Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 สิงหาคม 2547
กทช.สัญญาณร้ายทศท/กสท ไม่เร่งปรับตัวอนาคตมืดมน             
 


   
www resources

โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม
โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
ทศท คอร์ปอเรชั่น
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
Telecommunications




การเกิดขึ้นของกทช.ไม่เพียงส่งสัญญาณดีกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั้งระบบ แต่ส่งสัญญาณร้ายถึงทศทและกสท หากไม่เร่งปรับตัว ก็ต้องเริ่มนับถอยหลัง นักวิเคราะห์ฟันธงทศทได้ รับผลกระทบหนัก 3 ด้าน ในภาวะแวดล้อมที่อ่อนแอไม่มีซีอีโอตัวจริง บอร์ดไม่เป็นเอกภาพมีการอ้างชื่อการเมืองหากินโครงการขนาดใหญ่ สหภาพฯเปลี่ยนขั้วหมดบทบาท ส่วนกสทเคราะห์ซ้ำกรรมซัด นอก จากใบอนุญาตโทร.ต่างประเทศที่กทช. สามารถให้คู่แข่งได้ทันทีแล้ว โครงการอนาคตอย่างซีดีเอ็มเอ ยังถูกอำนาจมืดหวังทุบโต๊ะประเคนให้ 2 เวนเดอร์ ทำร้ายองค์กรและประเทศชาติ

แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าวถึงการเกิดขึ้นของคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ว่าภาคเอกชนที่ทำธุรกิจโดยมีสัญญาร่วมการงานกับบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่นและบริษัท กสท โทรคมนาคม ต่างเห็นว่าเป็นผลดีกับอุตสาหกรรมโดยรวมเพราะเป็นการลดสภาพสุญญากาศที่เกิดขึ้นตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามตลาดประเทศไทยแตกต่างจากตลาดต่างประเทศ เพราะไทยมีผู้ประกอบการหลายรายอยู่ในสภาพการแข่งขันเสรีเต็มที่แล้ว เพียงแต่ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในตลาดเท่านั้นแต่จุดอ่อนที่สำคัญในวันนี้คือโครงสร้างการแข่งขันของเอกชนไทย แข่งขันกันจนอยู่ในระดับ "มั่ว" ก่อน มีกทช. ซึ่งต่างจากในต่างประเทศซึ่งส่วนมากมีรายใหญ่รายเดียวในตลาดและทำหน้าที่กำกับดูแลด้วยเมื่อเกิดกทช. จึงทำหน้าที่ในการสร้างการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมได้ไม่ยาก เพราะกทช.สามารถออกกฎระเบียบมากำกับดูแลตามโครงสร้างการแข่งขันที่ต้องการ

ในประเด็นนี้เอง ขณะที่เอกชน ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่หน่วยงานรัฐ ที่มีแผนเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น ทั้งทศทและกสทจะเป็นองค์กรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะทศท ที่มีรายได้จากส่วนแบ่งตามสัญญาร่วมการงาน ปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาท ย่อมถูกผลักดันจากเอกชนภายหลังจากที่กทช.กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ออกมา เพื่อนำไปสู่การแปรสัญญาที่จะมีผลกระทบกับรายได้จากสัญญาร่วมการงาน

แหล่งข่าวกล่าวว่า ผลกระทบที่เห็นได้ชัดของทศทคือ 1.อำนาจการกำกับดูแลหมดไปอย่างสิ้นเชิงการมีอำนาจเหนือเอกชนที่เป็นคู่สัญญาร่วมการงานจะหมดไป ความเกรงใจที่เคยมีก็เป็นเรื่องไม่จำเป็น เช่นการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมเดิมเอกชนอยู่ใต้อำนาจ ทศท จากนี้ไปถือเป็นหน้าที่ของกทช. แล้ว 2.กทช.มีหน้าที่ทำให้เกิดการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ความได้เปรียบด้านการตลาดที่ทศทเคย มีเหนือเอกชนก็หมดไปด้วย เช่นกรณีทรูหรือทีทีแอนด์ที เดิมจะทำโปรโมชันการตลาดอะไรจำเป็น ต้องได้รับความยินยอมเห็นชอบจากทศทก่อน ก็จะเปลี่ยนไปตามกฎเกณฑ์ของกทช.ซึ่งรวมทั้งทศท ก็ต้องเดินตามกฎของกทช. ด้วยหาก ได้รับผลกระทบก็กลายเป็นความเสี่ยงทั้งที่เดิมทศทไม่เคยมีความเสี่ยงในเรื่องเหล่านี้เลย

