|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ท็อปส์ มาเหนือเมฆ แซงหน้าเทสโก้โลตัส ปิดดีลซื้อ ฟู้ดไลอ้อน ฮุบเรียบ 20 สาขา เร่งปรับโฉมเปิดใหม่ต้นเดือนกันยายนนี้ หวังขึ้นแท่นผู้นำซูเปอร์ มาร์เกตในไทยรวม 70 สาขาทั่วไทย ตอกย้ำกลยุทธ์เน้นธุรกิจด้านอาหาร
นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทประกาศเรื่องการรับช่วงบริหาร 20 สาขาของฟู้ดไลอ้อน โดยวางแผนเปลี่ยนให้เป็นท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อขยายสาขาและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของท็อปส์ให้เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
ปัจจุบันท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, มาร์เก็ตเพลส บาย ท็อปส์ และซิตี้ มาร์เก็ต บาย ท็อปส์ อยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยมีนโยบายขยายสาขาเพิ่มอย่างต่อเนื่องจากปัจจุบันมีจำนวน 48 สาขาทั่วประเทศ การรับช่วงบริหารสาขาของฟู้ดไลอ้อน ทั้ง 20 สาขา และปรับเปลี่ยนมาเป็นท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตนี้ นับเป็นการนำเอาศักยภาพด้านทำเลที่ตั้งที่มีอยู่กว่า 20 สาขาของฟู้ดไลอ้อน มาผนวกรวมกับความเชี่ยวชาญในการบริหารงานด้านซูเปอร์มาร์เกตของท็อปส์ จะทำให้ท็อปส์สามารถเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นในตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตของประเทศไทย
"ธุรกิจด้านอาหารนับเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตได้อีกมากในอนาคต ดังนั้น การเข้ามาบริหารสาขาฟู้ดไลอ้อนนี้ ถือเป็นการขยายกิจการที่มีอยู่แล้วของกลุ่มบริษัทให้แข็งแกร่งและสามารถตอบสนองและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง ซึ่งบริษัทจะเร่งทำการปรับโฉมร้านของฟู้ดไลอ้อนทั้ง 20 สาขา ให้มาเป็นรูปแบบของท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต โดยจะสามารถเริ่มเปิดให้บริการได้ภายในต้นเดือนกันยายน และคาดว่าจะปรับเปลี่ยนและเปิดให้บริการได้ อย่างครบถ้วนทั้ง 20 สาขาภายในปลายเดือนก.ย.นี้ ซึ่งจะมีผลให้ท็อปส์ มีสาขารวมทั้งสิ้น 70 สาขาทั่วประเทศ"
สำหรับการปรับช่วงบริหารสาขาของฟู้ดไลอ้อนในครั้งนี้ จะเป็นการตอกย้ำธุรกิจด้านอาหารให้เป็นส่วนธุรกิจหลักของกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทฯรวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพ ในการมุ่งสู่ตลาดสากลในภูมิภาคเอเชีย และสามารถ เพิ่มรายได้ของกลุ่มบริษัทฯ ในปี 2547 ให้มากกว่า 60,000 ล้านบาท
การเข้ามารับช่วงบริหารฟู้ดไลอ้อนจากท็อปส์นี้ จะทำให้ท็อปส์เพิ่มสาขารูปแบบที่เป็นสแตนด์อโลนได้มากขึ้นจากเดิมที่จะมีสาขาเน้นหนักอยู่ในเครือข่ายซีอาร์ซีเป็นหลักทั้งในเซ็นทรัล โรบินสัน และ จะยิ่งช่วยทำให้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและรับมือกับคู่แข่งโดยเฉพาะเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรส ที่มีแผนจะขยายสาขาในรูปแบบเอ็กซ์เพรสจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน
ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่าหลายค่ายค้าปลีกสนใจและเจรจาที่จะเข้ามาซื้อกิจการของฟู้ดไลอ้อนในไทย ไม่ว่าจะเป็นท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต เทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรส หรือเครืออื่นๆ เนื่องจากว่าฟู้ดไลอ้อนมีสาขากระจายในหลายทำเลมากกว่า 20 แห่ง ซึ่งหากสามารถซื้อได้ก็จะทำให้การขยายเครือข่ายได้ทันทีมากกว่า 20 แห่งในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งมีกระแสข่าวว่า เทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรส ได้เข้ามาซื้อฟู้ดไลอ้อนไปแล้วด้วยวงเงินสูงถึง 700 ล้านบาท แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยืนยัน จนกระทั่งท็อปส์ประกาศชัดเจนถึงการควักเงินซื้อครั้งนี้ เป็นการสรุปดีลนี้อย่างสิ้นเชิง
สำหรับฟู้ดไลอ้อนนี้เป็นของกลุ่มเดลเฮซกรุ๊ป ประเทศเบลเยียมที่เริ่มการลงทุนในประเทศไทยเมื่อปี 2540 โดยถือหุ้นจำนวน 45% ในบริษัทที่ ตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อบริหารจัดการซูเปอร์มาร์เกตชื่อ ฟู้ดไลอ้อน และยังมีการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มเป็น 100% ในปี 2542 กระทั่งเป็นกิจการของเดลเฮซฝ่ายเดียว และมีการขยายสาขาเรื่อยมา
ทว่าด้วยการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะซูเปอร์มาร์เกต ตลอดจนนโยบายของบริษัทแม่ในต่างประเทศที่ลดความสำคัญในตลาดเอเชียลง ส่งผลให้ฟู้ดไลอ้อนในไทยเริ่มได้รับผลกระทบ หลายสาขาเริ่มทยอยปิดไปอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในปีนี้เพียงไม่กี่เดือนก็ปิดสาขาไปแล้วถึง 8 แห่งเช่น อาคารเอกไพลิน ถนนศรีนครินทร์ โดยเมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเหลือสาขาในไทยเพียง 26 แห่งเท่านั้น ซึ่งการขายสาขาจำนวนทั้งหมดนี้จะทำให้เดลเฮซกรุ๊ปมีค่าใช้จ่ายประมาณ 12 ล้านยูโร หรือประมาณ 600-800 ล้านบาท
นายฌอง คลอด โคปิเอเตอร์ส รองประธานบริหาร เดลเฮซ กรุ๊ป ซึ่งดูแลการดำเนินงานในภูมิภาคเอเชียกล่าวว่า เมื่อพิจารณาการลงทุนของฟู้ดไลอ้อนในไทยในภาวะที่ธุรกิจค้าปลีกในไทยแข่งขันรุนแรง การทุ่มเม็ดเงินลงทุนและความสามารถด้นการบริหารจัดการอาจจะไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้โดยทรัพยากรดังกล่าวอาจก่อให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มบริษัทมากกว่าหากนำไปลงทุนในด้านอื่น
|
|
|
|
|