Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2547
Big Idea             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





ผมอยากเห็นองค์กรธุรกิจที่เข้าใจ "คุณค่าระดับโลก" คิดและทำบางสิ่งบางอย่างที่ยิ่งใหญ่ขึ้น

เอาเป็นว่า 3 บริษัทที่นิตยสารฝรั่ง (BusinessWeek) ว่าเป็นกิจการใน 1,000 อันดับแรกของโลกนี้ก็แล้วกัน ปตท. (อันดับที่ 498) เอไอเอส (อันดับที่ 840) และเครือซิเมนต์ไทย (อันดับที่ 846) ซึ่งวัดจากสิ่งที่เรียกว่า Market Value โดยคำนวณจากราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งว่ากันว่านักลงทุนจะให้ความสำคัญอนาคตของบริษัท สำหรับผมยังมองว่าทั้งสาม ยังต้องคิดการอะไรที่ใหญ่กว่านี้ แล้วจะมีอนาคตมากกว่านี้แน่

ปตท.ใหญ่โตเพราะผูกขาดธุรกิจการนำเข้าน้ำมัน เพื่อการบริโภคของประเทศที่มีแนวโน้มสูงทั้งความต้องการและราคา ขณะเดียวกันธุรกิจนี้ ระดับโลกมีอิทธิพลมากและมากขึ้นในเวลานี้ และเรื่องที่ผมเสนอก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ปตท.มากที่สุด ส่วนเอไอเอส โตเพราะคนไทยใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อสาร ที่ไม่ใช่ของตนเอง เป็นองค์ประกอบของธุรกิจที่เติบโตที่สุดในเมืองไทย เช่นเดียวกับเครือซิเมนต์ไทยที่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดส่วนใหญ่ในประเทศ เช่น หิน ดิน แร่ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ มาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ไม่มากนัก จากเครื่องจักรและเทคโนโลยีของต่างชาติ

ผมอยากเห็นทั้งสามบริษัทร่วมมือกันคิดสร้าง "คุณค่าระดับโลก" ที่มีความหมายมากขึ้น โดยเข้าสู่ธุรกิจใหม่ที่เมืองไทย มี "ความพร้อม" มากที่สุด นั่นคือธุรกิจพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อสร้างพลังงานหลักที่ใช้ในประเทศ เพื่อทดแทนน้ำมัน ขณะเดียวกัน สร้างธุรกิจระดับโลกที่มีตลาดที่กว้างขวาง สำหรับประเทศที่มีแดด เฉลี่ยเกินวันละ 6 ชั่วโมง

ความคิดนี้ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน ความจริงเรื่องนี้คิดกันอยู่แล้ว ด้วยความคิดที่ไม่เข้าใจ "คุณค่าระดับโลก" จริงๆ เป็นกำแพง เพราะไปคิดว่าเทคโนโลยีนี้เป็นของตะวันตก ราคาแพง ไม่คุ้มค่า เป็นความคิดที่ตกค้างที่ไม่เชื่อมั่นตนเอง หวังพึ่งพิงตะวันตกอันเป็นผลพวงมาจากยุคการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้าในอดีตที่ล้าหลังไปแล้ว

แสงอาทิตย์เป็นทรัพยากรธรรมชาติ เป็นวัตถุดิบไม่มีต้นทุน ที่ไม่มีระบบสัมปทานมีไม่จำกัด และมีอยู่อย่างคงเส้น คงวาที่สุด แต่ความจริงอีกด้านหนึ่ง ประเทศที่มีแสงแดดส่วนใหญ่ไม่เข้าใจจุดแข็งของตนเอง ไม่ได้เป็นเจ้าของ สิทธิบัตร หรืองานวิจัยเกี่ยวกับพลังงานจากแสงอาทิตย์เลยก็ว่าได้ ทั้งยัง มีความหวังลมๆ แล้งๆ ว่า ประเทศที่มีแสงแดดน้อยและมีอิทธิพลในอุตสาหกรรมน้ำมัน สักวันจะหันมาพัฒนาและวิจัยเพื่อสร้างพลังงานแสงแดดในราคาถูกให้กับประเทศที่มีแสงแดดมาก