3.การกำหนดกฎกติกาของกทช.จะกลายเป็นข้ออ้างของบริษัทร่วมการงานเอกชนในการไม่ปฏิบัติตามสัญญาร่วมการงานซึ่งจะนำไปสู่การฟ้องร้องมากมายโดยเอกชนจะยื่นฟ้องขอเปลี่ยนเงื่อนไขจากสัญญาเดิม เพื่อให้สามารถได้รับความเป็นธรรมจากกฎใหม่ที่ออกโดยกทช.ในทุกกรณี จึงมีโอกาสเกิดกรณีความทับซ้อน คือกฎใหม่ที่กทช. ออกมาก็ปฏิบัติกันไป แต่การยื่นฟ้องร้องคัดค้านก็ดำเนินคู่ขนานกันไป เพื่อเลิกเงื่อนไขตามสัญญาเดิม

ตัวอย่างการขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นตามสัญญาใหม่ สมมติเรื่องสัญญาการเช่าบ้าน ทศทให้ทรูเช่าบ้านอัตราเดือนละ 2 หมื่นบาท แต่พอ กทช.กำหนดกฎเกณฑ์ว่าค่าเช่าบ้านในบริเวณนั้นมีเพดานสูงสุด ไม่เกิน 1 หมื่นบาท หมายถึงทรูก็อาศัยกฎเกณฑ์ของ กทช.ใหม่นี้ เพื่อเปลี่ยน แปลงค่าเช่าจากสัญญาเดิมในขณะที่ทศทก็อาจฟ้องว่าทรูไม่ปฏิบัติตามสัญญาร่วมการงานเดิม

"เรื่องนี้ฝ่ายกฎหมายเอกชนหลายแห่งเตรียมการมาก่อนเกิดกทช.แล้วโดยต้องดูความเป็นไปได้ทุกรายการในเงื่อนไขเดิม และมั่นใจว่าเมื่อกทช.ออกกฎเกณฑ์ใดที่ดีกว่าเงื่อนไขเดิมที่รับภาระอยู่ เอกชนจะหยิบยกประเด็นขึ้นมาทันที"

แหล่งข่าวกล่าวว่าวันนี้ ทศทและกสทเรียกได้ว่าอยู่ในช่วงนับถอยหลัง (Count Down) โดยเฉพาะ ทศท เดือดร้อนหนักแน่หากไม่ปรับตัว แต่วันนี้ทศทยังนิ่งอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมากแต่เป็นเพราะอยู่ในช่วงสุญญากาศทั้งไม่มีกรรมการผู้จัดการใหญ่ตัวจริง บอร์ดที่ไม่เป็นเอกภาพมากนักมีการอ้างชื่อการเมือง หาประโยชน์จากโครงการประมูลขนาดใหญ่และสหภาพฯทศทที่มีการ เปลี่ยนขั้วอำนาจจากเดิมที่แข็งแรงมาก มาเป็นอึมครึมแม้กระทั่งในขณะที่ยังไม่ได้บริหารงานอะไร แต่เกิดข่าวลือแพร่สะพัดถึงความไม่ชอบมาพากลต่างๆ

"ทศทน่าจะเป็นหน่วยงานที่วิตกมากที่สุด และต้องวางกลยุทธ์อย่างเร่งด่วนกว่าใคร ต้องเอาเรื่อง USO หรือ Universal Service Obligation มาเป็นโอกาสในการถือสิทธิให้บริการที่จำเป็นต้องมีในอนาคต"

