Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2545
เครื่องรุ่นใดควรระวัง             
 

   
related stories

ปีฝันร้ายของธุรกิจการบิน (และธุรกิจต่อเนื่อง)
สายการบินไหนอันตราย

   
www resources

www.airsafe.com/by-model.htm
www.aviation-safely.net

   
search resources

Aviation




ถึงแม้โชคชะตาจะมีส่วนลิขิต เพราะเครื่องบินนั้นไม่ได้ตกกันบ่อยๆ และการก่อการร้ายก็ยังเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ แต่ก็มีเหตุอื่น ที่ช่วย ลดอุบัติเหตุให้ตัวท่านได้ มีเครื่องบิน บางรุ่นที่ทำสถิติตกและพลาดจนน่าหวาดเสียว และมีสายการบินบางสายที่เลินเล่อในการอบรมนักบิน จนมีเหตุบ่อยๆ

มีตัวเลขยอดสรุปที่น่าสนใจ เพราะสภาพอากาศและความถี่ของการบินเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการบินได้ ตั้งแต่ปี 1945 ถึงปี 2000 โดยนับตัวเลขแต่ละเดือนมาบวกกัน ปรากฎว่า เดือนธันวาคมมีอุบัติเหตุการบินสูงสุด โดยอัตราตัวเลขคือ มค. 262 กพ.217 มีค.245 เมย. 190 พค. 199 มิย. 209 กค.232 สค.234 กย.254 ตค.216 พย. 236 ธค.311

ตามสถิติอุบัติเหตุของเครื่องบินโดยสาร เครื่องรุ่นที่มีเหตุร้ายให้ผู้โดยสารเป็นอันตราย โดยเปรียบเทียบความถี่ของการบิน กับอัตราอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้โดยสารตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไป เรียกว่า Fatel Rate ยิ่งมาก ยิ่งเป็นอันตราย อันดับหนึ่ง คือ Concorde เพราะบินแค่ 80,000 เที่ยว ตั้งแต่เปิดตัวมา ถึงแม้จะตกเพียงครั้งเดียวก็ตาม ส่วนเครื่องรุ่นอื่น ๆ นั้นบินกันเป็น 2-3 ล้าน ถึง 10 ล้านเที่ยว

อันดับต่อมาคือ Mcdonald Douglas รุ่น MD 11 , ตามด้วย เครื่อง Embraer รุ่น Banderante, เครื่อง Focker F 28, เครื่อง Airbus A310 และเครื่อง Boeing 747 ซึ่งเป็นเครื่องบินโดยสารยอมนิยมที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง

ส่วนเครื่อง A 300 รุ่นที่มีปัญหาล่าสุดของอเมริกัน แอร์ไลน์ ที่ถูกระบุว่า เครื่องขัดข้องจึงตกนั้น ออกสู่ตลาดตั้งแต่ปี 1969 โดยบริษัทแอร์บัส อินดัสทรี ที่ร่วมทุน ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ผลิตในประเทศฝรั่งเศส เป็นที่นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมการบินอเมริกัน และปัจจุบันยังเป็นเครื่องุ่นที่มีการผลิตยาวนานอยู่ ถือเป็นเครื่องบินพาณิชย์ ที่ได้รับความนิยมที่สุดเครื่องหนึ่งในอเมริกา และ มีการใช้งานราว 500 ลำทั่วโลก เพราะตัวเครื่องมีลำตัวกว้าง ทำให้วางได้สูงถึงแถวละ 9 9 ตัว และ จุผู้โดยสารได้ระหว่าง 220 ถึง 360 คน มีที่รองรับลูกเรือ 10 คน บินระบบสองเครื่องยนต์

ที่ผ่านมา A300 นั้นมีอุบัติเหตุเพียง 9 ครั้ง แบ่งเป็นการถูกจี้จากผู้ก่อการร้าย 2 ครั้ง ถูกยิงตกเพราะเรดาร์จับผิด 1 ครั้ง ความผิดพลาดของหอบังคับการ 1 ครั้ง ระบบบินอัตโนมัติไม่ทำงาน 1 ครั้ง แต่ในทางเทคนิค นักบินสามารถบินด้วยระบบบังคับมือได้ และอีก 3 ครั้งนั้น เป็นความผิดพลาดจากความไร้สามารถของนักบิน ซึ่งได้แก่ นักบินของปากีสถาน แอร์ไลน์ ,ไชน่า แอร์ไลน์ และโกเรียน แอร์ไลน์

การออกคำสั่งให้ตรวจเครื่อง A300 ทุกเครื่อง โดยกองบินพาณิชย์ ของอเมริกา เมื่อวันที่ 16 พฤจิกายนนั้น สั่งให้ตรวจข้อบกพร่องที่สามารถ มองเห็นด้วยตาทั้งหมดภายใน 15 วัน โดยระบุว่า เครื่องบินรุ่นนี้เป็นเครื่องที่โรงงานประกอบจากชิ้นส่วนสำเร็จรูป จึงเพ่งเล็งไปที่ข้อต่อส่วนต่างๆ ซึ่งอาจหลุดหรือหลวม หรือแม้แต่สีกระเทาะก็ให้ถือว่า เป็นสัญญาณที่ต้องมีการตรวจสอบใหญ่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us