ศักราชใหม่ของโทรศัพท์มือถือ ที่จะกลายเป็นวิทยุ mp3 วิดีโอ เครื่องเล่นเกม
เป็นแหล่งของบริการเนื้อหา สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีเท่านั้น
ทศวรรษที่ผ่านมาบริการด้านเสียง ยัง เป็นหัวใจหลักของโทรศัพท์มือถือตลอดช่วงที่ผ่านมา
แต่นับจากนี้เป็นต้นไป บริการด้าน เนื้อหา (content) หรือที่เรียกว่า non-voice
หลากรูปแบบจะกลายเป็นทางเลือกใหม่ บริการเหล่านี้กำลังเข้ามามีบทบาทต่อผู้บริโภค
นับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไป
สัญญาณแรก มาจากวิวัฒนาการของ เทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือ ที่พัฒนาจากระบบการส่งข้อความ
หรือ sms (short mes-sage system) ซึ่งมาพร้อมกับระบบจีเอสเอ็ม มาสู่การพัฒนาเป็นระบบ
Wireless Applica-tion Protocol หรือ WAP ที่ให้บริการมาตั้งแต่ ปลายปี 2543
ลำดับถัดมาก็คือ ระบบ GPRS หรือ General Packet Radio Service เป็น เทคโนโลยี
2.5 G ที่ถูกพัฒนาเพื่อใช้สำหรับ การส่งข้อมูลทางโทรศัพท์มือถือ ที่เริ่มให้
บริการในปลายปี 2544 ล้วนแต่เป็นพัฒนา การเทคโนโลยี ที่เอื้อประโยชน์ให้เกิดบริการ
ด้านเนื้อหารูปแบบใหม่ๆ
แต่ดูเหมือนว่า เมื่อมาถึงคราวที่ใช้ งานจริงแล้ว เทคโนโลยีที่จุดพลุให้กับบริการ
เนื้อหาผ่านโทรศัพท์มือถือให้เป็นที่นิยมกลับ เป็นเทคโนโลยีอย่าง sms ที่มีอัตราการใช้งาน
เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เฉพาะเอไอเอสรายเดียว ผู้ส่งข้อความผ่านระบบ sms ตกวันละ
7 แสน ข้อความต่อวัน หรือ 21 ล้านข้อความต่อเดือน (ทั้งของเอไอเอสและแทครวมกัน)
ในขณะที่ระบบ WAP แม้จะเป็นเทค โนโลยีที่ออกมาทีหลัง และถูกพัฒนาให้มี
ประสิทธิภาพในเรื่องของบริการเนื้อหามากขึ้น กว่าเดิม ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลทาง
อินเทอร์เน็ต แต่ตัวเลขของผู้ใช้บริการมีอยู่ เพียงแค่ไม่กี่หมื่นราย ทั้งๆ
ที่โทรศัพท์มือถือ เวลานี้ก็มีระบบ WAP เป็นคุณสมบัติทั่วไปของ โทรศัพท์มือถือเกือบทุกรุ่น
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบ WAP ไม่เป็นที่นิยมมาจากการขาดเนื้อหาที่หลากหลาย
การใช้งานยังไม่สะดวกเท่าที่ควร เมื่อ ผู้ใช้ต้องหมุนหมายเลขเพื่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
ซึ่งใช้ความเร็ว 9.6 กิโลไบต์ต่อวินาที นอก จากนี้การคิดค่าบริการยังเป็นแอร์ไทม์
คือ นาทีละ 3 บาท ทำให้การใช้จ่ายเพื่อเรียกดูข้อมูลผ่านระบบ WAP จึงยังคงมีราคาแพงในสายตาของผู้บริโภค
มาถึงระบบ GPRS ด้วยคุณสมบัติใน เรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น
ถึง 40 กิโลไบต์ต่อวินาที ทำให้ผู้ใช้สามารถ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
หมาย ความว่า การรับส่งข้อมูลยังคงดำเนินอยู่ไม่ว่าจะมีสายเรียกเข้าหรือไม่ก็ตาม
หรือ Always On และยังเอื้อประโยชน์ต่อการบริการที่ต้อง แสดงข้อมูลจำนวนมากๆ
เช่น เกมออนไลน์ การส่งภาพวิดีโอ และลักษณะการใช้บริการเป็นได้ทั้งแบบ Push
