Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2545
กรณีเริงชัย มะระกานนท์ กรณีศึกษา การตัดสินใจเพื่อชาติ             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

เริงชัย มะระกานนท์




วงเงิน 1.85 แสนล้านบาท เป็นทุนทรัพย์ความเสียหายในคดี แพ่งที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย

เป็นวงเงินที่ทางการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าเริงชัย มะระกานนท์ อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติ คือ ผู้ที่ก่อให้เกิดความ เสียหาย จากการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปใช้ในการปกป้อง ค่าเงินบาทในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2540 ก่อนมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในอีก 2 วันถัดมา ซึ่งเป็นจุดพลิกผันเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่วิกฤติ

คณะกรรมการความรับผิดทางแพ่ง ซึ่งกระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้น ได้มีความเห็นส่งมายังคณะกรรมการทุนรักษาระดับ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของแบงก์ชาติ ซึ่งได้ข้อสรุปเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า การนำทุนสำรองระหว่างประเทศ ไปปก ป้องค่าเงินบาทของเริงชัย ถือเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ตามกระบวนการ แบงก์ชาติได้ส่งเรื่องมายังสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นโจทย์ฟ้องต่อศาลแพ่ง เพื่อเอาผิดกับเขา และเรียกร้องความเสียหายตามทุนทรัพย์

เป็นเคราะห์ก้อนใหญ่ที่เริงชัยต้องรับและต้องต่อสู้ตามกระบวนการ เพื่อแสวงหาความยุติธรรมกลับคืน ซึ่งตามรูปการแล้ว คาดว่าต้องใช้เวลาค่อนข้างนานพอสมควร

เริงชัยเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติที่เคราะห์ร้ายมากกว่าผู้ว่าคนอื่นๆ เพราะผู้ว่าในอดีตหากมีปัญหาทางด้านความเห็น หรือการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โทษรุนแรงที่สุดที่ได้รับก็คือถูกปลดจากตำแหน่ง ยังไม่มีใครที่ต้องโทษเป็นคดีเช่นเดียวกับเขามาก่อน

เริงชัยเป็นนักเรียนทุนแบงก์ชาติ รุ่นที่ 2 รุ่นเดียวกับโอฬาร ไชยประวัติ และจรุง หนูขวัญ

แรกเริ่มที่เขาเข้ารับราชการในแบงก์ชาติ เขาไม่เคยมีความคิดอยู่ในหัวเลยว่าในชีวิตราชการที่นี่ จะมีโอกาสไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่ง สูงสุดของแบงก์ชาติ เพราะวัฒนธรรมในช่วงนั้น ข้าราชการประจำ มีโอกาสสูงสุดได้แค่ผู้ช่วยผู้ว่าการ

วัฒนธรรมนี้เริ่มมาเปลี่ยนในยุคที่วิจิตร สุพินิจได้ขึ้นเป็น ผู้ว่าฯ ต่อจากชวลิต ธนะชานันท์ ถือเป็นผู้ว่าคนแรกที่มาจากลูกหม้อ แบงก์ชาติ แต่วิจิตรก็ลงจากตำแหน่งได้ไม่สวยงามนัก เพราะถูกปลด ออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่สามารถแก้ปัญหาธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การได้

เริงชัยเข้ามารับช่วงดำรงตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติต่อจากวิจิตร

เขาเข้ามารับตำแหน่งในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจการเงินของประเทศ เริ่มส่งสัญญาณออกมาแล้วว่ากำลังมีปัญหา จากตัวเลข ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลติดต่อกันทุกเดือน จนมีแนวโน้มว่าจะ มีผลกระทบต่อระดับทุนสำรองระหว่างประเทศ

เงินลงทุนที่ควรจะไหลเข้ามา กลับหยุดชะงัก ขณะที่ภาค ธุรกิจภายใน กลับมีการจับจ่ายใช้สอยกันแบบฟองสบู่

ซึ่งจุดนี้เป็นจุดอ่อนอันสำคัญ ที่ทำให้นักเก็งกำไรค่าเงิน นำ มาใช้ในการโจมตีค่าเงินบาทในที่สุด

มีข้อสงสัยตามมามากมายว่าการที่ประเทศถูกโจมตีค่าเงิน ผู้ที่ต้องรับรู้ปัญหา และรับผิดชอบในการแก้ไข ไม่น่าจะมีเพียงแค่เริงชัยคนเดียว

"ผมไม่ยอมรับคำวินิจฉัยดังกล่าว เพราะยืนยันตลอดแล้วว่า ได้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และทุ่มเทในงาน มีการประชุมหารือร่วมกันทั้งภายใน และกับผู้บังคับบัญชา มีหลักฐานเอกสารครบ ถ้วน มีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งหนักหน่วงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่เคยตั้งอยู่ในความประมาทเลินเล่อเลย" เนื้อความส่วนหนึ่งในหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของเริงชัย ที่ถูกส่งมายังสื่อมวลชน หลังทราบ ผลการประชุมคณะกรรมการทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ที่บอกว่าเขามีความผิดฐานประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ระบุ

หนังสือฉบับเดียวกันยังบอกอีกว่าเขายังไม่เคยมีประวัติ ด่างพร้อยในการทำงานในธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ต้องรับผิดชอบ ในเรื่องการเงินการทอง ซึ่งต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบมากว่า 26 ปี แม้ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ สามารถให้ประโยชน์แก่ผู้รู้ความเคลื่อนไหวได้อย่างมหาศาล อีก ทั้งความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานก็ไม่ได้แอบอิงการเมืองใดๆ ไม่ว่ายุคสมัยใดทั้งสิ้น

แต่ในวันนี้ เริงชัยกลับต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว ในข้อหาที่หากใครโดน ก็ต้องเสื่อมเสียไปทั้งวงศ์ตระกูล

คดีของเริงชัย นับได้ว่าเป็นคดีประวัติศาสตร์ ที่น่าติดตามอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าในกระบวนการพิจารณาจะต้องใช้เวลานานเพียงใด

เพราะคดีนี้ ไม่ว่าผลสรุปที่ออกมาจะเป็นเช่นไร ก็ถือได้ว่า เป็นกรณีศึกษาครั้งสำคัญ เหมาะสำหรับคนทุกคนที่ต้องทำงานเกี่ยว ข้องกับนโยบายซึ่งหมิ่นเหม่ต่อความเป็นความตายของประเทศ

การตัดสินใจในสถานการณ์ใดๆ แม้ว่าจะยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนเดิม อาจมีผลให้เจตนารมณ์ในการตัดสินใจครั้งนั้น ถูกแปรเปลี่ยนไปได้ ด้วยตัวแปรที่คาดไม่ถึง

และหากไม่นำความจริงมาเปิดเผย ก็อาจกลายเป็นคนผิด ต้องถูกลงโทษจากสังคมไปทั้งชีวิตเลยก็ได้ แม้ว่าคนที่ทำจะมีเจตนา ที่บริสุทธิ์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us