สวัสดีปีใหม่อีกครั้ง หวังว่าท่าน ทั้งหลายคงจะไม่ท้อแท้กับชีวิตและเศรษฐกิจ
จนเกินไป ไหนๆ ก็ไหนๆ The Show Must Go On ก็ขอให้ Go On ต่อไปอย่างมี กำลังใจ
มองโลกในแง่ดีไว้ภายใต้ความ ไม่ประมาท และอย่าลืมทำตัวให้ประสบ กับความสุขกายสุขใจตามสมควรด้วย
นะครับ
ปลายปีที่แล้วผมเกิดแรงบันดาลใจ ที่จะหาเรื่องเสียสตางค์หาของขวัญปีใหม่ให้ตัวเอง
ที่เล็งไว้ก็คือชุดโฮมเธียเตอร์ เล็กๆ สักชุดเพื่อไว้ดูหนังฟังเพลงที่บ้าน
เป็นความใฝ่ฝันมานานพอดูแต่ยังไม่บรรลุ ประกอบกับช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน
ปีที่ผ่านมา มีงานแสดงเครื่องเสียง Hi End Audio Show ซึ่งทราบว่าในงานจะมีผลิต
ภัณฑ์ โฮมเธียเตอร์ มาแสดงมากมาย เวลานั้นก็กะจะไปหิ้วกลับบ้านสักชุดหนึ่งให้เป็นการบรรลุภารกิจที่ตั้งใจไว้
แต่จาก การไปชมงานและได้ซอกแซกไปตามซุ้มและห้องหับ (ที่จัดแสดง) ต่างๆ พบว่าภารกิจไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด
ความที่ไม่ได้ เกาะติดวงการเครื่องเสียงช่วงเวลาที่ผ่านมาทำให้เก็บเกี่ยวข้อมูลไม่ทัน
ผมกลับบ้านมือเปล่าพร้อมการบ้านที่ต้องค้นคว้ามากมาย เพื่อให้ความ อยากของผมบรรลุผลเป็นที่พอใจ
(ตามประสาคนเรื่องมากโดยเฉพาะเวลาจะเสีย สตางค์) ผมเลยถือโอกาสถ่ายทอดประสบ
การณ์และข้อมูลที่หามาได้ถ่ายทอดให้ท่าน ทั้งหลาย
หลายปีมาแล้ว (สัก 5 ปี) ผมได้ลง ทุนซื้อเครื่องเล่นและบันทึกวิดีโอเทประบบ
Super VHS (หรือ SVHS) ที่มีระบบเสียง Hi Fi กะจะตั้งโรงภาพยนตร์ส่วนตัวที่บ้าน
แต่ก็ไป ไม่ถึงไหนเพราะหาเทป SVHS ดูไม่ได้ ได้แต่ ซื้อหรือเช่าวิดีโอเทประบบ
VHS Hi Fi ซึ่งคุณภาพของภาพยังไม่ถึงใจ ตอนนั้นผมประทับใจกับคุณภาพของภาพจากวิดีโอระบบ
SVHS หรือระบบ Hi 8 จากกล้องถ่ายวิดีโอของผม แต่เทป SVHS หรือ Hi-8 ไม่ได้รับความ
นิยมในวงการม้วนวิดีโอให้เช่าหรือขาย จากวันนั้นถึงวันนี้ผมใช้เครื่องวิดีโอ
SVHS ของ ผมเป็นที่ดูหนังผ่านๆ และบันทึกรายการ ทีวีไว้ดู รู้สึกเสียดายเงินอยู่ไม่หาย
ช่วง 5-6 ปีที่แล้ว วงการโฮมเธียเตอร์เขาจะเล่น แผ่นเลเซอร์ดิสก์กัน ซึ่งผมไม่ได้ร่วมวงด้วย
เพราะรู้สึกไม่คุ้มค่าและไม่ประทับใจ กับคุณภาพของระบบเลเซอร์ดิสก์ ทั้งแผ่น
ยังราคาแพงและก็หายาก ตามข้อมูลทาง เทคนิคเลเซอร์ดิสก์จะให้ภาพที่มีราย ละเอียดเท่าๆ
กับเทปวิดีโอ VHS ธรรมดา ในระบบ NTSC 525 เส้น แต่เนื่องจากมีระดับสัญญาณรบกวนต่ำทำให้ภาพดูสดใสชัดเจน
อย่างไรก็ตามความที่รายละเอียดแนวตั้งและแนวนอนยังไม่สูง ทำให้การชมภาพขาดอารมณ์
โดยเฉพาะ ตอนเห็นเส้นของการวาดภาพบนจอใน แนวนอนที่เรียกว่าเส้นสแกนเรียงเป็น
เส้นๆ ทั้งจอ ส่วนคุณภาพของเสียงดีมาก อยู่ในระดับซีดีแต่จะจำกัดที่เป็นระบบ
สเตอริโอ 2 ช่องเสียง
ต่อมาในบ้านเราก็เข้าสู่ยุค Video CD หรือ VCD จะว่าไปแล้ว VCD เป็น สื่อภาพและเสียงเพื่อความบันเทิงระบบ