คือ ส่งเนื้อหาจากผู้ให้ บริการที่มายังผู้ใช้ หรือแบบ Pull คือผู้ใช้บริการ
จะเรียกใช้บริการในช่วงที่ต้องการข้อมูล
นอกจากไม่ต้องหมุนเลขหมายทุก ครั้งเหมือนกับระบบ WAP และที่สำคัญก็คือ
การคิดค่าบริการที่จะคิดจากปริมาณของข้อมูล ที่รับส่ง ไม่ได้คิดจากค่าแอร์ไทม์
นั่นหมาย ความว่า การเรียกดูข้อมูลจะมีราคาถูกลง เช่น การรับหรือส่งอีเมล
จากเดิมที่เคยเสีย ค่าบริการ นาทีละ 3 บาท 2 นาที 6 บาท จะเหลือเพียงแค่
50 สตางค์
ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้เอง ทำให้มีการ คาดหมายว่า บริการรับส่งข้อมูลด้วยระบบ
WAP หรือแม้แต่การส่งข้อความสั้น SMS เมื่อ เปลี่ยนมาอยู่บนระบบ GPRS จะได้รับความ
นิยมมากขึ้น แต่เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนแก่ ลูกค้า ผู้ให้บริการหรือโอเปอเรเตอร์
จึงหลีกเลี่ยงที่จะชูประเด็นในเรื่องของเทคโนโลยี แต่หันมาเผยแพร่คุณสมบัติของการใช้งาน
แทน เอไอเอสใช้ชื่อเรียกในส่วนที่เป็นบริการ ด้านเนื้อหาว่า mobileLIFE ในขณะที่ค่ายแทค
ใช้ชื่อบริการว่า โมบายอินเทอร์เน็ต
เอไอเอสนั้นนำร่องเปิดให้บริการ GPRS ก่อน แต่ยังจำกัดอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ
และ จังหวัดใหญ่ๆ แม้ข้อดีของเทคโนโลยีจะมีอยู่ มาก ทำให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ๆ
ที่ไม่ใช่แค่เสียง และเอไอเอสเองก็มองเห็นลู่ทางที่ชัดเจนมากขึ้นจากการใช้ศักยภาพของธุรกิจ
ในเครือข่ายให้เป็นประโยชน์ เช่น การจับมือ กับไอทีวี และชินนี่.คอม ในการร่วมกันทำ
บริการภาพข่าว Video Streaming ที่ใช้มาตรฐานMPEG 4 เป็นบริการด้านเนื้อหารูปแบบใหม่ที่
มาจากเทคโนโลยี GPRS ผลก็คือ การรับชม ข่าวไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงหน้า จอโทรทัศน์เท่านั้น
แต่จะมาอยู่ บนหน้าจอ Pocket PC โดยผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ GPRS
อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ ยอมรับว่า ยังเป็นช่วงเวลาของ การเริ่มต้นที่ต้องใช้เวลาให้ความ
รู้แก่ผู้บริโภคไปอีกพักใหญ่
ในขณะที่แทคกลับเลือกเปิดให้บริการ GPRS ไปตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน
ไปอย่างเงียบ เชียบ โดยยังไม่มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เหมือนกับในช่วงของการเปิดให้บริการ
ระบบ WAP ซึ่งผู้ให้บริการทั้งสองต่าง เคยช่วงชิงการเป็นผู้นำในเรื่องของบริการ
โมบายอินเทอร์เน็ต ทั้งๆ ที่ระบบ GPRS ของ แทคจะสามารถใช้บริการได้ทั่วประเทศ
เนื่อง จากแทคได้อาศัยช่วงจังหวะของการเร่งขยาย เครือข่ายที่ยังเป็นจุดอ่อนของแทค
ลงทุนติด ตั้งระบบ GPRS ลงไปบน network ในคราว เดียวกัน ทำให้เครือข่ายบริการระบบ
GPRS ของแทคครอบคลุมได้ทั่วประเทศ
และก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคาเครื่องลูกข่ายที่ใช้ระบบ GPRS ของแทค
กลับ มีราคาสูงกว่าค่ายเอไอเอส ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับในอดีตที่ผ่านมา
ซึ่งเครื่องลูกข่าย ของแทคจะมีราคาต่ำกว่าเอไอเอส
