อัตราเติบโตของโทรศัพท์มือถือ
ทำให้ค่ายเพลงแห่งนี้ไม่รีรอ
ที่จะกาวเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ตไร้สาย
เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในภาพใหญ่ของ ธุรกิจ ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเมนท์อยู่แล้ว
ไม่ได้ฉีกไปจากเรื่องเดิม ถ้าให้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เราไม่ได้ทำ เพราะเทคโนโลยียังมาไม่ถึง"
วราวิช กำภู ณ อยุธยา ผู้ช่วยกรรมการ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานธุรกิจอินเทอร์เน็ต
บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
กระแสของการเติบโตผู้ใช้โทรศัพท์ มือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บวกกับวิวัฒนาการของเทคโน
โลยี เป็นสองปัจจัยที่ทำให้ค่าย เพลงแห่งนี้ หันมาให้ความสำคัญ กับธุรกิจอินเทอร์เน็ตไร้สาย
อย่างเป็นจริงเป็นจัง
บริการดาวน์โหลดริงโทน ที่เป็นการใช้ประโยชน์จากลิขสิทธิ์เพลงในมือ เป็นรูปธรรม
แรกของการใช้ประโยชน์ธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถเห็นผลได้ชัดเจนที่สุด
นอกเหนือไป จากรายได้ 3 ล้านบาทที่ได้รับในแต่ละเดือน
"บริการริงโทน มันเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า สามารถ แก้ปัญหา 2 จุดที่เป็นอุปสรรคของอีคอมเมิร์ซ
คือ การขนส่งได้ภายใน 1 นาที และไม่ต้องปวดหัวเรื่องการชำระเงิน" วราวิชกล่าว
นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความมั่นใจ โอกาสของการเพิ่มช่องทางการขายเพลงออนไลน์ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
ที่จะเป็นเสมือนร้านค้า และช่องทางชำระเงินในเวลา เดียวกัน
นั่นหมายความว่า เพลงต่างๆ ในสังกัดค่ายเพลงจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ที่เคยอยู่ใน
รูปของซีดี หรือเทป จะถูกขายผ่านช่องทาง ใหม่ที่เป็นการดาวน์โหลดจากโทรศัพท์มือถือ
ที่มีฟีเจอร์ระบบ MP 3 คาดหมายว่าโทรศัพท์ มือถือรุ่นเหล่านี้ทยอยเปิดตัวในปีหน้า
แรงผลักดันของผู้ให้บริการโทรศัพท์ มือถือ มีส่วนอย่างมากสำหรับเรื่องนี้
เมื่อ โอเปอเรเตอร์จะทำหน้าที่เป็นผู้เก็บค่าบริการ เหล่านี้ แลกกับส่วนแบ่งรายได้
ซึ่งสอดคล้อง กับการขายสินค้าที่มีราคาไม่แพง อย่างเช่น การขายเพลงที่จะมีราคาไม่แพง
หรือเรียกว่า ระบบไมโครเปย์เมนต์
"พอสิ้นเดือน ค่าบริการดาวน์โหลดเพลง เช่น เพลงละ 10 บาท จะถูกเรียกเก็บรวมอยู่กับบิลค่าโทรศัพท์มือถือ"
สถานการณ์ที่เอื้ออำนวยเหล่านี้เอง ทำให้แกรมมี่เองไม่ได้หยุดอยู่แค่ใช้เป็นเครื่อง
มือทางธุรกิจเท่านั้น หรือการเป็น content provider บริการเนื้อหาใหม่ๆ เช่น
สกรีนเซฟเวอร์ บริการอีเมลผ่านระบบ sms เกมออนไลน์ ที่จะเป็นบริการที่จะเปิดให้บริการในปีนี้เท่านั้น
แต่พวกเขายังมองหาโอกาสใหม่ๆ และเพิ่มบทบาทของตัวเอง เช่น กรณี จับมือฮิวเลตต์-แพคการ์ด
จัดตั้งศูนย์ Mobile e-services ขึ้นที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์
นอกจาก ประโยชน์ในเชิงภาพพจน์ ที่ได้รับจากการเปิดโอกาสให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์
หรือแอพพลิเคชั่นมาใช้ศูนย์ในการทดสอบแอพพลิเคชั่นหรือบริการ แต่ยัง เป็นการแสวงหาความหลากหลายในเรื่องของ
เนื้อหา และบริการใหม่ๆ
"เราอาจจะได้แอพพลิเคชั่นใหม่ ได้ เด็ก มาทำ content เพิ่ม และเราก็แบ่งรายได้
ให้กับเขา ในขณะที่ HP จะได้ประโยชน์ใน เร ื่องของเทคโนโลยีที่เด็กจะจดจำไปตลอด"
วราวิชบอก เช่นเดียวกับการจัดงาน DJUICE dot aword ก็มีเป้าหมายทีไม่แตกต่างกันนัก
"คนที่คิดเทคโนโลยีไม่ต่างไปจากศิลปิน แต่เป็นศิลปินทางด้านเทคโนโลยี
ถ้าเขาร่วมมือกับเรา เราก็แบ่งรายได้กัน ภาพก็เหมือนกับค่ายเพลง ตรงนี้ผมเอาไอเดียของคุณไพบูลย์มาใช้"
ปัจจุบัน จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ใช้เงินลงทุน 25 ล้านบาทในธุรกิจอินเทอร์เน็ต
ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา มีรายได้จากเว็บไซต์อีโอทูเดย์ 60-70 ล้านบาท มาจากค่าโฆษณาบนเว็บไซต์
25 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการรับจ้างทำเว็บไซต์ และค่าสมาชิก
มีเป้าหมายใช้เงินลงทุน 5 ล้านบาทในปี 2545 โดยจะเป็นการลงทุนในธุรกิจ
m-commerce 3 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม วราวิชบอกว่าการเรียนรู้ในเรื่องดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเมนท์ของแกรมมี่ยังไม่มีอะไรแน่ชัด
"ยังต้องคลำเป้ากันไป การทำแต่ละขั้นต้องระมัดระวัง ไม่อย่างนั้นก็เจ๊งได้เหมือนกัน"