Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2545
The World and I             
โดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
 





ผมโตมากับ ดรุณสาร ชัยพฤกษ์ และ วิทยาสาร คนรุ่นผม ยังมีโอกาสพานพบนิตยสารสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีสาระและให้ความรู้ ต่างกับเด็กและเยาวชนสมัยนี้ที่ไม่มีนิตยสารเฉพาะกลุ่ม ที่ทรงคุณภาพ จะมีก็แต่นิตยสารสำหรับเด็กวัยรุ่นที่เป็นกลไกของระบบจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม (Cultural Imperialism)

ผมมีงานเขียนปรากฏสู่บรรณพิภพครั้งแรกใน ดรุณสาร เมื่อ เรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (เทียบเท่าประถมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบัน) จำได้ว่าเขียนเรื่องโรงรับจำนำแห่งแรกในเมืองไทย โดย อาศัยข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ วชิรญาณวิเศษ ผมคงมีบทความตีพิมพ์ใน ดรุณสาร หลายเรื่อง แต่บัดนี้จำมิได้แล้ว เมื่อ ดรุณสาร ถึงแก่กรรม ผมรู้สึกโศกาอาดูร เพราะ ดรุณสาร เป็นสนามบ่มเพาะวิทยายุทธในการขีดเขียนของผม นิตยสารสำหรับเด็กและ เยาวชนฉบับอื่นๆ ทยอยเดินลง "หลุมฝังศพ" รวมทั้ง วิทยา ศาสตร์มหัศจรรย์ ของอาจารย์จันตรี ศิริบุญรอด โดยที่รัฐบาล รวมทั้งกระทรวงศึกษาธิการมิได้ สนใจส่งเสริมกิจกรรมในด้านนี้แม้แต่น้อย

เมื่อผมพานพบ นิตยสาร The World and I เมื่อ กว่าครึ่งทศวรรษที่ผ่านมานี้ ผมบอกกับตัวเองว่า ผมได้พบ นิตยสารในฝันแล้ว The World and I มีโครงสร้างเนื้อหาอย่างที่ผมต้องการบริโภค ทุกฉบับจำแนก เนื้อหาออกเป็น 7 ภาค

ภาคแรกตั้งชื่อว่า Current Issues อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากจะมีรายงานข่าวแล้ว ยังมีบทวิเคราะห์ข่าวอีกด้วย บุคคล ในข่าวและปริทัศน์ว่าด้วยบทบาทของสื่อมวลชนเป็นคอลัมน์น่าสนใจ ในภาคนี้ บางครั้งกองบรรณาธิการเชื้อเชิญนักวิชาการหรือผู้นำทาง ปัญญาเปิดเวที "วิวาทะ" ในประเด็นปัญหาต่างๆ อาทิ ควรให้มี การทำแท้งโดยเสรีหรือไม่ ควรให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการ ครอบครองอาวุธปืนหรือไม่ ฯลฯ

ภาคที่สองตั้งชื่อว่า The Arts อันเป็นเรื่องราวด้านศิลปะ ซึ่งมีตั้งแต่ละครเวที อุปรากร การแสดงดนตรี ภาพยนตร์ งาน แสดงศิลปะทั้งด้านประติมากรรม จิตรกรรม และภาพพิมพ์ รวม ตลอดจนสถาปัตยกรรม ผู้อ่านมีโอกาสอ่านบทความเกี่ยวกับชีวิต และผลงานของศิลปินนามอุโฆษทั้งในอดีตและปัจจุบัน ดนตรีและ ภาพยนตร์มีทั้งงานคลาสสิกและงานร่วมสมัย

ภาคที่สามตั้งชื่อว่า Life อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของ ผู้คนในภูมิภาคต่างๆ เนื้อหาในส่วนนี้เหมาะแก่ผู้อ่านที่เป็นนักท่อง เที่ยวมากเป็นพิเศษ เพราะมีบทความแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและ อาหารการกินในแดนดินต่างๆ ด้วย บางฉบับเคยมีบทความ เกี่ยวกับประเทศไทยด้วย

ภาคที่สี่ตั้งชื่อว่า Natural Science แปลว่า วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ เนื้อหาในภาคนี้ ประกอบด้วยบทความที่รายงาน ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ แขนงต่างๆ ทั้งฟิสิกส์ เคมี และ ชีววิทยา บางฉบับมีบทความ ว่าด้วยชีวิตและผลงานของนัก วิทยาศาสตร์คนสำคัญ ทั้งที่ล่วง ลับไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้ ยังมีบทความที่นำเสนอ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับสังคมและ วัฒนธรรมอีกด้วย

ภาคที่ห้าตั้งชื่อว่า Culture อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ วัฒนธรรมของผู้คนในดินแดนต่างๆ เนื้อหาในภาคนี้มีความ สัมพันธ์กับภาคที่สาม (Life) เพียงแต่มีจุดเน้นแตกต่างกัน โดยใน ภาคนี้ให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องมรดกทางวัฒนธรรม รูปแบบ ของวัฒนธรรม และวัฒนธรรมบนทางสองแพร่ง

ภาคที่หกตั้งชื่อว่า Book World แปลว่า โลกหนังสือ ประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเลือกหนังสือและตัดตอนเนื้อหา บางส่วนมาให้อ่าน ตามด้วยบทวิเคราะห์และวิจารณ์ ส่วนที่สองเป็น บทวิจารณ์หนังสือ ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษย ศาสตร์ ส่วนที่สามนำเสนอชีวิตและผลงานของนักเขียนคนสำคัญ เนื้อหาในภาคนี้ถูกใจบรรดาหนอนหนังสือทั้งหลาย