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เทคโนโลยีจะดีเพียงใด แต่หากยังขาดเนื้อหาที่หลากหลายโอกาสที่จะได้รับความนิยมก็เป็นเรื่องยาก
ธนาเชื่อว่ากุญแจสำคัญของเรื่องนี้จึงอยู่ที่โมเดลการแบ่งรายได้ที่ผู้ให้บริการจะต้องแบ่ง
ให้กับเจ้าของเนื้อหา
"ไม่เช่นนั้นเจ้าของเนื้อหาเขาจะพัฒนาไปทำไม ถ้าเขาไม่ได้เงิน ทำแล้วโอเปอ
เรเตอร์รวยคนเดียว"
อัตราส่วนแบ่งรายได้ 50% จากรายได้ ของบริการจะถูกแบ่งให้กับผู้พัฒนาเนื้อหา
content เป็นสิ่งที่ทำให้ธนาเชื่อว่า จะเป็นแรง จูงใจที่จะทำให้ผู้พัฒนาเนื้อหา
(content pro-vider) หันมาพัฒนาเนื้อหาบนโทรศัพท์มือถือ และจุดเริ่มต้นของธุรกิจเนื้อหาที่แท้จริง
สิ่งที่พวกผู้ให้บริการเนื้อหาจะได้รับ ก็คือ เลขหมาย 4 หลัก ที่จะนำไปให้บริการ
แก่ลูกค้า และระบบบิลลิ่งที่แทคจะทำหน้าที่ เป็นผู้เก็บเงินให้
"สิ่งที่พวกเขาต้องลงทุนคือ ไอเดีย เขาแค่เดินมาเซ็นสัญญาเอาเบอร์ไป ส่วนเรา
จะเก็บเงินให้ ทำเป็น platform เดียวกัน"
เป้าหมายของแทคไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาบนบริการ SMS เท่านั้น แต่ธนาเชื่อว่า
เมื่อเจ้าของเนื้อหาเหล่านี้เริ่มได้รับประโยชน์จาก การพัฒนาเนื้อหาบนบริการ
SMS ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นแล้ว พวกเขาจะเริ่มหันมาพัฒนาบนระบบ WAP
สำหรับในฟากของเนื้อหาแล้ว บริการ WAP ก็เคยทำให้บรรดาเจ้าของเนื้อหาเหล่านี้
เริ่มมองเห็นลู่ทางทำเงินแต่เอาเข้าจริงแล้ว บริการออดิโอเท็กซ์ และบริการส่งข้อความ
สั้น sms ที่ไม่ได้มีความสลับซับซ้อนในการ ให้บริการ กลับเป็นหนทางหารายได้ที่เห็นผล
มากที่สุด
บริการออดิโอเท็กซ์ โทรผ่านเลขหมาย 1900 เป็นบริการสอบถามข้อมูล เช่น ดูดวง
หาเพื่อน ซึ่งแต่เดิมเคยให้บริการแก่ผู้ใช้โทรศัพท์ พื้นฐาน และได้ขยายมายังลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์
มือถือ และได้กลายเป็นบริการ non-voice ที่ได้รับความนิยมและสามารถทำรายได้ให้กับ
เอไอเอสและแทคได้เป็นอย่างดี
บริการถัดมา คือ SMS หรือบริการส่ง ข้อความสั้น ที่สามารถให้บริการดาวน์โหลด
ริงโทน หรือบริการเสียงเรียกโทรศัพท์มือถือ กลายเป็นอีกบริการที่สร้างสีสันใหม่
ที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ เมื่อพวก เขาจะไม่ต้องจำเจอยู่กับเสียงเรียกธรรมดาๆ
ของโทรศัพท์มือถือ แต่กลายเป็นเสียงโน้ต ดนตรีจากเพลงที่ชื่นชอบจากศิลปินค่ายต่างๆ
และนี่เอง ทำให้เจ้าของค่ายเพลงและบรรดา เจ้าของเว็บไซต์หันมาให้บริการดาวน์โหลด
ริงโทน
เริ่มจากค่ายเพลงอย่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ต้องหันมาเปิดให้บริการดาวน์โหลด
ริงโทนอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เริ่มจากการจับ มือกับดีแทคเป็นรายแรก เก็บค่าบริการเพลง
ละ 10 บาท ทุกวันนี้จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ มีรายได้ เดือนละ 3 ล้านบาท จากยอดผู้ใช้บริการ
ดาวน์โหลดเสียงเพลงเรียกเข้า หรือ ringtone เดือนละ 3 แสนราย และก็ได้กลายเป็นธุรกิจ
