|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2547
|
|
ซิคเว่ฉีกภาพเดิม ๆ ของ CEO ที่ต้องดูสุขุม มาสู่ภาพลักษณ์ที่ดูแปลกใหม่ ถือเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นตัวสะท้อนของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
ซิคเว่ เบรกเก้ Co-CEO ของ TAC กลายเป็นที่รู้จักของคนในหมู่มาก หลังจากที่ยอม "ลงแรง" แสดงเป็นตัวเอกร่วมกับ Co-CEO คู่หูในภาพยนตร์โฆษณาหลายชุดของ DTAC
ภาพที่เห็นในโฆษณาทางทีวี หรือจากแคมเปญของ DTAC ที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการนั่งมอเตอร์ไซค์ออกตระเวนแจกน้ำดื่ม เมื่อครั้งออกแคมเปญ "Maximize" หรือภาพ Co-CEO ทั้งสองในชุด "เด็กแร็พ" ในงานเลี้ยงขอบคุณสื่อมวลชนที่จัดขึ้นเมื่อช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึง "การคิดนอกกรอบ"ที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด
จากผลการสำรวจ "50 ผู้จัดการ" ซิคเว่ เบรกเก้ เป็นผู้บริหารชาวต่างชาติที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุด ซึ่งนอกเหนือจากผลสำเร็จของการพัฒนา TAC ไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของตัวเลขและภาพลักษณ์ของแบรนด์ DTAC แล้ว ก็น่าจะเป็นผลมาจาก "การคิดนอกกรอบ" ของ Co-CEO ชาวนอร์เวย์ผู้นี้
ทั้งนี้เหตุของ "การคิดนอกกรอบ" ก็ไม่ได้มาจากเพียงเพราะการที่เขาเป็นชาวต่างชาติ เพราะเขาเองก็ยอมรับอย่างเต็มปากเต็มคำระหว่างให้สัมภาษณ์กับ "ผู้จัดการ" ว่า "I'm not a typical Norwegian"
ซิคเว่เล่าให้ฟังว่า คนนอร์เวย์โดยปกติจะเป็นคนที่คิดอะไรเป็น logic มากๆ เป็นคนที่ไม่ค่อยแสดงออกทางอารมณ์แต่ที่เหมือนกับชาวตะวันตกทั่วๆ ไป ก็คือชอบเดินทางท่องเที่ยว หลังเรียนจบก็จะทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ค่อยจะเปลี่ยนงานกัน
ผิดกับตัวซิคเว่ ที่เป็นคนชอบการเปลี่ยนแปลง ถ้าเห็นว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้น ไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ เขาก็จะไม่ทำมันอีกต่อไป ซึ่งก็มีข้อดีคือทำให้มีโอกาสดีๆ แต่ก็ยอมรับว่าก็เป็นข้อเสียว่าเป็นคนที่เบื่ออะไรง่ายๆ
ในฐานะลูกชายคนโตของครอบครัว ที่ทำฟาร์มเป็นอาชีพ ซิคเว่เคยถูกคาดหวังให้รับช่วงต่อจากพ่อ ถึงขนาดที่เขาต้องใช้เวลาถึง 2 ปีเพื่อเข้าเรียนด้าน forestry and agriculture และทำงานเป็นคนตัดไม้ อีก 1 ปี เพื่อเป็นการเตรียมตัว
แต่เมื่อเวลานั้นมาถึง เขาก็รู้ว่าตัวเองไม่เหมาะกับงานฟาร์มแม้แต่นิด ซิคเว่จึงรับปากกับครอบครัวว่าจะดูแลฟาร์มให้ พร้อมๆ กับสอนงานให้น้องชายเป็นเวลา 6 เดือน แต่ในที่สุด เขาก็เลิกล้มความตั้งใจ หลังจากเริ่มทำไปได้เพียงเดือนเดียว
หรือแม้กระทั่งเคยเป็นดีเจ ออกตระเวนแสดงตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เคยเป็นครูสอนชั้นเกรด 6 เคยทำงานขายโฆษณาให้กับสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งโดยรวมแล้ว งานเหล่านี้ได้ให้โอกาสเขาเรียนรู้ และพบ ปะผู้คนที่หลากหลาย ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีแม้กระทั่งในสายตาของชาวต่างชาติเองก็ตาม
ส่วนงานที่ถือว่าเป็น career แรกสำหรับซิคเว่ เกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่เขาเรียนจบปริญญาตรีด้าน marketing/ administration เมื่อเขาได้รับ "ข้อ เสนอ" ให้เข้าสู่ถนนสายการเมืองระดับชาติอย่างเต็มตัว ในขณะที่มีอายุ 25 ปีเต็ม
