Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543
เกิดอะไรขึ้นใน INLIFE             
 


   
search resources

อินเตอร์ไลฟ์ จอห์นแฮนคอค ประกันชีวิต, บมจ.
Insurance




นับตั้งแต่จอห์น แฮนคอคเข้ามาถือหุ้นใน บมจ.อินเตอร์ไลฟ์ จอห์นแฮนคอค ประกันชีวิต (INLIFE) ผลการดำเนินธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จเท่า ที่ควร

ขณะที่ยักษ์ใหญ่ประกันชีวิตในอเมริกา จอห์น แฮนคอค ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บมจ.อินเตอร์ไลฟ์ จอห์นแฮนคอค ประกันชีวิต (INLIFE) โชว์รายได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ 7,790 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีที่แล้ว โดยมีธุรกิจประกันชีวิตเพิ่มขึ้น 18% ประกันสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 71% และกองทุนรวมเพิ่มขึ้น 47%

เดวิด อเลสซานโดร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของจอห์น แฮนคอคในบอสตัน กล่าวว่า บริษัทใช้กลยุทธ์การเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายให้มากขึ้น และลดค่าใช้จ่าย ที่ไม่จำเป็นออกไปทำให้มีผลประกอบการที่ดีขึ้น "ทำให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเพิ่มจาก 12.3% เป็น 16.7% ในปีนี้"

ในปี 2542 มีผลการดำเนินงานคิดเป็นรายได้หลังจากหักภาษีแล้วเป็นจำนวน 22,600 ล้านบาท ซึ่งมากขึ้นกว่าในปี 2541 ถึง 18,500 ล้านบาท ผลกำไรจากหน่วยลงทุนในปี 2542 เพิ่มขึ้น 13.2% เมื่อเทียบกับปี 2541

"กลยุทธ์การกระจายการลงทุนของเรายังคงประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากยอดขายของสินค้าหลักๆ ทุกตัวทำยอดสูงมากเป็นประวัติการณ์ ทั้งโบรกเกอร์ ประกันชีวิต ธนาคาร ตัวแทนจำหน่าย และการขายผ่านอินเทอร์เน็ต" อเลสซานโดรบอก

ในทางตรงกันข้าม บริษัทในเครืออย่าง INLIFE ที่จอห์น แฮนคอคถือหุ้นใหญ่จำนวน 24.97% กลับไม่ค่อยประสบความสำเร็จ สืบเนื่องจากการบริหารงาน ที่เป็นไปในลักษณะตะวันตก ซึ่งบางครั้งไม่เข้าใจตลาดธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย ทำให้ INLIFE "ถดถอย และไม่โต" จากความยึดมั่นการทำงาน "สไตล์ฝรั่ง"

ความจริงก่อน ที่จอห์น แฮนคอคจะเข้ามาถือหุ้นใน INLIFE ในปี 2533 มีปัญหาหลัก 2 อย่าง คือ ขาดทุนสะสม 260 ล้านบาท และความขัดแย้งระดับผู้บริหาร ที่เป็นคนไทยด้วยกัน จึงถือว่าจอห์น แฮนคอคเข้าร่วมลงทุน เพื่อการฟื้นฟูโดยแท้จริง และเป็นบริษัทประกันชีวิตต่างชาติแห่งแรก ที่เข้ามาร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่น (ไม่นับเอ.ไอ.เอ. ซึ่งมีฐานะเป็นบริษัทต่างชาติ) แต่การเข้ามาดังกล่าวกลับไม่เป็นไปตาม ที่หวัง

ผลที่ตามมา คือ การเคลื่อนย้ายบุคลากร ที่เป็นคนไทยหรือผู้ที่มีการทำงานในรูปแบบตะวันออกออกจากบริษัทเป็นจำนวนมาก ความตกต่ำขององค์กรจึงเกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง

กระนั้น ดี แอนโทนี โคลส กรรมการผู้จัดการ INLIFE ยังเชื่อว่าปีนี้ "เป็นปีทองของบริษัทในการหาตัวแทนเพิ่ม โดยเราเพิ่มความถี่ในการทำกิจกรรมหาตัวแทน และลูกค้าเพิ่มถึง 4 เท่าจากปีที่แล้ว" และสำหรับผู้ที่ย้ายไป ที่อื่นก็กลับเข้ามาใหม่ "เพราะเขารู้สึกว่าได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างอบอุ่นรวมทั้งการสนับสนุนจากบริษัทอย่างเต็มที่" โคลสมั่นใจ เพราะกิจกรรมต่างๆ ที่ทางการตลาดได้จัดทำขึ้นทำให้มีรายชื่อของผู้มุ่งหวังจำนวนมาก ซึ่งได้สร้างความตื่นเต้น และสนใจให้แก่ตัวแทนในการติดตาม และแนะนำกรมธรรม์แก่กลุ่มลูกค้าใหม่จำนวนมาก

แม้ว่าการเข้ามาของจอห์น แฮนคอคดูจะมีทั้งบารมี และแหล่งเงินทุน ที่ไร้ขีดจำกัดแต่การสร้างบริษัทให้เติบโตยั่งยืนรวมถึงการขจัดเส้นแบ่งการบริหารระหว่างตะวันออก และตะวันตกออกไปจำเป็น "ต้องใช้เวลา"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us