|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2547
|
|
ชายร่างเล็ก ผิวขาวสะอาด ในชุดสีดำที่ยืนอธิบายสินค้าของ Panpuri ในร้านเล็กๆ บนชั้นสามของเกษรพลาซ่า คนนี้ อาจไม่ต่างกับพนักงานขายสินค้าหน้าตาดีทั่วไป แต่เมื่อได้คุยไปถึงวิธีคิดในการสร้างแบรนด์ ก็รู้ว่าตัวตนของเขาน่าสนใจทีเดียว
"ถ้าเราไม่สร้างแบรนด์เองและมา บริหารแบรนด์ให้แข็งแรง เราก็เป็นคนผลิต อยู่วันยังค่ำ" วรวิทย์เริ่มต้นเล่าถึง Panpuri กับ "ผู้จัดการ" หลังจากนั่งลงในร้าน "Sence" บนชั้นสอง เกษรพลาซ่า
วรวิทย์เป็นเด็กเรียนดีคนหนึ่งของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล จบด้านเศรษฐ-ศาสตร์ที่ McGill University ประเทศแคนาดา และ Masters in Luxury Goods Management ที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี เมื่อปี 2540 เขาได้กลับมาร่วมงานกับบริษัท Deloitte Consulting ของสหรัฐ อเมริกา ทำหน้าที่ทางด้าน Business Analyst Consultant ต่อมาได้เป็นพนักงาน ไทยคนแรกที่ได้ไปประจำสำนักงานใหญ่ในนิวยอร์ก
วันที่ 11 กันยายน เหตุการณ์อันน่าตื่นกลัวของชาวโลกส่งผลต่อชีวิตของเขา ความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ในครั้งนั้นยังชัดเจน ราวกับว่ามันผ่านไปเมื่อไม่กี่วันนี้เอง เขาย้อนความหลังให้ฟังว่า
"ผมมีลูกค้าเป็นบริษัททางด้านวาณิช ธนกิจชั้นนำของอเมริกา ออฟฟิศอยู่ที่ชั้น 63 ของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ช่วงนั้นผมต้อง เข้าไปร่วมทำงานกับเขาบ่อยมาก วันเกิดเหตุผมเข้าไปเตรียมเรื่องการประชุมให้บริษัทนี้ตั้งแต่เช้า คืนก่อนหน้านั้นก็อยู่ถึงเที่ยงคืนเนื่องจากทีมประชุมใหญ่มาก ทำให้ ใช้ห้องประชุมของออฟฟิศไม่พอ ต้องลงมา ใช้ห้องประชุมที่ชั้น 5 พอสัก 8 โมงกว่า ก็ได้ยินเสียงตึ้ม เหมือนคนยกเฟอร์นิเจอร์ หนักๆ แล้วทำตกแรงมาก จำได้ว่าแมเน เจอร์ที่มาจากซานฟรานซิสโกล้อเล่นยิ้มๆ ว่า แผ่นดินไหวหรือเปล่า ทุกคนยังหัวเราะ กันเลย แต่พอมีอีกตึ้มผมคว้ากระเป๋าเงินได้ก็วิ่งออกมาเลย ตอนนั้นทุกคนก็คิดว่าไฟไหม้ หรือท่อแก๊สแตกเราก็เดินออกมายืนดูไฟที่กำลังลุกไหม้
ได้เห็นคนที่ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่กระโดดออกมา ทุกคนก็กรี๊ดกันเหมือนดูหนัง แต่ ณ นาทีนั้นก็ยังไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น จนไปบ้าน เปิดทีวีดู ตอนนี้ล่ะที่น้ำตา ซึม ข่าวซีเอ็นเอ็นเป็นภาพรีเพลย์ตอนเครื่องบินชนตึก ใจหายเลยว่านั่นเป็นตึกที่เราอยู่เมื่อ 10 นาทีที่แล้วนะ แล้วเรารอดมาได้
สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้นทำให้วิธีคิดในเรื่องทำงานเปลี่ยนไป เกิดมาทุกคนต้อง ตาย จะเป็น CEO เก่งๆ หรือภารโรง ตายเหมือนกันหมด และตายตอนไหนไม่มี ใครรู้ ดังนั้นทำงานหนักไปทำไม ผมก็เลยลาออก ตั้งใจจะไปเรียนเอ็มบีเอต่อ พอดี ไปเจอโปรแกรมหนึ่งที่โรงเรียนของรัฐบาลในอิตาลี เกี่ยวกับการบริหารแบรนด์ แล้วมีทุนให้เรียนด้วย ทุนนี้ถ้าเป็นที่เมืองไทยก็ประมาณว่าเป็นของสมาคมสินค้าแบรนด์เนมของประเทศ มีกุชชี่ หลุยส์ วิตตอง นั่งอยู่ในบอร์ด เขาให้ทุนกับนักเรียน ต่างชาติที่มีความสามารถ 12 ทุน ผมเป็นคนไทยคนเดียวที่ได้เรียนฟรี แล้วได้อยู่ที่มิลาน ก็โอเคนะ"
ที่สถาบัน SDA BOCCONI วรวิทย์ได้เรียนรู้ว่าธุรกิจแบรนด์เนมหลายบริษัทของอิตาลีเริ่มจากงานฝีมือของธุรกิจครอบครัวเล็กๆ ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการเรื่องแบรนด์จนก้าวขึ้นเป็นแบรนด์ดังของโลก เขาได้รู้ว่าความluxury ของสินค้าจะอยู่ในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น ตะเข็บ เส้นด้าย ต้องเปิดออกมาเท่านั้นถึงจะรู้
จนใกล้เรียนจบ บริษัทที่สนับสนุนจะเลือกนักศึกษาไปทำงานเป็น Project Team Leader วรวิทย์ถูกเลือกไปทำกับกุชชี่ และเขาก็ได้รู้ว่าธุรกิจที่ยั่งยืนได้ของประเทศนั้นจะต้องมีโมเดลอย่างไร
"อย่างที่อิตาลีเป็นเมืองแฟชั่นไม่ใช่เพราะมีดีไซเนอร์อย่างเดียว แต่เขามีอุตสาหกรรมมาซัปพอร์ตหมดเลย ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โรงงานผลิตผ้า ผลิตเส้นด้าย หนังสือแฟชั่น ทุกอย่างจะสนับสนุนเป็นวงจรเดียวกันหมด"
Luxury Good Product ซึ่งเขาได้เลือกเรื่องสปาจากเมืองไทยไปพรีเซ็นต์ก่อนจบการศึกษา ได้รับความสนใจอย่างมาก และโอกาสที่เขาลงไปทำเรื่องผลิตภัณฑ์ สปาก็มาถึงเมื่อเพื่อนที่ทำโรงแรมและธุรกิจสปาหรูในอิตาลีสนใจเรื่องสมุนไพรไทย และอยากได้ไปบริการแขก วรวิทย์จึงได้กลับมาศึกษาคุณสมบัติสมุนไพรอย่างจริงจัง
"ตอนนั้นผมตั้งใจแล้วว่าจะทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพราะมองว่ามันมีความเป็นไปได้ แต่จะทำอย่างไร เรามีฝีมือจริง แต่ที่ผ่านมาการควบคุมคุณภาพเพื่อก้าวไปสู่ตลาดสากลยังทำไม่ได้ ตรงนี้เองที่ผมมองว่ามีช่องทาง"
ปี 2545 วรวิทย์ได้ร่วมกับเพื่อนอีก 2 คน ตั้งบริษัทปุริขึ้นมา หุ้นส่วนคนแรก คือ วสุ สุรัติอันตรา เพื่อนร่วมชั้นเรียนตั้งแต่ ป.1 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ส่วนอีก คนหนึ่งคือ เอกภพ เมฆกัลจาย พนักงานที่อายุน้อยที่สุดของบริษัท Deloitte Con-sulting
วิชาความรู้เกี่ยวกับการบริหารแบรนด์ อาจมีคนไทยไม่มากนักที่มีโอกาสได้เรียนรู้จากประเทศต้นแบบอย่างอิตาลี แต่วันนี้กำลังถูกนำกลับมาใช้แล้วกับแบรนด์ "ปัญญ์ปุริ"
|
|
|
|
|