ดิจิตอลล้วน รายแรกที่สามารถแพร่หลาย สู่สาธารณะในวงกว้าง แต่ระบบ VCD จะให้คุณภาพของภาพและเสียงแย่กว่า
เทป VHS (ที่บันทึกดีๆ) เสียอีก ด้วยเหตุ ที่ VCD ใช้ระบบบีบอัดข้อมูลที่มีการลด
ทอนข้อมูลมากเพื่อให้สามารถบรรจุ ภาพยนตร์และเสียงความยาวประมาณ 1 ชั่วโมงลงแผ่นซีดีได้
(เป็นแผ่นซีดีชนิด เดียวกับซีดีเพลงหรือซีดีเก็บข้อมูลคอม พิวเตอร์) แต่เพราะราคาของเครื่องเล่น
VCD รวมทั้งแผ่นมีราคาถูกทั้งยังมีโปรแกรม ให้เลือกมากพอสมควรทำให้ได้รับความ
นิยมสูง อย่างไรก็ตาม VCD ไม่ได้รับความนิยม ในหมู่นักชมนักฟังเรื่องมากที่มีชื่อเรียกไพเราะ
ว่า นักวิดีโอ-ออดิโอไฟล์ ด้วยคุณภาพยังไม่ สนอง
ทุกวันนี้สื่อเพื่อการบันทึกภาพยนตร์ และเสียงที่มีอนาคตสดใสและได้รับการยอม
รับในวงกว้างเห็นจะไม่พ้นแผ่น DVD หรือ Digital Versatile Disc แผ่น DVD
สามารถนำ มาบรรจุภาพยนตร์ เพลง หรือข้อมูลคอมพิว เตอร์ ได้ด้วยความจุที่มากกว่าแผ่นซีดี
7 ถึง 26 เท่า แล้วแต่ชนิดของแผ่น และแผ่น DVD ที่นำมาบรรจุภาพยนตร์เรียกว่า
DVD-Video ซึ่งในที่นี้ผมขอเรียกย่อๆ ว่า DVD ด้วยเหตุ ที่แผ่น DVD สามารถจุข้อมูลได้มากทำให้
สามารถใช้กระบวนการบีบอัดข้อมูลภาพ ที่ยังสามารถคงคุณภาพของภาพได้ดี แถมยัง
บรรจุระบบเสียงดิจิตอลรอบทิศทางร่วมเข้า ไปด้วย คุณภาพของภาพยนตร์ที่บรรจุลง
แผ่น DVD จะมีรายละเอียดใกล้เคียงระบบ SVHS แต่จะมีความคมชัดและสดใสกว่าเทป
เพราะเป็นระบบดิจิตอลที่มีสัญญาณรบกวน ต่ำ อีกทั้งยังมีการคิดค้นระบบเพิ่มจำนวน
เส้นสแกนในแนวนอน ที่เรียกว่า Line Doubler ร่วมกับการสแกนภาพระบบโปรเกรสซีฟ
สแกน (Progressive Scan) เป็นผลให้ภาพดูมี ความละเอียดสูงขึ้น (ไม่ต้องตกใจกับศัพท์
แสงพิสดาร ผมจะอธิบายในโอกาสต่อไป) เอา เป็นว่า DVD คือความหวังที่เห็นตัวเห็นตน
ของผู้ที่ต้องการสร้างโรงภาพยนตร์ส่วนตัว ในอุดมคติในบ้าน
นอกจากเทคโนโลยีด้านสื่อที่ใช้ บรรจุ ภาพยนตร์แล้ว เทคโนโลยีที่สำคัญยิ่งสำหรับ
วงการโฮมเธียเตอร์คือ อุปกรณ์แสดงภาพหรือ Display ปัจจุบันมีเทคโนโลยีอุปกรณ์แสดง
ภาพให้เลือกซื้อหลายชนิดแต่ที่ได้รับควา ม นิยม ที่สุดเดาได้ไม่ยากก็คือ
จอโทรทัศน์ ทั่วไปนี่เอง (มีชื่อทางช่างว่า CRT หรือ Cathod Ray ube) เทคโนโลยีดึกดำบรรพ์
นี้กำเนิดขึ้นมาบนโลกอย่างคุ้มค่าทั้งใน มุมของผู้ขายและผู้ใช้ จอโทรทัศน์สมัย
ใหม่จะแข่งกันใหญ่ แบน และถูก เพื่อ ดึงดูดเงินเข้ากระเป๋าผู้ผลิต จอ CRT
แม้ ปัจจุบันจะมีความคุ้มค่าสูงสุด สำหรับ หน้าที่ของมัน แต่มันก็มีข้อจำกัดคือ
ไม่ สามารถทำให้มีขนาดใหญ่มากได้ โดยจอ CRT จะมีขนาดของเส้นทแยงมุมไม่เกิน
40 นิ้ว ถ้าต้องการพื้นที่แสดงภาพที่ใหญ่ กว่านี้ จะต้องพึ่งเทคโนโลยีเครื่องฉายภาพ
Projector หรือจอพลาสมา Plasma Display
คราวหน้าผมจะมาเล่าถึงการเลือก อุปกรณ์เพื่อสร้างโรงภาพยนตร์ส่วนตัวในฝันต่อนะครับ