Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2547
พายุใหญ่หลังผีเสื้อกระพือปีก             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 





ผมเพิ่งกลับจากงานเปิดศูนย์ประชุมและนิทรรศการแห่งใหม่ที่โกลด์โคสต์ ซึ่งมีชื่อยาวเหยียดว่า Gold Coast Convention and Exhibition Centre โดยในงานนี้มีบริษัทต่างๆ มาเปิดบูธแนะนำบริษัทและสินค้ากันอย่างเอิกเกริก

โกลด์โคสต์และเมืองริมฝั่งทะเลด้านตะวันออกของออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐควีนส์ แลนด์ไม่ห่างจากเมืองบริสเบนซึ่งเป็นศูนย์กลาง ของรัฐเท่าไรนัก ถือเป็นเขตพื้นที่ที่กำลังเจริญเติบโตในทุกๆ ด้าน โดยรัฐควีนส์แลนด์ทางด้าน ตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเติบโตของประชากรสูงที่สุด รวมถึงการเติบโต อย่างก้าวกระโดดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วย

ผมยังจำบทความแรกที่ผมเขียนถึงออสเตรเลียได้ ผมตั้งชื่อว่า "ผีเสื้อกระพือปีกที่ออสเตรเลีย" ปีที่แล้ว วันนั้นผมมาถึงออสเตรเลียใหม่ๆ พร้อมๆ กับการกระพือปีกของผีเสื้อ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงมาก ปริมาณความต้องการบ้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ สาเหตุสำคัญของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งก่อให้เกิดอุปสงค์ที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว อุปทาน ของบ้านที่เติบโตไม่ทันช่วยปั่นราคาบ้านและที่ดินให้สูงขึ้นเกินความเป็นจริง

นอกจากนี้ การกำหนดภาษีสำหรับการซื้อขายบ้านใหม่รวมถึงนโยบายของรัฐบาลรัฐนิวเซาต์เวลส์ซึ่งเป็นรัฐศูนย์กลางของออสเตรเลียที่ควบคุมการใช้ที่ดินเพื่อการซื้อขายส่งผลต่อราคาของซื้อขายบ้านด้วยเช่นกัน

เศรษฐีใหม่เกิดขึ้นมากมายทั่วประเทศออสเตรเลียภายใต้การเก็งกำไรของอสังหาริมทรัพย์

เช่นเดียวกับการปล่อยสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้าน ซึ่งเริ่มต้นจากการลดกฎเกณฑ์ทาง การเงินในทศวรรษ 1980 โดยเฉพาะในปี 1988 ที่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ใหม่ในระบบธนาคารที่ให้ธนาคารปล่อยกู้ได้เพียง 12.5 เท่าของเงินทุนที่มีอยู่ แต่สามารถปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ซื้อบ้านได้มากถึง 25 เท่าของฐานเงินทุนที่มี

นอกจากนี้ การพัฒนาของเครื่องมือทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ส่งผลให้ธนาคารสามารถขายใบจำนองบ้านที่ลูกค้าของตนจำนองไว้ให้กับสถาบันการเงินอื่นๆ ซึ่งรวมถึงสถาบันการเงินต่างประเทศด้วย

จากปี 1989 ถึงปี 2002 แนวโน้มดอกเบี้ยของออสเตรเลียจึงลดลง ดอกเบี้ยการซื้อบ้านก็ลดลง ความสามารถในการซื้อบ้านของผู้บริโภคจึงเพิ่มขึ้น

นิตยสาร BRW รายงานสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในหลายๆ เมืองหลักของออสเตรเลียไว้ในฉบับกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยกล่าวถึงซิดนีย์และเมลเบิร์นซึ่งเป็นเมืองหลักของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่นี่ว่า ราคาบ้านและอพาร์ต เมนต์เริ่มลดลงแล้ว หรืออย่างน้อยอัตราการเพิ่มก็ลดลง และคาดการณ์ว่าราคาจะลงมาก ขึ้นโดยเฉพาะถ้ามีปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงการเก็บภาษีที่ดินของรัฐนิวเซาต์ เวลส์เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักนักลงทุนออกจากตลาด ซึ่งมีส่วนแบ่งมากถึง 1 ใน 3 ของการค้าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด

บริสเบนเป็นจุดที่นิตยสาร BRW รายงานว่ามีผลประกอบการดีที่สุด และบ้านใน บางพื้นที่ในเขตชานเมืองราคาเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% เทียบกับปีกลาย อย่างไรก็ตาม ปริมาณ อพาร์ตเมนต์อาจจะมากเกินความต้องการ โดยเฉพาะในส่วนใจกลางเมือง ซึ่งจะทำให้อัตราการขายลดลงได้ แต่นักวิเคราะห์ก็คาดการณ์ในสองลักษณะว่า ราคาและความต้องการอาจจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงปี 2006

ในขณะที่บางส่วนเห็นว่าราคาจะเริ่มลดลงในปีนี้หรืออย่างน้อยราคาที่เพิ่มอย่างรวดเร็วอย่างในปีกลายไม่น่าจะเพิ่มอย่างต่อเนื่องได้ในปีนี้ แต่ปัจจัยเรื่องนักลงทุนจากนิวเซาต์เวลส์ ที่จะหันมาลงทุนในรัฐควีนส์แลนด์แทนก็ไม่น่าจะมองข้ามไปได้

ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองอะดีเลด และโฮบาร์ตทางตอนใต้ เพิร์ธทางตะวันตก แคนเบอร์รา เมืองหลวง และดาร์วินทางตอนเหนือ จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือคงตัว แต่อัตราการขายไม่น่าจะเพิ่มอย่างมากมาย

