Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2545
จีอี แคปปิตอลกับภูมิภาคเอเชีย             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
search resources

จีอี แคปปิตอล - GE Capital




ธรรมชาติการขยายกิจการทางด้านการเงิน ของบรรษัทข้ามชาติมักเป็นข่าวครึกโครม แต่การบริหารงานของกลุ่มจีอี แคปปิตอล กลับวางแผนอย่างเชี่ยวชาญให้ได้มาซึ่งพันธมิตร ในภูมิภาคเอเชียปราศจากการประชาสัมพันธ์

ชื่อจีอี แคปปิตอล (GE Capital) แขน ขาธุรกิจบริการทางการเงินของเจเนอรัล อิเลคทริค (GE) ซึ่งมีอำนาจและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน และธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในเอเชีย

แม้ว่าสถานะของจีอี แคปปิตอลที่เป็น non-banking แต่ประสบความสำเร็จในการสร้างและได้มาซึ่งการถือครองธุรกิจการเงินทั่วภูมิภาคนี้ และความคล่องแคล่วของการทำงาน บางทีอาจจะสมบูรณ์แบบมากกว่าธนาคารพาณิชย์ท้องถิ่นบางแห่ง

กลยุทธ์ของบริษัทเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับธนาคารพาณิชย์ แม้ในยามนี้ธนาคาร ไม่ต้องการปล่อยสินเชื่อลูกค้าแบบนี้มาก เพราะอัตราเสี่ยงสูงและยังต้องกันเงินสำรอง ด้วย แต่ในอนาคตซึ่งการแข่งขันในกิจการบริการทางการเงินมีสูงมาก เพราะธนาคารต่างชาติที่ซื้อกิจการธนาคารพาณิชย์ไทยต่าง ตระเตรียมขยายบริการเข้าสู่ฐานลูกค้ากลุ่มนี้ที่ได้จากธนาคารไทย กลยุทธ์ของ จีอีเท่ากับแข่งกับธนาคารพาณิชย์กลุ่มนี้โดยตรง

จีอี แคปปิตอลในความแตกต่างใช้ประโยชน์จากอิทธิพลทางความคิดทางการเงิน เพื่อลงทุนในการให้บริการทางการเงิน โดยเสนอตัวเข้ามาช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคเอเชียนับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 90 ในรูปแบบการร่วมลงทุนเป็นสำคัญซึ่งกินบริเวณพื้นที่ตั้งแต่ญี่ปุ่นลงไปจนถึงออสเตรเลีย

ปี 1997 บริษัทเริ่มต้นด้วยการเสาะแสวงหาเป้าหมายในการเข้าซื้อธุรกิจด้วยการ ใช้เงินน้อย แต่มีประสิทธิภาพการทำกำไรใน ธุรกิจบริการทางการเงิน อาทิ ลิสซิ่ง ประกัน ชีวิต และสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค

ปัจจุบันหากไม่รวมญี่ปุ่น จีอี แคปปิ ตอลมีทรัพย์สินและสิ่งที่พึงได้รับมีรวมกันสูง ถึง 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ และยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจไม่เคยอยู่เฉยบนความพึงพอใจกับความสำเร็จ

"เป้าหมายของพวกเราต้องการสร้างความเติบโตอีกเท่าตัวในอีก 3 ปีข้างหน้า" สตีฟ เบอร์ทามินี ประธานจีอี แคปปิตอล แห่งเอเชียบอก
เบอร์ทามินีเป็นผู้เชี่ยวชาญและรับผิดชอบงานด้านการควบรวมกิจการในภูมิภาคแห่งนี้ ยกเว้นญี่ปุ่น เกาหลีใต ้ และอินเดีย ภารกิจของเขา คือ การมองหาพันธมิตรที่ดี

นี่คือคุณลักษณะโดดเด่นของจีอี แคป ปิตอล ดังเช่นในกรณีช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 1997-1998 เข้ามาให้บริการสินเชื่อเพื่อเช่าซื้อรถยนต์ในประเทศไทย จากการชนะการประมูลสินเชื่อรถยนต์ของ ปรส. (องค์การเพื่อ การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน) โดยมีมูลค่า บัญชี 43,200 ล้านบาท ที่สำคัญยังลงหลักปักฐานให้แข็งแกร่งในธุรกิจเช่าซื้อเครื่องบินพาณิชย์ในประเทศจีน

บริบทความยิ่งใหญ่ของจีอี แคปปิ ตอลในเอเชีย ได้ปล่อยเงินออกไป 1 พันล้านเหรียญสหรัฐกับสินเชื่อผู้บริโภคในอินเดีย และจ่ายเงินเพื่อซื้อกิจการทางการเงินและประกันภัยในญี่ปุ่น คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 30 พันล้านเหรียญสหรัฐ