ที่ทำเงินอีกรูปแบบหนึ่ง
นอกจากค่ายเพลงอย่างแกรมมี่ที่มีเนื้อหาในมือแล้ว บรรดาค่ายเพลงอย่างอาร์
เอส โปรโมชั่น โซนี่มิวสิคก็เริ่มหันมาให้บริการ ในลักษณะเดียวกันนี้ แต่ค่ายเพลงอาจเลือก
ใช้วิธีขายลิขสิทธิ์เพลงเหล่านี้ให้กับบรรดาเจ้าของเว็บไซต์เช่น เอ็มเว็บ
สยามทูยู ชินนี่ดอทคอม ในการนำไปให้บริการอีกครั้งหนึ่ง
การเคลื่อนไหวของบรรดาเว็บไซต์ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย
เพิ่มความหลากหลายทางด้านข้อมูล แม้ว่าจุดเริ่มต้นจะยังคงอยู่บนบริการ SMS
ในฟากของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออย่าง โนเกียก็เช่นกัน การเคลื่อนไหวของโนเกียตลอดในช่วงกว่าปีมานี้
นับเป็นสัญญาณการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ ที่โนเกียจะไม่ทำแค่การขายโทรศัพท์มือถือ
อีกต่อไป แต่โนเกียกำลังข้ามฟากไปสู่สิ่งที่ เรียกว่า การเป็นผู้บริการ แม้ว่าโนเกียจะไม่ได้
ทำสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเอง แต่เป็นการว่าจ้าง นักพัฒนาหรือร่วมมือกับเจ้าของเนื้อหาก็ตาม
"ธุรกิจของเทคโนโลยี 2.5G คือธุรกิจ ของซอฟต์แวร์ เป็นเรื่องของการพัฒนา
Application หรือคุณสมบัติใหม่ หรือ content" กฤษณัน งามผาติพงศ์ กรรมการผู้จัดการ
โนเกีย โมบาย โฟนส์ บริษัทโนเกีย (ประเทศ ไทย)
การเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นใหม่ 8310 ที่ใช้ เทคโนโลยี GPRS ด้วยบริการ WAP
Radio Application ที่มีเมนู FM Radio ทำให้เครื่องโทรศัพท์มือถือ สามารถฟังเพลงจากรายการ
วิทยุ งานนี้โนเกีย ได้ว่าจ้างให้บริษัทโซลูชั่น วันเป็นผู้พัฒนา Application
ในการเรียกดู ข้อมูลจากรายการวิทยุ สำหรับโนเกียแล้ว นี่คือการ "กดปุ่ม"
ไปสู่บริการด้านเนื้อหาและ การสร้าง Application อย่างเป็นรูปธรรม แรกของโนเกีย
ตามมาด้วยการเปิดฉากบริการ โนเกีย เวิลด์" เป็นบริการที่โนเกียทำขึ้นให้กับ
ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือของโนเกีย ที่ให้ผู้ใช้ดาวน์ โหลดเสียงเรียกเข้า ดาวน์โหลดภาพกราฟิก
ถ่ายรูป หน้าให้ไปอยู่บนหน้าจอโทรศัพท์ แต่เสียงเรียกเข้า ดาวน์โหลด ภาพกราฟิกให้ไปยุกยิกหน้าจอ
จากตู้ kios ที่จะติดตั้งที่สาขาโนเกียทั้ง 9 แห่ง
พันธมิตรที่ร่วมกับโนเกีย หากเป็น บริการเสียงเรียกเข้าและภาพกราฟิกคือ
อีเอ็มไอ ยูนิเวอร์แซลมิวสิค จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ มิวสิค บั๊ก ซอฟต์นีโป สมอลล์
รูม และอันเดอร์โทรส์ เรคคอร์ด แต่หากเป็นเสียงเรียกเข้า มีประมาณ 800 เพลง
จะมีฟูจิ แปซิฟิก มิวสิค เป็นผู้ทำ เนื้อหา ส่วนกราฟิกจะร่วมมือกับฮอลมาร์ค
คิดส์ ทีวี อัตราค่าบริการจะมีตั้งแต่ 15 บาท คือดาวน์โหลด โลโกและกราฟิกแบบกลุ่ม
ไปจนถึง 80 บาทเป็น การดาวน์โหลดเกมชุดใหม่
ปฏิบัติการเหล่านี้นับเป็นการส่ง สัญญาณจากผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ครองส่วน
แบ่งตลาดอันดับ 1 ของโลกในเวลานี้ ที่ รู้ดีว่า ทศวรรษต่อไปของโทรศัพท์มือถือ
จะไม่ใช่แค่ เรื่องของเสียงอีกต่อไป