หลังจากบริษัทยูนิไทย อ๊อกไซด์ ผู้ผลิตสังกะสี อ๊อกไซด์ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ได้มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ถือหุ้น และเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็นยูนิเวนเจอร์
พร้อม ปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยเปลี่ยนมาทำหน้าที่หลักเป็นเวนเจอร์แคปปิตอล
ในปี 2543
ดูเหมือนการเป็นแม่สื่อ ดึงให้ 3 กลุ่มธุรกิจ เข้ามาร่วมลงขันซื้อโครงการวอเตอร์
คลิฟ มาบริหารงานต่อ จะเป็นดีลขนาดใหญ่ ดีลแรก ในฐานะเวนเจอร์แคปปิตอลซึ่งเป็นบทบาทใหม่ของบริษัทแห่งนี้
กลุ่มผู้ลงทุนทั้ง 3 กลุ่ม ที่ยูนิเวนเจอร์ ได้ชักชวนเข้ามาลงทุน ในโครงการดังกล่าว
ประกอบด้วยบริษัทแอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ บริษัทแสนสิริ และบริษัทเยาววงศ์
โดยมียูนิเวนเจอร์เป็นตัวกลาง และร่วมถือหุ้นอยู่ด้วย
โครงการวอเตอร์ คลิฟ เป็นโครงการคอนโดมิเนียมเกรดเอ ขนาด 588 ยูนิต ตั้งอยู่ริมถนนพระราม
3 เดิมเป็นของบริษัทไทยเฮ้าส์ซิ่ง ดีเวลลอปเมนท์ เริ่มเปิดตัวในปี 2537
ในช่วงแรกโครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงทางด้านการตลาด มีลูกค้าเข้ามาจับจองห้องชุดในโครงการถึง
376 ราย
รายละเอียดของโครงการ ประกอบด้วยอาคารซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย จำนวน 4 อาคาร
โดย 3 อาคารแรก ก่อสร้างไปแล้ว 85% ส่วน อาคารที่ 4 ก่อสร้างไปประมาณ 60%
เมื่อประเทศไทยเข้าสู่วิกฤติการเงิน ในปี 2540 โครงการนี้ได้รับผลกระทบ
จนถึงกับต้องหยุดการก่อสร้างทุกอย่างลงชั่วคราว เพราะสถาบันการเงินที่เป็นผู้สนับสนุนเงินทุน
เป็น 1 ใน 56 ไฟแนนซ์ ที่ถูกทางการสั่งปิด และโครงการถูกโอนเข้ามาอยู่ในความดูแลของบริษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงินในภายหลัง
ต่อมาบริษัทไทยเฮ้าส์ซิ่ง เจ้าของโครงการวอเตอร์ คลิฟ ได้ว่าจ้างให้บริษัทยูนิเวนเจอร์
คอนซัลติ้ง บริษัทในเครือยูนิเวนเจอร์ เป็นที่ปรึกษา
ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้งมองเห็นถึงศักยภาพของโครงการดังกล่าว จึงวางแผนดึงกลุ่มนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่
มาซื้อโครงการไปสานต่อ
"เรามองว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี แต่ปัญหาเพียงอย่าง เดียวคือสถาบันการเงินที่ไฟแนนซ์ให้กับโครงการถูกปิด
ดังนั้นถ้ามี เงินใหม่เข้าไป โครงการก็จะดำเนินต่อไปได้" อรดี เจียรดิษฐอาภรณ์
กรรมการผู้จัดการ ยูนิเวนเจอร์ บอก
ยูนิเวนเจอร์ได้ชักชวน แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์และแสน สิริ ซึ่งทั้งคู่เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
เข้ามาร่วมทุนเพื่อซื้อโครงการนี้
สาเหตุที่เลือก 2 บริษัทดังกล่าว เนื่องจากยูนิเวนเจอร์มองว่า แอล.พี.เอ็น.
