Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 สิงหาคม 2547
ธปท.บีบแบงก์ลดเอ็นพีแอลปรับเกณฑ์กันสำรองหนี้เพิ่ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Banking




แบงก์ชาติ บีบธนาคารพาณิชย์เร่งปรับโครงสร้างหนี้ สั่งกันสำรองหนี้เพิ่มสำหรับหนี้ที่ปรับโครงสร้างไม่คืบ โดยหากเกิน 12 เดือนให้กันสำรองหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญ 100% หากเกิน 36 เดือนกันสำรองเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 50% หวังเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของสถาบันการเงิน ระบุแบงก์พาณิชย์ 5 แห่งมียอดเอ็นพีแอลเพิ่ม ทหารไทยนำทีมยอดหนี้สงสัยเพิ่ม 2 ไตรมาสติด

นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยงและวิเคราะห์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนถึงธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือฟ้องร้องดำเนินคดีทางกฎหมาย กันเงินสำรองเพิ่มสำหรับยอดคงค้างหลังหักเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์ได้กันไว้แล้ว ซึ่งอัตราส่วนการกันเงินสำรองขึ้นอยู่กับระยะเวลาการค้างชำระหนี้

ขณะเดียวกัน ได้ให้ยกเลิกเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันสำหรับสินทรัพย์ที่มีการประเมินราคาหรือตีราคาไว้เกินกว่า 12 เดือน จากเดิมที่กำหนดให้นำมาหักจากยอดคงค้างก่อนการกันเงินสำรองได้ไม่เกิน 50% ของมูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาหรือการตีราคาโดยวัตถุประสงค์ของหนังสือเวียนฉบับดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและศักยภาพของธนาคารพาณิชย์ให้เข้มแข็งขึ้น และส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้สำเร็จเร็วขึ้น ซึ่งให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไป

สำหรับหลักเกณฑ์การจัดชั้นสงสัยจะสูญที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือฟ้องร้องดำเนินคดีนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์กันสำรอง โดยพิจารณาจากระยะเวลาที่ลูกหนี้ค้างชำระ หากเกิน 12 เดือน แต่ไม่เกิน 24 เดือนให้ธนาคารพาณิชย์นำมูลค่าของหลักประกันซึ่งได้ประเมินราคาตามหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของสถาบันการเงินตามที่ธปท.กำหนดมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ และให้กันเงินสำรองในอัตรา 100%

หากค้างชำระเกิน 24 เดือน แต่ไม่เกิน 36 เดือน ให้กันสำรองเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 25% ของยอดคงค้างหลังหักเงินสำรองที่ได้กันไว้แล้วสำหรับลูกหนี้รายนั้นๆ และหากค้างชำระเกิน 36 เดือน แต่ไม่เกิน 48 เดือน ให้กันเงินสำรองเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 50% ส่วนลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 48 เดือน ให้ธนาคารพาณิชย์กันเงินสำรองเพิ่มเต็มจำนวนของยอดคงค้างหลังหักเงินสำรองที่ธนาคารได้กันไว้แล้ว

ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ได้ดำเนินการกันสำรองสำหรับสินทรัพย์สงสัยจะสูญแล้ว หากธนาคารพาณิชย์ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธปท. หรือฟ้องร้องดำเนินคดีทางกฎหมายในภายหลัง ธนาคารพาณิชย์แห่งนั้นไม่ต้องกันสำรองเพิ่มอีก และในกรณีที่ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ธปท. ให้ธนาคารพาณิชย์จะโอนเงินสำรองส่วนเกินกว่าจำนวนเงินสำรองพึงกันกลับเป็นรายได้

ส่วนกรณีที่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีทางกฎหมายภายหลังจากที่ได้ดำเนินการกันเงินสำรอง ให้ธนาคารพาณิชย์คงเงินสำรองที่กันไว้แล้ว สำหรับลูกหนี้รายนั้นๆ ไว้ในบัญชีต่อไป ส่วนเงินสำรองที่กันไว้เพิ่มขึ้น ห้ามโอนกลับเป็นรายได้ แต่สามารถโอนไปใช้เป็นเงินสำรองสำหรับลูกหนี้รายอื่นได้

อย่างไรก็ตาม หากธปท. พิจารณาเห็นว่ามีความผิดปกติในการปรับโครงสร้างหนี้ ธปท. อาจสั่งให้มีการแก้ไข หรือให้ธนาคารพาณิชย์หาผู้เชี่ยวชาญอิสระมาประเมินหรือทบทวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือสั่งการให้เปลี่ยนแปลงการจัดชั้นและการกันสำรองสำหรับลูกหนี้ในแต่ละรายได้

