นอกเหนือจากการเลือกดูรายการ
จากหน้าจอโทรทัศน์ การรับชมรายการทีวี
จากหน้าจอพีซี เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของ
ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต
ถ้าไม่มีเนื้อหาให้คนดู มีแต่ท่อ คนก็ จะรู้สึกว่าทำไมเขาต้องมาซื้อบริการบรอดแบนด์
เราต้องหาอะไรมาให้คนได้ชม เพื่อให้ เขารู้สึกว่า เขาจะได้รับบริการที่แตกต่างไปจากเดิม"
คมสัน เสรีภาพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัทชิน บรอดแแบนด์ อินเตอร์เนต (ประเทศ
ไทย) จำกัด กล่าว
การตัดสินใจเปิดบริการ IPTV ที่มีชื่อ เต็มๆ ว่า Internet Protocol TV
หรือทีวีอิน เทอร์เน็ตเพื่อสร้างเนื้อหาที่จะมารองรับ กับบริการอินเทอร์เน็ตเทอร์โบ
ของบริษัท ซีเอสคอมมิวนิเคชั่น เป็นอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง ซึ่งใช้เทคโนโลยี
Broadband
ความแตกต่างของเทคโนโลยี Broad band อยู่ที่ขีดความสามารถที่มีความเร็วในการรับส่งภาพเคลื่อนไหว
ที่เป็นวิดีโอ ภาพยนตร์ หรือแม้แต่การทำวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์
งานนี้ ชินบรอดแบนด์ จึงต้องทำตัวประหนึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ รวบรวมเนื้อหาจากสถานีโทรทัศน์ต่างๆ
มาเผยแพร่บนเว็บ ไซต์ของชินบรอดแบนด์เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาส รับชมรายการที่แตกต่าง
หากไม่มีเนื้อหาให้รับชม โอกาสที่บริการบรอดแบนด์จะเป็นที่นิยมเป็นเรื่องยาก
ช่องรายการที่บรรจุอยู่ในเว็บไซต์ ชิน บรอดแบนด์ จะแบ่งออกเป็น 6 ประเภทรายการ
ช่องแรก เป็นรายการจากฟรีทีวี 3, 5, 7, 9, 11 และไอทีวี แต่จะสามารถดูรายการ
ที่แพร่ภาพไปแล้ว กลับมาดูใหม่ได้อย่างไรก็ตามจะต้องขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลของรายการ
ที่เก็บอยู่ด้วยว่า จะย้อนหลังไปได้ขนาดไหน
ช่องรายการที่ 2 หรือ iP-Learning เป็น ช่องรายการเปิดให้สถาบันการศึกษา
และบุคลากรในสาขาวิชาต่างๆ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
และรายการ E-learning ของมหาวิทยาลัย รามคำแหง ที่ออกอากาศอยู่บนระบบโครง
สร้างพื้นฐานเดียวกัน
ช่องรายการที่ 3 คือ iP-Training เป็น กลุ่มรายการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรต่างๆ
เช่น หลักสูตรสอนเล่นดนตรี สอนทำอาหาร โดยพันธมิตรในปัจจุบัน ได้แก่ โรงเรียนพัชร-
วิชช์, RID venture, NTU, PT Com, ฟู้ดมีเดีย, โรงเรียนดนตรีจิตริน, สอนกีตาร์,
สอนฮวงจุ้ย, เจริญนครสัตวแพทย์
ช่องรายการที่ 4 คือ iP-Pay Per view รายการภาพยนตร์ที่เพิ่งออกจากโรงมาใหม่ๆ
ก่อนผลิตเป็นวิดีโอ จะเป็นลักษณะของการเก็บค่าชมรายการเพิ่มปกติ คมสันบอกว่าเวลานี้เจรจาอยู่กับค่ายหนังหลายราย
สหมงคลฟิล์ม ไฟว์สตาร์ ซีวีดี ไรท์พิกเจอร์ทั้งหนังไทย และหนังต่างประเทศ
ช่องรายการที่ 5 iP-Entertainment เป็นกลุ่มรายการความบันเทิง กลุ่มรายการวาไรตี้ต่างๆ
ทั้งเพลงละคร พันธมิตรที่ร่วมอยู่ในกลุ่มนี้ คือ อีเอ็มไอ, วอร์เนอร์, บีเอ็มจี,
เบเกอรี่มิวสิค
ช่องรายการที่ 6 คือ iP-Sport เป็นรายการกีฬาลิขสิทธิ์เฉพาะจากต่างประเทศที่ไม่เหมือนใคร
เช่น กอล์ฟ และรายการกีฬา จากแมนยูทีวี เป็นรายการกีฬาของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจากับเจ้าของ ลิขสิทธิ์นำมาแพร่ภาพ
"เราเหมือนคนทำ web hosting เรา อยากให้มีเนื้อหาหลากหลาย เราเลยไปขอสัญญาณจากฟรีทีวีมาออกอากาศบนเครือข่ายเรา
ไปเอารายการจากเจ้าของเนื้อหามา แพร่ภาพ" คมสันบอก
เป้าหมายที่สำคัญของการทำโครง การ iPTV นอกจากต้องการผลักดันให้บริการ
turbo internet ยังรองรับกับการเปิดบริการ ดาวเทียม iPSTAR ซึ่งเป็นดาวเทียมที่ให้บริการ
ด้านบรอดแบนด์โดยเฉพาะ
ตามเป้าหมายที่ชินแซทเทลไลท์วาง ไว้คือ ดาวเทียม iPSTAR มีกำหนดยิงขึ้นสู่ท้องฟ้า
เปิดให้บริการได้ทั่วเอเชียแปซิฟิก ในปี 2003 และให้บริการในทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา
ใน ปี 2004-2005 แต่ตลาดใหญ่จะอยู่ที่เอเชีย โดย คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการ
Broadband ประมาณ 3 พันล้านคน
"เราต้องการสร้างเป็นไอเดีย เพราะการทำดาวเทียมทั้งดวงให้เป็นบรอดแบนด์
เป็นเรื่องใหม่ เราจำเป็นต้องทำเป็นตัวอย่างให้ดู" คมสันกล่าว
อย่างไรก็ตามเนื้อหาเหล่านี้เป็น รายการแพร่ภาพอยู่ในสถานีโทรทัศน์อยู่แล้ว
และหากเปรียบเทียบเฉพาะเนื้อหาของ รายการกับเคเบิลทีวี ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
เทอร์โบอินเทอร์เน็ตก็ไม่แตกต่างกัน แต่ราย การของเราหลากหลายมากกว่า หลายคน
มองว่า น่าจะผลิตรายการที่รองรับกับเทคโน โลยีบรอดแบนด์โดยเฉพาะ แต่จำเป็นต้องใช้
เงินลงทุน เป็นโจทย์ที่ชินบรอดแบนด์ ต้องทำ การบ้านต่อไป