หลังจากผีเสื้อกระพือปีกได้พักใหญ่ พายุลูกใหญ่ตามมาแล้วครับ

Butterfly Economics กล่าวถึงทฤษฎี Chaos ที่ผีเสื้อกระพือปีก ณ มุมเล็กๆ ของโลกสามารถก่อให้เกิดพายุใหญ่ที่รุนแรงได้ในที่สุด

พายุใหญ่ลูกนี้มาแล้วครับ หลังจากผมเคยตั้งคำถามว่า ไม่รู้ว่ามันจะมาเมื่อไร

นิตยสารทางการเงินและธุรกิจหลายเล่มเรียกสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมาของออสเตรเลียว่าเป็นภาวะฟองสบู่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตอนนี้ฟองสบู่แตกแล้ว

ราคาบ้านในหลายๆ เมืองศูนย์กลาง

ไม่ว่าจะเป็นซิดนีย์ หรือเมลเบิร์นตกลงอย่างฮวบฮาบ ราคาบ้านที่ลดลงส่งผลไปถึงบ้านในเขตชานเมืองและบ้านพักริมหาดด้วย

ปริมาณความต้องการบ้านริมฝั่งทะเลในปีนี้ลดลง ทั้งๆ ที่บ้านเหล่านี้ไม่เคยได้รับผลกระทบจากภาวะตกต่ำของอสังหาริมทรัพย์ มาก่อนเลย

ราคาบ้านได้ตกลงมากกว่า 10% ในซิดนีย์ และเกือบ 15% ในเมลเบิร์น อัตราความ สำเร็จของการประมูลบ้านลดลงจนถึงระดับที่นักวิเคราะห์กล่าวว่าร้ายแรงมาก เช่นเดียวกับราคาของอพาร์ตเมนต์ในเขตตัวเมืองด้านในและใจกลางเมืองที่มีมากจนล้นตลาด ส่งผลให้ราคาลดลงอย่างฮวบฮาบเช่นกัน

ผลกระทบอาจจะรุนแรงถึงขั้นที่ราคาของบ้านในเขตเมืองเมื่อรวมอัตราเงินเฟ้อจะลดลงถึง 30% ในช่วงหกปีข้างหน้า

หลายฝ่ายโดยเฉพาะนักพัฒนาอสังหา ริมทรัพย์และเอเย่นต์ขายบ้านซึ่งเคยแต่ส่งเสียงเชียร์ให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นกลับยอมรับถึงสถานการณ์การตกต่ำของราคาอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ และคาดการณ์กันว่าจะตกต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ต่างถอยหนีจากการลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากราคาที่ตกต่ำลงและผลตอบแทนจากค่าเช่าที่ต่ำ

ในรัฐนิวเซาต์เวลส์ กฎระเบียบใหม่เกี่ยวกับการเก็บภาษีที่ดินทำให้นักลงทุนต่างถอยหนีไปลงทุนในรัฐควีนส์แลนด์เป็นส่วนมาก

และที่นักลงทุน คนซื้อบ้าน และผู้เกี่ยว ข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กลัวเกรงกันอย่างมาก คือการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ที่แม้ว่าจะยังไม่เพิ่มวันนี้ก็ตาม

ปัจจุบัน หนี้เฉลี่ยของคนออสเตรเลียคิดเป็น 140% ของรายได้ เทียบกับ 50% ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังเริ่มบูม ซึ่งชาวออส เตรเลียไม่เคยเป็นหนี้มากมายเท่านี้มาก่อน ในขณะที่อัตราการออมกลับติดลบ เพราะชาวออสเตรเลียกู้ยืมเงินมากมายในช่วงที่ผ่านมา

ออสเตรเลียจึงมาถึงจุดสิ้นสุดของยุคบูมของอสังหาริมทรัพย์แล้ว พายุใหญ่จากผีเสื้อ พัดมาแล้ว พัดรุนแรงจนนักวิเคราะห์หลายๆ รายคาดการณ์ว่าสถานการณ์บูมนี้ไม่น่าจะกลับมาเยือนในอีกหลายๆ ทศวรรษข้างหน้านี้

ศูนย์ประชุมและนิทรรศการแห่งใหม่ของเมืองโกลด์โคสต์มูลค่า 127 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (หนึ่งดอลลาร์ออสเตรเลียประมาณ 28-30 บาทไทย) เปิดตัวอย่างสมบูรณ์แล้ว งานใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Gold Coast Home Show, Charle Japan Incentive Conference, Kenneth Copeland Ministries Gold Coast Victory Campaign และ LAWASIA Down Under 2005 เข้าคิวรอจัดที่นี่ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถดึงดูดคนไปยังเมืองโกลด์โคสด์ได้มากถึง 32,500 คนเป็นอย่างต่ำในช่วงปีนี้ต่อถึงปีหน้า พร้อมกับการสร้างงานจำนวนมากให้กับคนในท้องถิ่น

ผมออกจากเมืองโกลด์โคสต์ตรงกลับบริสเบนในช่วงเย็นๆ พร้อมๆ กับที่นั่งรถผ่านตึกอาคารมากมายที่กำลังก่อสร้างอย่างเร่งรีบตลอดสองข้างทาง

บรรยากาศยามแดดผีตากผ้าอ้อมให้ภาพที่ไม่ค่อยสดใสนัก หรืออาจจะเป็นเพราะว่า ผมกลัวว่ารอบข้างนี้จะเป็นผีเสื้อกระพือปีกอีกครั้ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us