หากพิจารณาถึงขนาด ตามปกติของบริษัทแห่งนี้แล้ว มักจะกล่าวถึงสินทรัพย ์ซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ไป จนถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

"พวกเราไม่มีจุดมุ่งหมายการเข้าร่วม ทำงานกับสิ่งที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ" เบอร์ทามินีชี้ "บริษัทต้องการขนาด เพราะเป็น เรื่องของงบการเงินที่จะเป็นเครื่องยืนยันต่อ ความพยายามในการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งตลาด"

ความสำคัญและความคาดหวังกับตลาดเอเชียของจีอี แคปปิตอล ก็คือ เป็นพลัง ขับเคลื่อนให้เติบใหญ่บนตลาดโลกในอนาคต รวมถึงตลาดเมืองจีน "พวกเรามีผลประกอบ การดีเยี่ยมจากฐานธุรกิจที่มีศักยภาพ"

โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่นับญี่ปุ่นและ ออสเตรเลีย จีอี แคปปิตอลในเมืองไทยสามารถทำรายได้เป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคนี้แม้ว่าจำนวนตัวเลขจะไม่เป็นที่เปิดเผยก็ตาม เพราะเป้าหมายของจีอี แคปปิตอลในไทยอยู่ที่การสร้างธุรกิจให้เป็นธุรกิจระดับโลก ให้ เป็นบริษัทที่มีฐานะเทียบเท่าหรือเหนือกว่าบริษัทที่ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นที่ใดในโลก

คำพูดของจอห์น เอฟ.เวลช์ แห่งเจเนอรัล อิเลคทริค เมื่อครั้งเดินทางมาเยือนประเทศไทย บอกว่าแนวทางที่บริษัทใช้ในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก ให้คิดในขอบข่ายโลกและกระทำในชุมชนท้องถิ่น (think glo-bally, act locally)

"ผมปรารถนาที่จะให้ไทยมองเห็นผมเป็นชาวอเมริกัน ที่อยากจะเป็นหุ้นส่วนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย" ตีความง่ายๆ ก็คือ เขาเห็นประเทศไทยมีความหมายสำหรับ จีอี แคปปิตอลเป็นอย่างยิ่ง

เครื่องหมายการค้าของบริษัท คือ การเข้าไปซื้อกิจการและดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง นั่นหมายถึงการสร้างรายได้แล้วนำกลับสู่บริษัทแม่และโอกาสการทำธุรกิจใหม่

"บางเวลายังเข้าไปร่วมลงทุนกับสถาบันอื่นๆ" เบอร์ทามินีบอก "บางกรณีหากมีโอกาสเพียงพอ พวกเราจะเข้าไปให้บริการจากศักยภาพด้วยตัวเอง"

ดังนั้นโดยหลักการพื้นฐานแล้ว จีอี แคปปิตอล จึงมีความยืดหยุ่นอย่างมากบนพื้นที่ที่มองเห็นว่าเป็นกุญแจสำคัญต่อโอกาส การเติบโตบนตลาดบริการทางการเงินในประเทศแถบเอเชีย

อะไรก็ตามที่เป็นไปได้ในความแตกต่างจากสถานะผู้เล่นต่างชาติ จีอี แคปปิตอล จะพยายามหลีกเลี่ยงด้วยการใช้วิธีการและทำงานร่วมกับกิจการท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือให้เกิดความแข็งแกร่งแทนที่จะเข้ามาสร้างธุรกิจแบบปะทะกันซึ่งๆ หน้า

"พวกเราจะเชื่อมประสิทธิภาพ กระบวนการและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จในตลาดท้องถิ่น"

ยกตัวอย่างเช่นบริษัทอาจจะตัดสินใจเข้าไปลงทุนกับสถาบันการเงินและธนาคาร พาณิชย์โดยยินยอมร่วมมือกันเพื่อดำเนินธุรกิจผ่านเครือข่ายของพันมิตรในธุรกิจเครดิตการ์ด หรือสินเชื่อ

อีกทั้งอาจจะใช้แขนขาตัวเอง คือ Strategy Equity Division เข้าถือหุ้นน้อยในธนาคารพาณิชย์หรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งหากเห็นว่าเป็นการผนึกกิจการที่ดี

หากพูดถึงผลประกอบการของจีอี แคปปิตอล ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า 80% มาจากสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค บังเอิญบริษัทได้พันธมิตรเข้ามาดีซึ่งก็คือวิธีหาลูกค้าวิธีหนึ่งด้วย และการนำโปรแกรมการปล่อยสินเชื่อจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในเอเชีย รวมถึงประเทศไทยจึงไปได้ดี