โดยเริ่มงานตั้งแต่เป็นผู้ช่วย ให้กับผู้นำองค์กรเยาวชน เป็นนายกสมาคมการค้า เป็นที่ปรึกษา รัฐมนตรีกลาโหมและรองรัฐมนตรี กลาโหม เป็นตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่จะตัดสินใจหยุดงานด้านการเมือง หลังจากใช้เวลาทั้งหมด 10 ปีในเส้นทางการเมือง
วันที่ไปบอกนายกรัฐมนตรีว่าจะขอลาออก ก็ถามเหตุผลว่าทำไมหลังจากอธิบายถึงเหตุผล เขาก็ respect การตัดสินใจ แต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี ซิคเว่เล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ในวันนั้น พร้อมบอกว่าที่ลาออกทั้งๆ ที่ทุกอย่างกำลัง ไปได้ดี เพราะเคยคิดว่างานการเมืองจะสามารถนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สิ่งต่างๆ ได้ แต่เมื่อวันหนึ่งมันไม่มีอะไรที่ท้าทายอีก ก็เลยคิดอยากจะไปทำอย่างอื่นต่อ ซึ่งในขณะนั้นก็ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร
ในขณะนั้นซิคเว่มีอายุ 35 ปี มีครอบครัวที่ประกอบไปด้วยภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ และลูกชาย วัยซนอีก 2 คน มีวุฒิปริญญาตรีทางด้าน marketing ซึ่งเขาคิดว่าไม่เพียงพอ
ซิคเว่จึงตัดสินใจไปสมัครเข้าเป็น visiting fellow ที่ Harvard University เป็นระยะเวลา 1 ปี ก่อนที่จะตัดสินใจสมัครเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโท ซึ่งเขาไม่คิดว่าจะได้รับการคัดเลือกเนื่องจากเกรดในระดับปริญญาตรีก็ไม่สู้จะดีนัก แต่เขาก็ได้รับคัดเลือก ในที่สุดเพราะมี background ที่น่าสนใจ
ซิคเว่ใช้เวลา 1 ปีในการเรียนปริญญาโท และสามารถสร้าง connection ได้มากจากผู้คนที่มาจากทั่วโลก เมื่อเขาและครอบครัวเดินทางกลับไปนอร์เวย์ ซิคเว่ก็ได้รับการติดต่อจาก Telenor ยักษ์ใหญ่ทางด้าน telecom ซึ่งในขณะนั้นกำลังมองหาช่องทาง ลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งโชคดีที่ขณะที่อยู่ที่ Harvard เขาได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเอเชียมาบ้าง ทั้งเรื่อง Asia Development, Asia Finance, Asia Government/Business Relationship ซึ่งมีส่วนช่วยได้มาก
Telenor ใช้สิงคโปร์เป็นฐาน ครึ่งปีแรกซิคเว่ต้องเดินทางไปทั่วภูมิภาคเพื่อหา ช่องทางการลงทุน ซึ่งในที่สุด Telenor ก็ตัดสินใจลงทุนในไทย บังกลาเทศ และมาเลเซีย และในปี 2001 Telenor ก็เข้ามา เป็น partner ร่วมกับ DTAC และแต่งตั้งให้เขาเป็น Co-CEO ร่วมกับวิชัย เบญจรงคกุล ในเวลาต่อมา
ตั้งแต่ซิคเว่เข้ามาเป็น Co-CEO การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยน แปลงวัฒนธรรมองค์กร เปลี่ยนจากองค์กร ที่มีแบบแผนให้เป็นองค์กรที่ไดนามิกมากขึ้น ซึ่งกว่าจะถึงจุดนี้ได้ต้องเริ่มที่ตัวผู้นำที่ไม่ได้มีหน้าที่คิดเพียงอย่างเดียว ต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วย
อย่างในงานเลี้ยงปีใหม่ แทนที่ Co-CEO ทั้ง 2 จะออก มากล่าวอะไรที่เป็นทางการ "ขอบคุณพนักงานทุกคนที่......." แต่กลับเลือกที่จะออกมาแร็พโดยใส่เนื้อเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่ ในทำนองเพลง Somewhere I Belong ของ Linkin Park
"หลังจากวันนั้น ปฏิกิริยาที่พนักงานมีต่อตัว CEO ก็เริ่มเปลี่ยน เหมือนกับได้ทลายกำแพงออกไป" ซิคเว่บอก พนักงานเริ่มกล้าที่จะเข้ามาคุยมากขึ้น ซึ่งในที่สุดแล้ว จะมีส่วนช่วยให้เกิดความคิดใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
ภารกิจของซิคเว่ในฐานะ Co-CEO ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เขากล่าวก่อนจากกันว่า ตลอดชีวิตเขาไม่เคยมีแผนระยะยาว เมื่อถึงเวลาก็จะรู้เอง
|
|
|
|
|