ภาคที่เจ็ดตั้งชื่อว่า Modern Thought ประกอบด้วย บทความที่หนักสมอง ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ มนุษยศาสตร์ โดยทั่วไปมักจะมีการกำหนดกรอบหัวข้อของบทความ ในแต่ละฉบับ อาทิ อนาคตของสังคมสารสนเทศ (Information Society) ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา วัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

The World and I มีนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาและ นักศึกษามหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่ได้รับเชิญให้เขียน บทความในภาคต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือมิฉะนั้น ก็เป็นผู้นำทางปัญญา แม้ว่าคณะผู้จัดทำ The World and I อันมี มอร์ตันแคปแปลน (Morton A. Kaplan) เป็นบรรณาธิการจะมีจุด ยืนเอียงไปข้างอนุรักษนิยม (Conservative) แต่นิตยสารรายเดือน ฉบับนี้พยายามถ่วงดุล มิให้เอียงซ้ายหรือเอียงขวามากเกินไป ผู้อ่าน จึงได้ประโยชน์จากความคิดเห็นอันหลากหลายของผู้เขียนที่มีอุดม การณ์แตกต่างกัน

โครงสร้างเนื้อหาของ The World and I ดังที่ผมกล่าวถึง ข้างต้นนี้ ถูกใจผมมากเป็นพิเศษ เพราะสามารถตอบสนองความ อยากรู้ของผมได้ในเกือบทุกด้าน ผมได้รับประโยชน์อย่างมากจาก ภาค Natural Science เพราะเป็นสาขาที่ผมมีความรู้น้อย มิอาจ ติดตามอ่านจากวารสารหรือนิตยสารเฉพาะสาขาได้ โดยที่นิตยสาร โดยทั่วไปไม่มีรายงานข่าวหรือบทความในด้านนี้ ภาค Book World ให้ประโยชน์แก่ผมมากในด้านวรรณกรรม ส่วนบทวิจารณ์หนังสือ นั้นผมสามารถหาอ่านจากแหล่งอื่นๆ ได้อยู่แล้ว ภาค The Arts, Life และ Culture ช่วยให้ผมเปิดหูเปิดตา และเป็นประโยชน์ในการศึกษา พัฒนาการของทุนวัฒนธรรม (Culture Capital) ส่วนภาค Current Issues แม้ผมจะสามารถหาอ่านจากแหล่งต่างๆ ได้ แต่ The World and I มีจุดเด่นในการประมวลข้อมูลและประเด็นปัญหาอย่างค่อน ข้างครบถ้วน

The World and I เริ่มออกฉบับปฐมฤกษ์ในเดือนมกราคม 2529 และมีอายุครบ 15 ปี เมื่อเดือนมกราคม 2544 ในปัจจุบันมี โรงเรียนระดับมัธยมศึกษามากกว่า 7,000 โรงเป็นสมาชิก The World and I มิใช่แบบเรียนหรือตำราเรียน แต่สามารถใช้ประกอบการศึกษา ได้อย่างดีเยี่ยม จนถึงกับมีการจัดทำ Teachersี Guide เพื่อเป็นคู่มือ สำหรับครูที่ต้องการนำ The World and I ประกอบการเรียน การสอนวิชาต่างๆ ผู้อ่าน The World and I มิได้มีแต่นักเรียน นักศึกษาเท่านั้น ผู้นำในรัฐสภาและผู้นำด้านอื่นๆ ก็เป็นผู้อ่านด้วย

จุดเด่นของ The World and I มิได้มีเฉพาะแต่ด้านเนื้อหา การจัดพิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตอย่างดี รวมตลอดจนการจัดรูปเล่มและ ภาพประกอบอันงดงาม นับเป็นจุดเด่นสำคัญด้วย ภาพจิตรกรรมของ จิตรกรผู้มีชื่อเสียงและภาพการแสดงอุปรากรในภาค The Arts ภาพ ชีวิตของผู้คนในภาค Life เสริมความโดดเด่นของ The World and I มากยิ่งขึ้น

ผมฝันที่จะได้เห็น The World and I ฉบับภาษาไทยมิใช่การแปล The World and I เป็นภาษาไทย หากแต่เป็นการผลิตนิตยสารวิชาการโดยมี The World and I เป็นแบบจำลอง แต่นิตยสารวิชาการที่เยี่ยมยอดนี้จะอุบัติในสังคมไทยได้ก็แต่โดยการสนับสนุนของรัฐบาล เพียงด้วยการให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั้งของรัฐบาลและเอกชน ในการเป็นสมาชิก The World and I ฉบับภาษาไทย โดยที่มีเงินอุดหนุนการผลิตในระยะแรกเริ่มด้วย หากรัฐบาลไม่เห็นอานิสงส์การส่งเสริมการผลิตนิตยสารวิชาการ นิตยสารประเภทนี้ถือกำเนิดในบรรณพิภพได้ยาก เพราะใช้เงินลงทุน สูง มีความเสี่ยงในการลงทุนสูง และอัตราผลตอบแทนต่ำ

แม้ว่าเอกชนจะสามารถผลิตนิตยสาร สารคดี และ National Geographic ได้ แต่ The World and I เป็นมากกว่า สารคดี และ National Geographic

หมายเหตุ
1. นิตยสาร The World and I หาอ่านได้ในหอสมุดปรีดี พนม ยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือดู www.worldandi.com

2. ความสำเร็จของ The World and I ในรอบ 15 ปีแรก โปรด อ่าน Michael Marshall, "Fifteen Years of World and I Excellenceำ, The World and I (January 2001)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us