"บางครั้งการดำเนินธุรกิจที่นี่มีความ แตกต่างไปจากสิ่งที่ทำในสหรัฐอเมริกา ที่นั่นมีธุรกิจที่พวกเราทำไม่ประสบความสำเร็จแทบจะไม่ค่อยมี" เบอร์ทามินีกล่าว "ในเอเชียบริษัทจะต้องคอยดูแลทั้งธุรกิจตัวเองและคู่ค้าไปพร้อมๆ กัน ซึ่งทำได้ดีในญี่ปุ่น และออสเตรเลีย"

ช่วงปีที่ผ่านมาจีอี แคปปิตอลในเอเชียมีบทเรียนบทเล็กๆ สำหรับการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต ข้อแรก บริษัทได้ศึกษามานานกว่าปีว่าจะไม่ดำเนินธุรกิจแบบใช้กระบวนความคิดเพียงลำพัง

"เป็นครั้งแรกที่ไตร่ตรองถึงเป้าหมายด้วยตนเองหรือไม่สามารถทำงานได้ นับตั้งแต่ที่กลั่นกรองในรูปแบบของเรา ดังนั้นจึงมีความเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นอยู่กับการเข้า สู่ธุรกิจ" เบอร์ทามินีอธิบาย

เมื่อพิจารณาถึงการเข้ามาสู่ลักษณะการปฏิบัติงาน หมายถึงความสำคัญที่บริษัท มีความสามารถในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจ "เมื่อเข้าทำงานจะต้องเห็นเป็นรูปเป็นร่างอย่างแท้จริง"

อย่างไรก็ดี จีอี แคปปิตอลจะพิจารณา ในเงื่อนไขสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและโครงสร้างว่า ถึงเวลาเหมาะสมแล้วหรือไม่ที่จะเข้าไปดำเนินธุรกิจเพื่อให้ได้มาซึ่งมูลค่าที่สมเหตุสมผล

สำหรับการประเมินการลงทุนในเอเชีย เบอร์ทามินีเห็นว่ามูลค่าที่ปลอดภัย คือ การมีพันธมิตรกับท้องถิ่น เนื่องจากผู้ประกอบ การเหล่านั้นมีฐานลูกค้าพร้อมกับการขยายธุรกิจที่แน่นอน ซึ่งจีอี แคปปิตอลมีการพัฒนา กลยุทธ์เข้าสู่ธุรกิจบนประสบการณ์ของตัวเอง อย่างไรก็ตามพวกเขายังต้องกลับมาทบทวน ความคิดเสียก่อน "ถ้าพวกเราไม่สามารถประเมินบริษัทได้อย่างเหมาะสม บางทีก็ตัดสินใจไม่เข้าไปลงทุนเลย"

หากจีอี แคปปิตอลเป็นเพียงบริษัทเล็กๆ คงไม่สามารถคิดถึงประเด็นเหล่านี้ได้ และคงไม่มีความสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างราบรื่น ปัจจุบันบริษัทจึงพยายามที่จะดูว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะผลักดันให้ก้าวต่อไปได้

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญเรื่องบุคลากร เพราะความคิดและแนวทางทำธุรกิจนั้น เกิดมาจากไอเดียของคน โดยเฉพาะ การทำธุรกิจในแต่ละท้องถิ่นนั้น คนท้องถิ่นจะรู้ดีที่สุด "ความแตกต่างของจีอีกับบริษัทอื่นคือ เวลาที่เราเรียนในโรงเรียนธุรกิจนั้น ต้องมีแผนการและดำเนินการ แต่สำหรับพวก เรานั้นเริ่มที่คนอเมริกัน 2 คน ไม่สามารถมา นั่งคิดแผนการอะไรที่เหมาะสมและถูกต้อง แก่ประเทศไทยได้ ต้องเป็นคนไทย 2 คนต่างหาก ซึ่งในเมืองไทยนี้เราได้พบได้ฝึกขึ้นมาแล้ว ผมเชื่อว่าคนมีความสำคัญที่สุด นั่นคือ วิญญาณของจีอี ไม่ใช่แผนการ" แจ๊กเวลช์กล่าว

เขาอธิบายอีกว่า บริษัทมองว่าตำแหน่งงานเป็นเครื่องมือหรือกลไก จีอีเป็น ผู้ที่ถือกระป๋องน้ำในมือหนึ่ง ขณะที่มืออีก ข้างถือถุงปุ๋ย "เราทำการรดน้ำลงไปยังต้นไม้ ซึ่งก็คือบุคลากรในองค์กรของเรา ใส่ปุ๋ยลงไป งานของเราคือหล่อเลี้ยงให้ต้นไม้เหล่านี้เติบโตได้ตามความฝันของพวกเขา พนักงาน กว่า 2,000 คนของเรา มีโอกาสเติบโตภายใต้ การดูแลรับผิดชอบของเรา และอาจจะงอก เงยขึ้นมาเป็น 5,000 หรือ 10,000 คน นี่คือแนวทางของเรา"

อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าจีอี แคปปิตอลได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการขยายตัวเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย โดยอาศัยความโชคร้ายของผู้ประกอบการที่ได้รับ บาดเจ็บจากวิกฤติเศรษฐกิจ

"แน่นอนว่าวิกฤติเศรษฐกิจเปิดโอกาสให้พวกเรา แต่หากปราศจากสถาน การณ์ที่ว่าแล้ว คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างอาจจะไม่เป็นเช่นปัจจุบันถึงแม้โอกาสจะยังคงมีอยู่ก็ตาม" เบอร์ทามินีบอก

ปัจจุบันบริษัทไม่อยากให้ภาพออกมา สู่สาธารณะในเชิงที่ว่ามีการขยายกิจการไปกี่บริษัทแล้ว แต่น่าจะออกมาในลักษณะที่ว่า ตอนนี้มีการจ้างงานท้องถิ่นไปกี่ตำแหน่งแล้ว และจะจ้างเพิ่มขึ้นอีกเท่าไร ที่สำคัญบริษัทช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในแถบนี้อย่างไร

หากพิจารณาถึงสถิติของจีอี แคปปิ ตอลในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าได้เข้าซื้อธุรกิจในประเทศแถบเอเชียเฉลี่ยแล้วมากกว่า 100 ธุรกิจ จากนั้นก็ผสมผสานอุตสาห กรรมให้เข้ากับสถานการณ์ของโลก ซึ่งเนื้อหามีความเหมาะสมกับการเข้าสู่ตลาด หรือไม่ก็เห็นศักยภาพในระยะยาว โดยพึ่งพาอาศัยตลาดจากประเทศเหล่านั้น

บริษัทยังมีแนวคิดจากความรู้สึกการดำเนินงานและถ้ารู้สึกว่า ไม่มีแรงดึงดูดด้านผลตอบแทนระยะยาวเมื่อเทียบกับความพยายามไม่มีทางที่เข้าไปเสี่ยง

"ไม่มีความลำบากสำหรับการตัดสินใจหากความเสี่ยงและผลตอบแทนไม่มีความ สมดุล"

วิกฤติทางเศรษฐกิจของเอเชียได้เปิด โอกาสให้บริษัทยักษ์ใหญ่ชั้นนำของโลก เข้ามาสร้างธุรกิจแสวงหาผลกำไรกันอย่างมโหฬาร แน่นอนบริษัทต่างชาติย่อมมีข้อได้เปรียบกว่าผู้ประกอบการท้องถิ่นในทุกๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฐานการเงิน เทคโนโลยี หรือ บุคลากร

วิกฤติครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญในแง่ที่จีอี แคปปิตอลสามารถกุมธุรกิจสำคัญในภูมิภาคนี้ได้สำเร็จแล้ว

ประวัติศาสตร์ของจีอี แคปปิตอล คือ ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายใต้แรงกดดันจากสังคมเศรษฐกิจ และการเมือง โดยถือกำเนิดขึ้นในช่วงที่เกิดความตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 1933 ในธุรกิจการเงินเพื่อเข้าช่วยเหลือสินเชื่อผู้บริโภคให้กับ GE Appliances และ GE Credit

จากนั้นบริษัทได้แสวงหาหนทางในการดำเนินธุรกิจ เมื่อ George Mosher ผู้ ก่อตั้งและประธานของ GE Contracts Corporation แนะนำให้จัดตั้งบริษัททางด้านการเงินขึ้นมาเพื่อให้สินเชื่อแก่ลูกค้า

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อจีอีเปลี่ยนการดำเนินงานจากการให้บริการลูกค้าสู่การผลิต พวกเขาก็ทำการเปลี่ยนชื่อไปเป็น GE Credit Corporation และกลายเป็นบริษัทลงทุนไปจนถึงให้กู้เงินและลงทุนในตราสารทางการเงิน

ในปี 1959 เป็นช่วงเดียวกับความต้องการทางด้านสินเชื่อเติบโตอย่างมาก จน บริษัทมีผลประกอบการ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ การประสบความสำเร็จอย่างงดงามเกิดจากความยืดหยุ่นของการบริหารงานและเข้าใจตลาด

ผ่านเข้าสู่ทศวรรษที่ 1980 บริษัทเริ่มมีประสบการณ์ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดการขยาย ฐานและแยกธุรกิจออกจากกันถึง 20 ประเภท และในปี 1987 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น GE Capi-tal จนถึงปัจจุบัน

ปีที่ผ่านมา จีอี แคปปิตอลมีรายได้ 54,267 ล้านเหรียญสหรัฐ กำไรสุทธิ 4,289 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีสินทรัพย์รวม 332,636 ล้านเหรียญสหรัฐ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us