Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2547
ทีมบริหารเครือซิเมนต์ไทย 2549             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 

   
related stories

งานแรกของ "กานต์ ตระกูลฮุน" ขนาดช้างยังต้องหลุดออกจากกรง

   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
กานต์ ตระกูลฮุน
พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา




กานต์ ตระกูลฮุน จะเป็น "ลูกหม้อ" อย่างแท้จริงคนแรกที่ก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการใหญ่

เรื่องราวของเขาผมเขียนถึงมาสองครั้งแล้ว (นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543 และธันวาคม 2546) และคาดการก้าวขึ้นมาของเขาได้อย่างถูกต้อง

เขาใช้เวลาทำงานไต่เต้ายาวนานที่สุดในบรรดาผู้จัดการใหญ่ที่เป็น "คนใน" ถึงประมาณ 28 ปี ในฐานะที่ทำงานที่เครือซิเมนต์ไทยแห่งเดียวเท่านั้นในชีวิต ก็ถือว่าเป็นเวลาที่เหมาะสม (พารณ อิศรเสนาฯ ใช้เวลาทั้งหมดรวมกับทำงานที่อื่นมาด้วยรวม 29 ปี ส่วนชุมพล ณ ลำเลียง ใช้เวลาประมาณ 25 ปี)

การไต่เต้าของเขาสะท้อนถึงการเปลี่ยนโครงสร้างบุคลากรในเครือซิเมนต์ไทยอย่างเด่นชัด กว่าเขาจะได้ก้าวขึ้นบริหารกลุ่มธุรกิจอย่างแท้จริงต้องใช้เวลาถึง 22 ปี เริ่มต้นในปี 2542 ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซรามิคซิเมนต์ไทย ดูแลกิจการในกลุ่มเซรามิก

เส้นทางของเขาล้วนใกล้เคียงผู้บริหารรุ่นเดียวกันที่ขึ้นดูแล Strategic Business Unit ในคราวเดียวกันนี้

ในช่วงก่อนปี 2542 เครือซิเมนต์ไทยเต็มไปด้วยผู้มีความสามารถ ผู้อาวุโสจำนวนมาก แต่ครั้นผ่านวิกฤติการณ์มา บุคลากรเหล่านี้ทยอยออกจากบริษัทไป ทั้งนี้จะด้วยเหตุผลที่พวกเขามาสู่ทางตันในตำแหน่ง เนื่องจากผู้จัดการใหญ่อายุน้อยกว่า หรือการปรับโครงสร้างกิจการเสียจนพวกเขาไม่อาจจะปรับตัวได้ ก็ตามที

ถ้ามองในมุมนี้ถือว่า กานต์ ตระกูลฮุน และทีมบริหารชุดใหม่ มีประสบการณ์ค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบผู้จัดการใหญ่คนก่อนๆ

พารณอยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่นานประมาณ 10 ปี พอๆ กับชุมพล ในขณะที่กานต์มีประสบการณ์ระดับนี้ไม่ถึง 5 ปี

พวกเขาล้วนเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างธุรกิจเมื่อปี 2542 ที่พิสูจน์บทบาทนำในการเปลี่ยน แปลงองค์กรครั้งใหญ่ที่สุด ท่ามกลางวิกฤติการณ์ ว่าไปแล้ว เครือซิเมนต์ไทยยุคใหม่ (ตั้งแต่ปี 2506 เป็นต้นมา-ตามความคิดของหนังสือยุทธศาสตร์ความใหญ่เครือซิเมนต์ไทย ของผมเอง) ไม่เคยเผชิญวิกฤติการณ์ร้ายแรงเช่นนี้มาก่อน

พวกเขาเป็นคนรุ่นใหม่อายุน้อยที่สุดในทีมบริหารที่เคยเป็นมา ย่อมมีความหมายที่เหมาะสมกับการบริหารยุคหน้าดีทีเดียว

ยุคหน้าของพวกเขาท้าทายกว่าปี 2542 มากนัก เช่นเดียวกับยุคชุมพล ณ ลำเลียง ได้ผ่านช่วงที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับพวกเขาไปแล้ว นั่นคือการพลิกฟื้นฐานะกิจการหลังวิกฤติการณ์ครั้งล่าสุด พวกเขาคงไม่มีแรงบันดาลใจในความท้าทายใหม่ๆ แล้วก็ว่าได้

แม้ว่า "ผู้จัดการ 100" ของนิตยสารผู้จัดการ (ฉบับมิถุนายน 2547) ซึ่งประเมินจากตัวเลขทางบัญชี (โดยเฉพาะรายได้) เครือซิเมนต์ไทยยังคงเป็นบริษัทระดับต้นๆ ของประเทศไทยอยู่ แต่หากมองตามแนวคิดตะวันตก ว่าด้วย Market Value เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง "The Global 1000" (BusinessWeek July 26-August 2, 2004) ระบุว่า Market Value ของเครือซิเมนต์ไทยอยู่อันดับ 3 ของประเทศไทย โดยเฉพาะเป็นรอง AIS (Advance Info Services) ของตระกูลชินวัตรเพียงบริษัทเดียว ซึ่งก่อตั้งมาประมาณ 20 ปีเท่านั้น

เครือซิเมนต์ไทยในยุคหลังปี 2542 ให้ความสำคัญของความคิดเห็นของนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งมีวิธีคิดเช่นเดียวกับที่ BusinessWeek เสนอ ย่อมเป็นโจทย์ที่มีความหมายกว้างขวางและลึกมากทีเดียวสำหรับทีมบริหารรุ่นใหม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us