|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2547
|
 |

อย่าแปลกใจเมื่อเกิดปรากฏการณ์ผู้เข้าไปในสนามกีฬา Lasesarre ใกล้เมือง Bilbao ของประเทศสเปนรู้สึกประทับใจในความสวยงามของสถาปัตยกรรมมากกว่ากีฬาที่แข่งกันในสนามเสียอีก
เมื่อมองไปที่อัฒจันทร์จะเห็นที่นั่งสีลูกกวาดที่ให้ความรู้สึกสดใสคึกคักในทันที นิตยสาร Wallpaper ฉบับเดือนพฤษภาคม 2004 ให้รายละเอียดว่า เป็นผลงานการออกแบบของสถาปนิกสเปน Eduardo Arroyo ที่ต้องการให้ที่นั่งพลาสติกเหล่านี้สร้างความรู้สึกสนุกสนานแก่ผู้เข้าชมกีฬา และเป็นการสะท้อนถึงสีสันอันหลากหลายของรถที่จอดกันแน่นลานจอดรถบริเวณด้านนอกของสนามด้วย
ที่มาที่ไปของการสร้างสนามกีฬาที่กลายเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาของ Barakaldo เมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของสเปนไปแล้วนั้น เป็นเพราะสภาพความรุ่งเรืองในฐานะเมืองอุตสาหกรรมถ่านหิน เหล็ก และอู่ต่อเรือได้ยุติลงแล้วโดยสิ้นเชิงในช่วงทศวรรษ 1970 เหลือไว้แต่เศษเหล็กกองพะเนินและปัญหาคนว่างงาน
ความพยายามในการสร้างชื่อเสียงและเอกลักษณ์ของเมืองขึ้นมาใหม่จึงไม่ได้จำกัดอยู่ที่เรื่องของเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว หากแต่ Barakaldo ต้องการสิ่งก่อสร้างใหม่ที่สามารถใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเสริมสร้างความรู้สึกแข็งแกร่งและภาคภูมิใจในหมู่ชาวเมืองด้วย
ในที่สุด บทสรุปจึงอยู่ที่การลงมติสร้างสนามกีฬา Lasesarre ของสโมสรฟุตบอลดิวิชั่น 2 ขึ้นมาใหม่
Eduardo Arroyo สถาปนิกชาวสเปนโดยกำเนิดได้รับเกียรติและความไว้วางใจให้ออกแบบสถาปัตยกรรมของสนามทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะมีจุดเด่นอยู่ที่ที่นั่งสีลูกกวาดบนอัฒจันทร์คนดูแล้วยังมีจุดน่าสังเกตคือ การเน้นมุม รอยต่อ หรือแม้แต่ขอบของสิ่งก่อสร้างให้ทำมุมฉาก 90 องศาเท่านั้น
โครงสร้างที่ปราศจากเส้นโค้งนี้หาได้แข็งทื่อน่าเบื่ออย่างที่คิด เพราะวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของมุมฉากและอยู่ในสิ่งก่อสร้างต่างๆ ล้วนมีลักษณะโปร่งแสงหรือไม่ก็กึ่งโปร่งแสงทั้งสิ้น
สำหรับสิ่งก่อสร้างที่เป็นเหมือนฝาครอบลงบนตัวอาคารทาสีเทาอ่อนจนเกือบขาว มีตัวอักษรซึ่งเป็นชื่อสนามประดับโดยรอบและตั้งใจออกแบบให้ติดกันเป็นพืดไม่เว้นช่องไฟระหว่างคำ เพราะต้องการให้เป็นลวดลายมากกว่าจะให้อ่านออกเป็นคำๆ (โปรดดูภาพประกอบ)
Eduardo Arroyo ยังเน้นความเป็นธรรมชาติให้แก่สนามแห่งนี้ด้วยการปลูกป่าติดกับตัวสนามกีฬาประกอบด้วยต้นไม้ถึง 1,001 ต้น เพื่อบรรเทาความหยาบกระด้างในตัวมนุษย์ให้เบาบางลง
|
|
 |
|
|