สำหรับผลประกอบการทศทในช่วงครึ่งปีแรกมีรายได้รวม 31,600 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 21,200 ล้านบาท กำไรเบื้องต้น 10,300 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิประมาณ 6,800 ล้านบาท ทั้งนี้ รายได้สูงกว่าช่วงเดียวกันของ ปี 2546 จำนวน 6.6%

อย่างไรก็ตาม ผลกำไรสุทธิ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2003 ที่มีกำไรสุทธิ 7,080 ล้านบาท ถือว่ามีอัตราที่ลดลงประมาณ 280 ล้านบาทโดยมีสาเหตุจากรายได้ต่อเลขหมาย ของโทรศัพท์พื้นฐานลดลงเนื่อง จากมีการลดค่าโทร.ทางไกล ภายในประเทศซึ่งถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นแต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนรายได้เดิมประกอบกับโทรศัพท์มือถือลดค่าโทร.ลงมาเป็นอย่างมากทำให้รายได้จากบริการ ดังกล่าวของปี 2004 มีรายได้ 11,000 ล้านบาทลดลง 3% เมื่อเทียบกับ 2003

นอกจากนี้เรื่องการลดค่าโทร. ต่างประเทศถูกกระทบ 5% โดยปี 2003 มีรายได้ 1,500 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเดือนม.ค. ที่ผ่านมากระทรวง ไอซีทีได้มีนโยบายให้ทศทยกบริการ โทร.ทางไกลต่างประเทศให้ กสทและแบ่งส่วนแบ่งรายได้คนละครึ่งซึ่งขณะนี้ยังตกลงเรื่องส่วนแบ่งไม่ลงตัว และเมื่อเดือนก.ค. ทศทได้ลด ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายให้กสท เหลือ นาทีละ 3 บาทจาก 6 บาท เพื่อแลกกับการลดค่าเช่าเกตเวย์ของกสท ด้านนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานบอร์ดทศทกล่าวว่าในครึ่งปีหลังธุรกิจโทรคมนาคมจะมีการแข่งขันสูงขึ้น อย่างไรก็ตามช่องทางและโอกาสทางธุรกิจด้านโทรคมนาคมยังมีอีกมาก ซึ่งด้วยศักยภาพทศทใน เร็วๆนี้ บริการโทรคมนาคมที่ทันสมัย และคอนเทนต์และแอปพลิเคชันต่างๆ จะเปิดให้บริการได้อีกมาก

แหล่งข่าวกล่าวว่าสำหรับกสทในระยะสั้นได้ผลกระทบรุนแรง เช่น ความเสียหายจากธุรกิจโทรศัพท์ต่างประเทศ ซึ่งเดิมถือเป็นสิทธิผูก ขาดเพราะธุรกิจนี้กทช. สามารถให้ใบอนุญาตได้ทันที แต่ระยะยาวหากใช้โทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอ เป็นยุทธศาสตร์หลักอาจไปรอด จึงไม่แปลกที่บอร์ดกสท ให้ความสำคัญมากโดยเฉพาะความพยายามทบทวนสัญญาที่ทำไว้กับฮัทช์ เนื่องจาก กสทอยู่ระหว่างทำโครงการซีดีเอ็มเอในภูมิภาค

"น่าจะเรียกว่าเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะซีดีเอ็มเอกำลังจะจบอยู่แล้ว แต่เกิดความพยายามทำให้ทีโออาร์บิดเบี้ยว เกิดการงัดข้อกันในบอร์ด หวังอาศัยเรื่องเทคโนโลยีและยืมมือควอคอมม์ มาเป็นเหตุผลจูงใจ เพื่อเอื้อประโยชน์ไม่ให้เกิดความเป็นธรรม เป็นการต่อสู้ระหว่างกรรมการ บอร์ดที่ต้องการรักษาประโยชน์องค์กร และประเทศชาติ กับกรรมการบอร์ดที่เป็นทาสรับใช้การเมืองกับเวนเดอร์ 2 ราย ซึ่งในสัปดาห์นี้น่าจะรู้ผลหลังจากที่บอร์ดกสทเมื่อ 27 ส.ค.ตีกลับทีโออาร์"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us