ด้านธนาคารพาณิชย์ รายงานยอดหนี้สงสัยจะสูญของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 13 แห่ง ณ ไตรมาส 2 ปี 2547 แจ้งว่า มีธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง ที่หนี้สงสัยจะสูญลดลงจากไตรมาสแรก และธนาคารพาณิชย์ 5 แห่งที่มียอดหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม โดยธนาคารทหารไทย มียอดหนี้สงสัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมา 2 ไตรมาสติดต่อกัน โดยเริ่มตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 47 ที่มีเอ็นพีแอล อยู่ที่ 32,811ล้านบาท หรือ 10.80% ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นไตรมาส 4 ปีก่อน ที่มีเอ็นพีแอลเพียง 29,831 ล้านบาท หรือคิดเป็น 9.89% ของยอดสินเชื่อรวม ล่าสุดไตรมาส 2 ปีนี้ เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ 33,446 ล้านบาท หรือคิดเป็น 11.10%

ส่วนธนาคารพาณิชย์ที่เหลือมีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 น้อยเท่านั้นคือ ธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นครธน จำนวน 1,406 ล้านบาท หรือ 2.79% เพิ่มขึ้นจาก 1,397 ล้านบาท หรือ 2.73% ธนาคารยูโอบี รัตนสิน 3.89% หรือ 1,853 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 3.60% หรือ 1,767 ล้านบาท ธนาคารธนชาต 1,991 ล้านบาท หรือ 6.08% เพิ่มขึ้นจาก 1,845 ล้านบาท หรือ 5.56% ขณะที่ธนาคารกรุงไทย มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นสูง เนื่องจากธปท.สั่งให้มีการ ตั้งสำรองเพิ่มขึ้นจาก 79,651 ล้านบาท หรือ 7.78% เป็น 125,697 ล้านบาท หรือ 12.29%

ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ส่วนมากล้วนมีเอ็นพีแอลลดลงจากไตรมาสแรก คือ ธนาคารกรุงเทพ มีหนี้เสียลดลงจาก 193,250 ล้านบาท หรือ 22.11% เหลือ 185,436 ล้านบาท 20.49% ธนาคารกสิกรไทยมีหนี้เสียลดลงจาก 64,743 ล้านบาท หรือ 12.06% เหลือ 58,957 ล้านบาท หรือ 10.60% ธนาคารไทยพาณิชย์มีเอ็นพีแอลลดลง จาก 87,102 ล้านบาท หรือ 16.37% เหลือ 85,287 ล้านบาท 15.03% รวมถึงธนาคารกรุงศรีอยุธยา นครหลวงไทย ดีบีเอส ไทยทนุ เอเชีย ไทยธนาคาร ล้วนมีหนี้สงสัยจะสูญปรับลดลงเช่นกัน

สำหรับหนี้เอ็นพีแอลของบริษัทเงินทุน (บง.) นั้น บริษัทเงินทุนเกียรตินาคิน ซึ่งมีแผนจะยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ ได้มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจำนวนมากจาก 3,675 ล้านบาท หรือ 13.67% เป็น 5,629 ล้านบาท หรือ 18.49% ซึ่งสวนทางกับ บง. และ บค. (บริษัทเครดิตฟองซิเอร์) แห่งอื่นที่มีแผนจะยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ ที่ล้วนมียอดหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลงทั้งสิ้น อาทิ บง.ทิสโก้ บง.ฟินันซ่า บง.เอไอจี ไฟแนนซ์ (ประเทศไทย) รวมถึง บค.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ฯลฯ

ก่อนหน้านี้ นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย กล่าวถึงการแก้ปัญหาเอ็นพีแอลว่า เมื่อปีที่แล้ว ธนาคารได้แก้ปัญหาโดยขายเอ็นพีแอลให้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) มูลค่ารวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท และธนาคารไม่มีนโยบายขายเอ็นพีออกไปอีก โดยจะขอเป็นผู้ปรับโครงสร้างเอง ซึ่งหลังจากควบรวมกิจการธนาคารเสร็จแล้ว จะมียอดเอ็นพีแอลรวม อยู่ที่ 11-12% และตั้งเป้าหมายว่าจะลดเหลือต่ำกว่า 5% ภายใน 2 ปี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us