แค่เปลี่ยนความคิดเสียใหม่ ยุทธศาสตร์ว่าด้วยพลังงานของโลกจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ด้วยการลงทุนจำนวนมาก ความจริงประเทศไทย ธุรกิจไทย สามารถระดมทุนนับหมื่นล้านได้ ไม่ใช่เรื่องยากแล้ว ในช่วง 10 ปี มานี้ คนไทยได้พิสูจน์ในสังคมธุรกิจระดับโลก เห็นว่าระดมเงินจากทั่วโลกได้เก่ง และที่ไม่ค่อยเก่ง ก็คือการใช้เงินต่างหาก การระดมทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเรื่องนี้ มีเป้าหมายอย่างชัดเจนที่สุด เพื่อความเป็นเจ้าของเทคโนโลยีพลังงานจากแสงอาทิตย์

ผมคิดต่ออีกว่า หากจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยชินวัตรด้วย ก็เป็นการดีขึ้นไปอีก

สถาบันใหม่จะกว้านเช่าหรือซื้อเทคโนโลยี หรือสิทธิบัตรว่าด้วยพลังงานจากแสงแดด จากทั่วโลกมาให้มากที่สุด จากนั้นจะจ้างนักวิทยาศาสตร์ที่ชำนาญเรื่องนี้ในโลกมาทำงานด้านวิจัยและพัฒนาอย่างขนานใหญ่ ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ของไทยที่มีอยู่เดิมและสร้างขึ้นมาใหม่โดยผ่านมหาวิทยาลัยชินวัตร หากใครได้อ่านหนังสือ (ไม่ใช่ภาพยนตร์) เรื่อง A Beautiful Mind จะเข้าใจว่า สหรัฐฯ เติบโตหลังสงครามโลกครั้งที่สองในเรื่องเทคโนโลยี เพราะมีเงินจ้างนักวิทยาศาสตร์มาจากยุโรป (รวมทั้งไอน์สไตน์ด้วย) มาสอนหนังสือ และทำงานในสถาบันต่างๆ อย่างมากมาย

จากนั้นผมเชื่อว่าใช้เวลาไม่มากจนเกินฝัน สถาบันไทยแห่งนี้จะเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและสินค้าที่ว่าด้วยการสร้างพลังงานจากแสงแดดที่เหมาะสมกับประเทศที่มีแดดขึ้นมาได้

การบริหารโครงการนี้ มิใช่ศาสตร์การบริหารชั้นสูง ที่คนไทยทำไม่ได้แต่อย่างใด

ในที่สุดอุปกรณ์เหล่านี้จะผลิตโดยโรงงานที่ไหนในโลกก็ได้ ที่ตอบสนองความต้องการพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับครัวเรือน กิจการระดับกลางและเล็กเป็นต้นไป ที่สำคัญตอบสนอง แนวคิดใหม่ในอนาคต (ซึ่งความจริงคือแนวคิดเก่าในอดีต) ในการบริหารพลังงานของครัวเรือน หรือกิจการ โดยผู้ใช้เองอย่างอิสระ ไม่ผูกพันกับเครือข่ายธุรกิจขนาดใหญ่ เช่นพลังงานน้ำมันในปัจจุบัน จนกลายเป็นความเสี่ยงที่มีมากขึ้นๆ

ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เป็นไอเดียเชิงธุรกิจ เพื่อตอบสนอง ตลาดฐานล่างที่กว้างใหญ่อย่างยั่งยืน ในเชิงอุดมคติจริงๆ

ผมเชื่อว่าเราทำได้ และที่สามารถสร้างจุดแข็งของสังคมไทยขึ้นชั่วเวลาไม่นานนัก เพื่อไม่ต้องตามแก้ปัญหากันวันต่อวันอย่างทุกวันนี้

หากจำเป็นผมจะขยายความเรื่องนี้อีก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us