สายการบินเอมิเรตส์ไม่หวั่นวิกฤติเฉพาะหน้า
ตัดสินใจสั่งซื้อฝูงบินชุดใหญ่ มั่นใจอนาคตการเป็นศูนย์กลางการบินของดูไบ
และการเติบโตของธุรกิจการบินพาณิชย์ระยะยาว
เหตุการณ์โจมตีศูนย์กลางทางการเงินและการป้องกันประเทศอเมริกา เมื่อวันที่
11 กันยายนที่ผ่านมา ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความมั่นใจการเดินทางทางอากาศ
ซึ่งก่อให้เกิดปริมาณการบินตกต่ำและผลที่ตามมา คือ การขาดทุน ลดจำนวนพนักงาน
กว่า 2 แสนคนในอุตสาหกรรมการบิน
การสั่งซื้อฝูงบินชุดใหญ่ของสายการบินเอมิเรตส์ครั้งนี้ เกิดขึ้นในงานแสดงเทคโน
โลยีการบินระหว่างประเทศ "Dubai Interna-tional Air Show" จำนวน 58 ลำ มูลค่า
15 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6.75 แสน ล้านบาท กำหนดส่งมอบเสร็จสิ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการขยายฝูงบินเพิ่มเป็น
100 ลำภายใน 10 ปี
การสั่งซื้อฝูงบินโบอิ้งและแอร์บัสทั้ง 58 ลำเป็นการซื้อเครื่องบินครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การบินของเอมิเรตส์
ประกอบไปด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 25 ลำ และแอร์บัส 33 ลำ
"ทุกวันนี้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เป็นศูนย์กลางการเดินทางสู่ทุกมุมโลก
และมีบทบาทสำคัญบนเวทีระดับโลก เราจึงต้อง เร่งพัฒนาขยับขยายกิจการทุกแขนงที่เกี่ยวกับการค้า
การท่องเที่ยว และการคมนาคม" ชีค มูฮัมหมัด บิน ราชิด อัล มัคตุม มกุฎราช
กุมารแห่งดูไบ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหมแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กล่าว
การดำเนินการดังกล่าวเพื่อบรรลุเป้าหมายในการเป็นเวทีธุรกิจที่ดีที่สุด
แหล่ง ท่องเที่ยวชั้นนำ ศูนย์กลางการคมนาคมของ ภูมิภาค เมืองหลักทางการค้า
และการสื่อสาร ของตะวันออกกลาง การสั่งซื้อฝูงบินจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ
โครงการพาณิชย์และโครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ กำลังผุดขึ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
พร้อมๆ กับโครงการพัฒนาเกาะนอกชายฝั่งขนาดใหญ่สองแห่ง ที่จะเพิ่มความยาวของชายหาดเป็นสองเท่า
นอกจาก นี้สนามบินนานาชาติดูไบยังกำลังขยายตัว เพื่อรองรับการใช้บริการของผู้โดยสารที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก
5 เท่าตัวจาก 14 ล้านคนต่อปีในปัจจุบัน
"เราจะไม่มัวนั่งรอให้อนาคตมาถึงแต่พวกเราลงมือสร้างขึ้นมาด้วยตนเอง" ชีค
มูฮัมหมัดบอก
การที่สายการบินเอมิเรตส์ตัดสินใจสั่งซื้อเครื่องบินฝูงใหญ่ ทั้งๆ ที่อยู่ในช่วงวิกฤติ
ที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ไม่ใช่ความบังเอิญ ตรงกันข้ามกลับมุ่งมั่นในการดำเนินการตามแผนพัฒนาฝูงบินของตนเอง
โดยไม่ปล่อยให้สถาน การณ์ยุ่งยากเข้ามามีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบ
"แม้ว่าในระยะสั้นธุรกิจสายการบินต่างๆ ซบเซาลง แต่ในระยะยาวการเดินทาง
ด้วยเครื่องบินจะยังเป็นทางเลือกที่ดี" ชีค อาเหม็ด บิน ซาอิด อัล มัคตุม
ประธานสายการบินเอมิเรตส์ชี้ "คาดว่าธุรกิจการบินพาณิชย์จะขยายตัวเพิ่มเป็นสองเท่าในอีก
15 ปีข้างหน้า"
นโยบายหลักของเอมิเรตส์เปรียบเสมือน "การปรับม้าให้เข้ากับสนามแข่ง" หมายถึง
การปรับแต่งเครื่องบินต่างแบบต่างรุ่นให้เข้ากับเส้นทางการบินที่แตกต่างกันอย่างเหมาะสม
ท่ามกลางเครือข่ายการบินที่กำลังขยายตัว ตั้งแต่เมืองโอฮาและมัสกัสไปจนถึงทวีปอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย
"พวกเราเป็นสายการบินที่เติบโตเร็วที่สุดและประสบความสำเร็จมากสายหนึ่งของโลก
และภายใน 5 ปี คาดว่าจำนวน ผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นอีกสองเท่าจากปัจจุบัน" ชีค
อาเหม็ดเล่า
ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงจำเป็นต้องสั่งซื้อเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ในจำนวนมากขึ้น
โดยฝูงบินใหม่นี้จะมีที่นั่งเพิ่มขึ้น สะดวกสบาย และเพิ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
แต่ค่าใช้จ่ายจะลดลง ซึ่งทำให้สามารถรักษาระดับ ราคาค่าโดยสารให้ต่ำได้ การลงทุนครั้งมโหฬารนี้จึงเป็นการเตรียมการเพื่ออนาคต
ซึ่งเวลานี้เป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสมที่สุด
สายการบินเอมิเรตส์เกิดขึ้นในปี 1985 มีฐานธุรกิจที่ดูไบ และมีเครือข่ายมากกว่า
190 ประเทศ ตลอด 15 ปีมีผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทำกำไรได้
45 ล้าน เหรียญสหรัฐ