดังนั้น การจ่ายเงินปันผลจะเป็นปัจจัย ลบต่อราคาวอร์แรนต์ " ที่สำคัญผู้ถือวอร์แรนต์ไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลเหมือนกับผู้ถือหุ้นแม่" ธนวัฒน์บอก

นอกจากนี้ตัวแปร ที่บ่งบอกถึงความน่าสนใจ และกำหนดความสามารถในการทำกำไรของวอร์แรนต์ คือ ราคา ที่ใช้สิทธิหรือราคาแปลงสภาพ (exercise price) หากราคาหุ้นแม่เพิ่มสูงขึ้น มูลค่า ของวอร์แรนต์ก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย แต่ราคาใช้สิทธิ ที่สูงจะเป็นปัจจัยลบต่อราคา ของวอร์แรนต์ เช่น TISCO-W ที่มีราคาหุ้นแม่อยู่ ที่ 14.75 บาท และราคาใช้สิทธิ อยู่ ที่ 11.2 บาท สมมติว่าราคาใช้สิทธิเป็น 12.2 บาท มูลค่าการใช้สิทธิจะลดลง จาก 3.55 บาท เป็น 2.55 บาทตามราคา ใช้สิทธิเพิ่มขึ้น ในทำนองกลับกันหากราคาใช้สิทธิต่ำลงมูลค่าวอร์แรนต์ก็สูงขึ้น

ระยะเวลาในการใช้สิทธิ (time to maturity) ซึ่งหากระยะเวลาการใช้สิทธิยิ่งเหลือมากโอกาส ที่ราคาหุ้นแม่จะเพิ่มสูงขึ้นก็มีมาก เช่น กรณีของ S-ONE -W ที่จะหมดอายุกลางเดือนกันยายนนี้ โอกาส ที่ราคาหุ้นแม่ ซึ่งอยู่ ที่ 4.2 บาท จะเพิ่มขึ้นมาถึงราคาใช้สิทธิ ซึ่งอยู่ ที่ 42.7 บาท นับว่าน้อยมาก ในกรณีนี้นักลงทุน ที่ถือวอร์แรนต์ในราคา 0.3 บาทก็มีโอกาสสูญเงินทั้งหมดไป หาก S-ONE-W หมดอายุลงโดยที่ราคาหุ้นแม่ไม่สามารถขึ้นสูงกว่าราคาใช้สิทธิได้

จำนวนวอร์แรนต์ ที่เหลือ (remaining warrants) หากมีเหลืออยู่มาก เมื่อมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นแม่จะทำให้จำนวนหุ้นแม่เพิ่มสูงขึ้น กำไรสุทธิต่อหุ้น ก็จะลดลงหรือเกิด dulution เพราะถ้าราคาหุ้นแม่ลดลงจะทำให้ราคาวอร์แรนต์ ลดลงไปด้วย นั่นหมายความว่าโอกาส ที่ นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนมี 3 กรณี คือ ถ้าราคาหุ้นแม่ต่ำกว่าราคาแปลงสภาพมูลค่า ที่แท้จริง (intrinsic value) ของวอร์แรนต์จะเป็น "ศูนย์" คือ จะขาด ทุนทันทีหากแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ใคร่แปลงสภาพ กรณีนี้จะขาดทุนเท่ากับต้นทุน ที่ใช้ในการซื้อวอร์แรนต์ ส่วนถ้าราคาหุ้นแม่เท่ากับราคา แปลงสภาพมูลค่า ที่แท้จริงจะเท่ากับ "ศูนย์" และจะขาดทุนเท่ากับกรณีแรก ส่วนกรณีสุดท้าย ถ้าราคาหุ้นแม่สูงกว่าราคาแปลงสภาพ กรณีนี้จะมีการแปลงสภาพแต่จะได้กำไรหรือขาดทุนจะต้องคำนึงถึงต้นทุนของวอร์แรนต์ด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us