|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2547
|
|
การจัดระเบียบสถาบันการเงินในประเทศ ที่เริ่มต้นภายหลังจากแผนแม่บทพัฒนาสถาบันการเงินได้ถูกประกาศใช้ออกมาเมื่อตอนต้นปี เริ่มมีความคืบหน้าไปแล้วระดับหนึ่ง เมื่อสถาบันการเงินที่มีอยู่ได้ยื่นแผนเพื่อขอปรับสถานการณ์ทำธุรกิจมายังธนาคารแห่งประเทศไทย หลังสิ้นสุดเส้นตายเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (one presence)
สรุปได้ว่ามีบริษัทเงินทุนที่ได้ยื่นแผนขอปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ ทั้งสิ้น 4 ราย เป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย 6 ราย ขอคืนใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจเป็น Cradit Institution 3 ราย ไม่ยื่นคำขอ 1 ราย ที่เหลืออีก 4 ราย เป็นบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ที่เข้าข่ายดำเนินตามแผน one presence
สำหรับสาขาธนาคารต่างประเทศ และสำนักวิเทศธนกิจ มีการยื่นคำขอเป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ 1 ราย เป็น สาขาของธนาคารต่างประเทศ 2 ราย และขอคืนใบอนุญาตสำนักงานวิเทศธนกิจเพื่อลดฐานะเป็นสำนักงานตัวแทน 2 ราย ซึ่งเมื่อรวมกับสาขาธนาคารต่างประเทศที่เปิดทำธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน และไม่ยื่นแผนเพื่อขอปรับสถานะ ทำให้มีจำนวนสาขาธนาคารต่างประเทศที่มีธุรกิจอยู่ในประเทศไทยทั้งสิ้น 16 ราย
ขั้นตอนต่อไป เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคำขอปรับสถานะทั้งหมดแล้ว จะใช้เวลา 1 เดือนในการตรวจสอบเอกสาร หลังจากนั้นคณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กพพ.) จะพิจารณาคำขอเบื้องต้นเพื่อเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายใน 3 เดือน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะใช้เวลา พิจารณาอีก 2 เดือน เพื่อตัดสินใจว่าจะอนุมัติตามแผนที่ขอมาหรือไม่ โดยมีเส้นตายที่ต้องพิจารณาให้เสร็จในวันที่ 31 มกราคม ปีหน้า
หลังจากได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว สถาบันการเงินที่ต้องปรับสถานะจะต้องดำเนินการตาม เงื่อนไขที่กำหนด เช่นการควบรวมกิจการระหว่างกันให้เสร็จสิ้น เสียก่อน จึงจะสามารถยื่นเรื่องขอรับใบอนุญาตเพื่อเปิดดำเนินการธนาคารพาณิชย์ และธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย รวมถึงบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ ภายใน 1 ปี ส่วนสาขาธนาคาร ต่างประเทศ ให้เปิดภายใน 6 เดือน นับจากวันที่คำขอได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
|
|
|
|
|