มีประสบการณ์ในการทำโครงการย่านพระราม 3 และมีฐานลูกค้าอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง
ส่วนแสนสิรินั้นเคยมีประสบ การณ์ในการซื้อโครงการอโศก เพลส จากบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินไปทำต่อแล้วประสบความสำเร็จ
"ตอนนี้ความต้องการซื้อโครงการคอนโดมิเนียมเกรดเอ ยังมีอยู่ แต่ซัปพลายหาไม่ค่อยได้แล้ว
เมื่อเราดูโครงการนี้ ซึ่งเป็น โครงการเกรดเอ และมีหลายอย่างที่เหมือนกับโครงการอโศก
เพลส เราจึงตัดสินใจเข้ามาร่วมทุน" เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการ แสนสิริ
ให้เหตุผล
ส่วนบริษัทเยาววงศ์ ก็เป็นเวนเจอร์แคปปิตอลอีกแห่งหนึ่ง ซึ่ง มีเงินทุน
ยูนิเวนเจอร์ จึงชวนให้เข้ามาร่วมลงทุนด้วย
"เรามองว่าเศรษฐกิจของไทย น่าจะอยู่ในช่วง bottom หรือ ว่าใกล้ bottom
แล้ว และทิศทางของดอกเบี้ยที่ลดลง เราจึงต้องมองหาการลงทุนใหม่ๆ แม้ว่าอาจจะเสี่ยงเพิ่มขึ้น"
ถนอมพงษ์ ปฐม ศักดิ์ ที่ปรึกษา บริษัทเยาววงศ์ บอกถึงสาเหตุที่ตัดสินใจเข้าร่วม
ลงทุน
ในการร่วมลงทุนซื้อโครงการนี้ ทั้ง 4 กลุ่ม ได้ตั้งบริษัทแกรนด์ ยูนิตี้
ดีเวลลอปเม้นท์ ขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินการ โดยบริษัทดังกล่าว มีทุนจดทะเบียน
320 ล้านบาท (รายละเอียดโครงสร้างการถือหุ้น ดูในตาราง)
พร้อมเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น โครงการลุมพินี เพลส วอเตอร์ คลิฟ
ในการบริหาร กลุ่มผู้ร่วมลงทุนมีความเห็นร่วมกันว่าให้แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์
เป็นแกนนำในการบริหารงานทั้งหมด
"สิ่งที่เราต้องทำอย่างแรก คือเข้าไปดูแลกลุ่มลูกค้าเดิม จำนวน 376 ราย
ที่เขาได้จองห้องชุดในโครงการไว้แล้ว" ทิฆัมพร เปล่งศรีสุข กรรมการผู้จัดการ
แอล.พี.เอ็น.วางแนวทาง
หลังจากนั้นก็จะเริ่มทำการตลาด เพื่อเพิ่มยอดผู้ซื้อห้องชุด ให้ครบทั้ง
588 ยูนิต เมื่อต้นเดือนธันวาคม บริษัทแกรนด์ ยูนิตี้ ดีเวล ลอปเม้นท์ ได้เซ็นสัญญากู้เงินจากธนาคารศรีนคร
จำนวน 240 ล้าน บาท เพื่อนำเงินก้อนนี้มาใช้ในการก่อสร้างโครงการต่อให้แล้วเสร็จ
ตามแผนการ แกรนด์ ยูนิตี้ จะเริ่มวางแผนการตลาดและ การขายโครงการลุมพินี
วอเตอร์ คลิฟ ในเร็วๆ นี้
"ทุกวันนี้ เรายังคงมองหาโครงการดีๆ ประเภทเดียวกันกับโครงการนี้อยู่ตลอดเวลา"
อรดีกล่าว
หากการเป็นแม่สื่อในการชักชวนนักธุรกิจกลุ่มต่างๆ ให้เข้า มาร่วมทุนในโครงการครั้งแรกนี้ประสบกับความสำเร็จ
ก็น่าจับ ตาบทบาทในฐานะเวนเจอร์ แคปปิตอล ของยูนิเวนเจอร์ ซึ่งคง ต้องเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต