หมดความหวังว่าธุรกิจนี้จะสามารถทำเงินได้ดีอีกต่อไป
รวมถึงธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องอีกหลายสิบอย่าง เช่น ธุรกิจทัวร์ ธุรกิจโรงแรม
ธุรกิจบ้านพัก ตากอากาศ ธุรกิจเรือสำราญ ธุรกิจสนับสนุนการดำเนินงานในเครื่องบิน
และ ฯลฯ
หลังเหตุการณ์ 11 กันยายน ธุรกิจการบินได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
ทั้งหมดมีอาการทรุด และเมื่อกำลังตีตื้นขึ้นมาเป็นทรงตัว
เหตุการณ์เครื่องบินตก ที่นิวยอร์ก เมื่อวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม ได้ปิดขาดโอกาสฟื้น
และล่าสุดสายการบินสวิสตกเมื่อ 25 พฤศจิกายน ถึงเวลานี้แล้ว ใครจะอยากบินพร่ำเพรื่ออีกต่อไป
นอกจากคนที่คิดว่า แล้วแต่พระเจ้าลิขิต
ถึงแม้ผลสอบสวนอุบัติเหตุที่นิวยอร์ก ระบุว่าเป็นความผิด พลาดของตัวเครื่องบิน
และมีคำสั่งให้ตรวจสอบเครื่องแอร์บัส 300 ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการก่อการร้าย
หรือเครื่องบินชำรุด มีเหตุผลมากมายเหลือเกินที่ทำให้คนไม่ชอบบินอีกแล้ว
สนามบินทุกแห่งได้เพิ่มความเข้มงวด และให้ความมั่นใจแก่ ผู้โดยสาร โดยความร่วมมือของผู้โดยสาร
ที่ยอมมาถึงสนามบินล่วง หน้า เข้าแถวให้ตรวจกระเป๋าทุกใบ และยอมรับเงื่อนไขที่ว่าถือกระเป๋า
ขึ้นเครื่องได้ 1 ใบ จากที่เคยถือได้ 2 ใบ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ผวา ยังเกิดขึ้น
ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ชายคนหนึ่งวิ่งผ่านด่านตรวจกระเป๋า ที่สนามบินฮาร์ทฟิลด์
ในเมืองแอตแลนต้า ทำให้ยามรักษาความปลอด ภัยตื่นตระหนก มีการไล่จับชายคนนั้น
และสุดท้ายลงเอยด้วยการปิด สนามบินเป็นเวลา 4 ชั่วโมง ส่งผลให้มีการยกเลิกและเลื่อนเที่ยวบิน
จำนวนมาก
ปรากฏว่า ชายคนนั้นคือผู้โดยสารธรรมดา ที่ผ่านด่านตรวจ ผู้โดยสารไปแล้ว
แต่ลืมกระเป๋ากล้อง จึงวิ่งกลับไปเอา เมื่อกลับมาเห็น แถวด่านตรวจยาว กลัวไม่ทันเที่ยวบินที่ทิ้งลูกชายกับน้องชายไว้
จึง อาศัยทางลัดที่ทำให้เสียหายทางเศรษฐกิจหลายร้อยล้านดอลลาร์
เชื่อว่าถึงสิ้นปีนี้ สายการบินของ อเมริกา จะรายงานผลการขาดทุนมากกว่า
10 พันล้านดอลลาร์ และสายการบินอื่นๆ ทั่วโลก ก็ไม่มียี่ห้อใดที่ทำผลประกอบการได้ดีอีก
ต่อไป
ธุรกิจหลักของอเมริกาดับ
การก่อการร้าย ด้วยเครื่องบินพาณิชย์ ในเหตุการณ์ร้ายที่ OB;PVIND และวอชิงตัน
ทำให้ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา สายการบิน อเมริกันได้ลดอัตราเที่ยวบินลง 25
เปอร์เซ็นต์ และมีการปลดพนักงานกว่า 100,000 คน พร้อมกับการรายงานผลการประกอบการใน
ไตรมาสที่สาม สิ้นสุดเดือนกันยายน ด้วย ผลขาดทุนแทบทั้งหมด โดยรวมแล้วยอด
ขาดทุนของทุกบริษัท อยู่ที่ 2.4 พันล้านดอลลาร์ และทั้งหมดกะว่า ยอดขาดทุนทั้งปีจะอยู่ที่กว่า
5 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เป็นผลการ ประเมินตอนที่เครื่องบินยังไม่ตกอีกสองลำ
เดลต้า แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินอันดับ 3 ของประเทศ แจ้ง ยอดรายได้ 3.4
พันล้านดอลลาร์ จากที่เคยทำได้ 4.35 พันล้านดอลลาร์ และรายงานผลขาดทุน 295
ล้านดอลลาร์ ทั้งที่ได้รับเงินช่วยเหลือจาก รัฐบาล 104 ล้านดอลลาร์ ที่ผ่านมาหุ้นของเดลต้า
ตกลงไป 54 เปอร์ เซ็นต์ ขณะที่อันดับในดัชนีเอสแอนด์พี ตกลงไป 19 เปอร์เซ็นต์
และหุ้นรวมของสายการบินตกลงไป 59 เปอร์เซ็นต์
ยูเอส แอร์เวย์ ซึ่งเป็นสายการบินอันดับ 6 ประกาศยอดขาดทุน 766 ล้านดอลลาร์
จากเดิมที่ประมาณว่าจะขาดทุนในไตรมาสที่ 3 เพียง 433 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทตกแล้วตกอีก
อุบัติเหตุเมื่อ 11 กันยายน ถือว่าเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ทำ ให้เสียชีวิตและทรัพย์สินสูงสุด
ทรัพย์สินนั้นเป็นหลายพันเท่ากว่าที่เคย มีมา สำหรับชีวิตนั้น ประมาณว่ามากกว่า
4,500 คน ที่เสียชีวิตจากการ เกิดเหตุ อันดับสองของการเสียชีวิตนั้นเกิดนานมาแล้ว
เมื่อปี 1977 เมื่อเครื่องบินเคแอลเอ็มชนกับเครื่องบินแพนแอม ทำให้มีผู้เสียชีวิต
587 คน
โดยเหตุที่ธุรกิจสายการบินเป็นธุรกิจที่ทำรายได้เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ
รัฐบาลบุช และคองเกรส ได้พยายามแก้ปัญหาอย่างยิ่ง ทั้งนี้พวกสายการบินเองก็เข้าล็อบบี้ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลโดย
ทันทีด้วย เพียงช่วงสองอาทิตย์หลังเกิดเหตุ เก้าบริษัทใหญ่ในธุรกิจ การบินของอเมริกัน
ได้รับเงินช่วยเหลือจาก รัฐบาลอเมริกัน 3.7 พันล้าน เพื่อชดเชยกับ ความสูญเสียทางธุรกิจ
หลังเหตุการณ์ 11 กันยายน และอีก 1.3 พันล้าน เป็นเงินช่วย เหลือรายย่อยในอุตสาหกรรมและยังมีการ
ลงเงินเพิ่มความปลอดภัยสนามบิน
ล่าสุดมีการโหวตกฎหมายเปิดแผนก ใหม่ สังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อบรรจุ "พนักงานตรวจสอบประจำสนามบิน"
จำนวน
28,000 คนทั่วประเทศ เป็นพนักงานของรัฐ และให้รัฐบาลเข้ามามีส่วนในการฝึกอบรม
ความรู้ ด้านการใช้เทคโนโลยี การตรวจสอบ กระเป๋า นอกจากนั้น ยังมีการเพิ่มเจ้าหน้าที่
นอกเครื่องแบบในแต่ละเที่ยวบิน เรื่องรัฐบาล เสียเงินแบบนี้ เดโมแครตสนับสนุน
แต่ ส.ส. รีพับลิกันคัดค้านการออกกฎหมาย เพราะเสียงบประมาณ และเพิ่มภาระให้รัฐ
อย่างไรก็ตาม งานนี้มีแต่เดินหน้า และบริษัทเอกชนที่รับงาน นี้จากสนามบิน
จะเป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบ บางบริษัทนั้นดำเนิน ธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น
บริษัทคอมมานด์ เซ็กเคียวริตี้ คอร์ป ในรัฐ OB; PVIND จัดส่งเจ้าหน้าที่
600 คน ให้สายการบินต่างๆ ที่ลอสแองเจลิส ไมอามี่ และ OB; PVIND
กฎหมายใหม่ยังเขียนว่า รัฐจะเก็บค่าธรรมเนียม 2.50 ดอลลาร์ จากผู้โดยสารเป็นค่ารักษาความปลอดภัย
แต่จะไม่เก็บเกินครั้งละ 5 ดอลลาร์ในการเดินทางหนึ่งเที่ยว ซึ่งบางทีต้องเปลี่ยนเครื่องสาม
สี่สนามบิน
กฎหมายนี้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาด้วยคะแนนลงมติ 410 ต่อ 9 กำหนดให้สายการบินปฏิบัติตาม
เพิ่มความปลอดภัยใน 60 วัน และเพิ่มทั้งระบบภายในสิ้นปี 2002 รวมถึงการเพิ่มมาตรการผ่านเข้าห้อง
นักบินได้ถูกนำมาพูดถึงด้วย
อเมริกันแอร์ไลน์ช้ำ
ทบทวนเหตุการณ์ในรอบสามเดือนที่ผ่านมาแล้ว ธุรกิจที่เสีย ทรัพย์และเสียแบรนด์เนมมากกว่าใครในอุตสาหกรรมทั้งหมด
คือ สาย การบินที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา และใหญ่เป็นอันดับสองของโลก อเมริกันแอร์ไลน์
ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องบิน 2 ลำในเหตุการณ์ 11 กันยายน และอีก 1 ลำในอุบัติเหตุใกล้สนามบินเจเอฟเค
ถึงแม้ว่าหลังเกิดเหตุ อเมริกันแอร์ไลน์ได้รับความช่วยเหลือ จากรัฐบาลอเมริกันเป็นเงินสด
500 ล้านดอลลาร์ แต่ก็ยังปลดพนักงาน บริษัทในเครือออก และรายงานยอดขาดทุนในไตรมาส
3 จำนวน 414 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าแย่ที่สุดในการดำเนินธุรกิจมากว่า 75
ปี
Standard & Poor"s ผู้จัดอันดับบริษัทธุรกิจ ในชื่อ เอสแอนด์พี บอกว่า
บริษัทยังคงต้องจัดอันดับเครดิตของอเมริกันแอร์ไลน์ ด้วย ปัจจัยในทางลบ ที่ผ่านมาอเมริกันได้ลดต้นทุนลงถึง
2.5 พันล้านดอล ลาร์ โดยลดแผนขยายธุรกิจ และปลดคนงานลง 2,000 ตำแหน่ง
อเมริกัน แอร์ไลน์ มีเครื่องบินให้บริการทั้งหมดได้แก่ เครื่อง แอร์บัส
35 ลำ เครื่องโบอิ้ง 777 จำนวน 23 ลำ เครื่องโบอิ้ง 767 จำนวน 30 ลำ เครื่องโบอิ้ง
757 จำนวน 102 ลำ เครื่องโบอิ้ง 737 จำนวน 45 ลำ โบอิ้ง 727 จำนวน 62 ลำ
เครื่องบินฟ็อกเกอร์จำนวน 75 ลำ เครื่อง บินแมคโดนัลด์ ดักลาส 11 ลำ เครื่องบินดีซี
10 จำนวน 8 ลำ เครื่อง บินเอ็มดี 82 จำนวน 260 ลำ และเครื่องบินเอ็มดี 90
จำนวน 12 ลำ รวมทั้งสิ้น 663 ลำ
อเมริกันถือว่าเป็นสายการบินที่มีอุบัติเหตุน้อยในอดีต ยิ่งเมื่อ เทียบกับเที่ยวบินจำนวนมาก
โดยมีอุบัติเหตุเมื่อปี 1988 ที่นอร์ธโคโร ไลน่า ทำให้มีผู้เสียชีวิต 12
คน ปี 1994 ที่อินเดียน่า เสียชีวิต 72 คน ปี 1994 ที่นอร์ธโคโรไลน่า เสียชีวิต
15 คน ปี 1999 เครื่องบินตกที่ โคลัมเบีย เสียชีวิต 145 คน เครื่องบินชนที่อาร์แคนซัสขณะลงจอด
ทำ ให้ผู้โดยสารเสียชีวิต 11 คน จากทั้งลำ 145 คน ผลตรวจสอบพบว่า สองครั้งหลังเป็นความผิดพลาดของนักบิน
ทำให้อเมริกาถูกสั่งให้ ควบคุมคุณภาพการคัดเลือกนักบิน และการอบรมนักบินเสียใหม่
อเมริกันเป็นบริษัทในเครือของ AMR Corp. ซึ่งเป็นเจ้าของ สายการบิน TWA
ด้วย ถึงวันที่ 30 กันยายน บริษัทยังมีเงินสดสุทธิ 2.3 พันล้านดอลลาร์ และมีเครื่องบินมูลค่า
8 พันล้านดอลลาร์ได้
หุ้นตกไม่มีแววคืน
ตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยายน ตลาดหุ้นได้รับผลกระทบมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของธุรกิจการบิน
และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง หุ้นตกลงไปกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่หุ้นกำลังทรงตัว
ไม่ทรุดลงไป กว่าเดิมนั้น ก็ได้เกิดเหตุการณ์ 12 พฤศจิกายน ขึ้นอีก ในวันนั้นหุ้นของ
AMR บริษัทแม่อเมริกันออนไลน์ ลดลง 17 เปอร์เซ็นต์ UAL หรือยูไนเต็ด แอร์ไลน์
สายการบินใหญ่อันดับ 2 ของอเมริกา และผู้เสียหายอันดับ 2 เช่นกัน หุ้นตกอีก
5.9 เปอร์เซ็นต์ Delta หุ้นตก 2.72 เปอร์เซ็นต์ Continental หุ้นตก 9 เปอร์เซ็นต์
ธุรกิจประกันภัย
เป็นอีกธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูงจากเหตุการณ์ ถึงแม้ต้น ทุนการประกันภัยจะเป็นเพียง
1 เปอร์เซ็นต์ ของต้นทุนธุรกิจการบิน แต่ละเจ้าได้ประกันภัยไว้ในวงเงินที่สูง
ประกันภัยกำลังเรียกเงินค่าประ กันที่สูงขึ้นจากสายการบิน และสายการบินกำลังต่อรองผลักภาระนี้
ให้รัฐบาล
เหตุการณ์จี้เครื่องบิน 11 กันยายน ซึ่งใช้เครื่องโบอิ้ง 747 และ 757 เป็นขีปนาวุธเชื้อเพลิงพุ่งชนตึก
ยังทำให้มีผลอย่างมากต่อบริษัท ผลิตเครื่องบินพาณิชย์ยักษ์ใหญ่ที่สุด โบอิ้ง
ซึ่งสูญเสียยอดสั่งซื้อใน ช่วงปีนี้กว่า 1,000 ลำ โบอิ้งได้ออกข่าวลดพนักงาน
30,000 คน แต่ ยังไม่ดำเนินการ อนาคตและหุ้นของโบอิ้งกลายเป็นสิ่งไม่มั่นคงมาก
อย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป
มีกระแสวิเคราะห์ออกมาสองด้าน สำหรับธุรกิจสายการบิน ขนาดเล็กในอเมริกาบอกว่า
ธุรกิจดำเนินไปได้ดีขึ้น โดยเหตุที่สาย การบินขนาดเล็ก มีการควบคุมต้นทุนที่ดีกว่า
และมีการเข้มงวด คุณภาพนักบินกว่า รวมทั้งการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นกับสายการบิน
ขนาดใหญ่ ทำให้ผู้คนมั่นใจในการบินกับสายการบินเล็กๆ อีกทั้ง สายการบินเล็กๆ
นั้นถูกกว่าและปัจจุบันนี้หลายคนไม่มีเงินให้ ฟุ่มเฟือยอีกต่อไป ฟรอนเทียร์
กับเจ็ทบลู ได้ออกมาประกาศผลกำไร ในไตรมาสที่สาม สวนทางส่วนรวม และเจ็ทบลูนั้นยังประกาศเพิ่ม
เส้นทางการบินด้วย
อย่างไรก็ตาม ซูซาน โดโนฟริโอ แห่ง ดอยชท์ แบงก์ อเล็กซ์ บราวน์ อนาไลน์
บอกว่า ธุรกิจสายการบินเล็กๆ ในอเมริกา เช่น America West นั้น ในอนาคตอาจต้องออกจากธุรกิจไป
เพราะปัญหา ขาดความต้องการในการบิน
ที่ผ่านมา ดัชนีชี้นำหุ้นต่างๆ ได้ตกลงหมด อันเนื่องจากอุบัติภัยการบิน
ทั้งดัชนีหุ้นชั้นดี ดาวโจนส์ ดัชนีหุ้นเทคโนโลยี แนสแดค รวมถึงราคาพันธบัตร
เฉพาะอย่างยิ่งพันธบัตรสายการบิน
สายการบินทั่วโลกกระทบหมด
ในปัจจุบัน มีสายการบินพาณิชย์ทั่วโลก จำนวน 95 สาย แบ่ง เป็นบริษัทการบินในอเมริกาถึง
18 สาย แคนาดา 1 สาย ในทวีปยุโรป 20 สาย ละตินอเมริกา 17 สาย เอเชีย 23 สาย
(การบินไทย และไทย แอร์เวย์ นับเป็น 2 สาย) แอฟริกา และตะวันออกกลาง 18 สาย
สายการบินสวิส ได้รับความช่วยเหลือเร่งด่วนจากรัฐบาล โดยประกาศตั้งกองทุน
1 พันล้านฟรังค์ และให้เงินช่วยก้อนแรกแล้ว 50 ล้านฟรังค์ ทั้งนี้รัฐบาลสวิสเป็นรัฐบาลแรกที่เข้าช่วยเหลือธุรกิจ
การบินของประเทศในทันที
ภาวะการบินน้อย ทำให้สายการบินเวอร์จิน แอร์ไลน์ ซึ่งร่วม ทุนระหว่างเวอร์จิน
เรคคอร์ด และสิงคโปร์ แอร์ไลน์ ได้ประกาศ เพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร ด้วยการติดตั้งระบบกันกระสุนที่
ประตูห้องนักบิน รวมถึงอาจพิจารณาให้นักบินติดอาวุธต่อไป บริษัท ได้ลงทุนถึง
1 ล้านปอนด์ หรือ 1.5 ล้านดอลลาร์ ในด้านระบบความ ปลอดภัย รวมถึงการตรวจกระเป๋าที่สนามบิน
การบินไทย ได้ประกาศปิดสำนักงานขายทั้งหมด เว้นไว้แต่ สำนักงานในลอสแองเจลิส
ซึ่งเป็นจุดเดียวที่เครื่องบินการบินไทย มีบริการผู้โดยสารที่สนามบิน ที่ผ่านมานั้น
สำนักงานขายในเมืองอื่นๆ ไม่ได้ทำยอดขายมากนัก และเป็นการสูญเสียงบประมาณอย่างมากใน
ค่าเช่าสถานที่ค่าจ้างแรงงาน เป็นดอลลาร์นอกจากนั้นการบินไทย ได้ลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ในตลาดอเมริกา
อนาคตเศรษฐกิจการบินและเกี่ยวเนื่อง
ล่าสุด แม้จะเป็นช่วงวันขอบคุณพระเจ้า 23-26 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดยาว
และวันหยุดใหญ่ในรอบปี ปรากฏว่า การบิน ท้องถิ่นในอเมริกานั้นไม่ได้คึกคัก
อย่างที่เป็นอีกต่อไป ผู้คนเลือกการ เดินทางด้วยรถไฟ และรถยนต์กัน มากขึ้น
อัตราการบินตกลงไปราว 15-20 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อน ขณะที่ราคารถไฟนั้น ได้มีการขายตั๋ว
เต็มราคา จากเดิมที่มีการลดใน หลายเส้นทาง มีผลต่อธุรกิจต่อ เนื่องอย่างมาก
ทั้งบริษัทขายตั๋ว บริษัททัวร์ โรงแรม ที่พัก บริษัท รักษาความปลอดภัย บริษัทส่ง
อาหาร เครื่องบิน บริษัทจำหน่าย น้ำมันและอะไหล่เครื่องบิน ร้านค้า ในสนามบิน
ภาษีสนามบินของ รัฐบาลเอง กระทั่งแท็กซี่ และรถ รับส่งสนามบิน
ธุรกิจ Shuttle Bus บริการ ส่งคนโดยสารในรถแวน เป็นอีก ธุรกิจที่มีการปลดคนขับรถราว
30 เปอร์เซ็นต์ และลดชั่วโมงทำงาน ลง จนถึงกระทั่งปิดตัว เช่น ใน เดือนตุลาคม
US Shuttle ซึ่งเป็น บริษัทรถชัทเทิ่ล บัส ของเอกชน รายใหญ่ที่สุด ที่สนามบินโลแกน
ในเมืองบอสตัน ได้ปิดกิจการลง ทำให้มีคนตกงาน 150 คน
ชาวเกาหลี เจ้าของธุรกิจ รถรับส่งสนามบินขนาดเล็กราย หนึ่งบอกว่า ธุรกิจตกที่สุด
ทั้งคน ไม่ค่อยบิน และคนที่บินก็ไม่ค่อย มีเงิน เพราะหลายคนตกงาน คน ขับของตนนั้นไม่ค่อยมีงานทำ
กระทั่งไม่มีเงินผ่อนส่งรถ และรถถูกยึด แถมยังมีคนโทรมาเพื่อ หางานทำบ่อยๆ
นักวิเคราะห์บอกว่า อุบัติ เหตุที่ OB;PVIND ครั้งล่าสุดนั้น ทำให้ธุรกิจสายการบินจะทรุดลง
ไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจาก ผู้โดยสารหลีกเลี่ยงการบินหลังจาก ที่เกิดการตกซ้ำแล้วซ้ำเล่า
คอนติเนนตัล แอร์ไลน์ ประกาศไม่ให้ค่านายหน้าขายตั๋ว แก่เว็บไซต์ขายตั๋วอย่างเทรเวโล
ซิตี้และเอ็กซ์พีเดียอีกต่อไป ทำให้ ธุรกิจขายตั๋วออนไลน์ยิ่งฟอบแฟบ ส่วนไพรซ์ไลน์
ดอทคอม ซึ่งเป็น รายใหญ่บอกว่า ยังประคองตัวอยู่ ได้ ที่ผ่านมาสายการบินได้รวมตัว
กันทำเว็บไซต์ขายตั๋วเอง คือ Orbitz และสายการบินส่วนใหญ่ได้เปิดรับ จองออนไลน์
เพียงแต่ยังขายกัน ที่ราคาหน้าตั๋วเป็นส่วนมาก
ธุรกิจความบันเทิงใน เครื่องบิน เป็นอีกธุรกิจที่จะไม่ เติบโตมาก เวิลด์แอร์ไลน์
เอ็นเตอร์ เทนเมนต์ แอสโซซิเอชั่น ในชิคาโก้ บอกว่ายอดขายของธุรกิจบันเทิง
ในเครื่องบินกำลังตกลง มัทซุชิตะ อีเล็คทรอนิคส์ บอกว่า หลายสาย การบินเลื่อนรับสินค้า
หรือทบทวน คำสั่งซื้อใหม่ ผู้บริหาร บริษัท เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในเครื่อง
บิน ร็อคเวลล์ คอลลิน บอกว่า "ธุรกิจบันเทิงใน เครื่องบิน กำลัง รับผลกระทบหนัก
จากการซวนเซ ของสายการบินพาณิชย์ เพราะการทำให้เครื่องบินปลอดภัย และมีประสิทธิภาพนั้นมาเป็นอันดับ
หนึ่ง" บริษัท เทนซิ่ง คอมมิวนิ เคชั่น ผู้ติดตั้งระบบอีเมล์ในเครื่อง ประกาศปลดพนักงาน
ขณะที่ บริษัท คอนเน็กซั่น บาย โบอิ้ง (Connexion by Boeing) ยกเลิก การจ้างงาน
200 คน หรือ 1 ใน 3 ของพนักงานทั้งหมด
ธุรกิจต่างๆ ในอเมริกา แม้แต่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การบิน ก็พลอยได้รับผลกระทบ
ไป ด้วย เพื่อเรียกกำลังซื้อ และลด ภาวะเงินฝืด หลายธุรกิจได้เสนอ การลดราคาสินค้า
ไม่ใช่แต่ตั๋ว เครื่องบินและโรงแรม แต่รวมไปถึง รถยนต์ที่เสนอการผ่อนแบบไม่ต้อง
เสียดอกเบี้ย ค่าเช่าพื้นที่ทำธุรกิจ ถูกลงเป็นครั้งแรก น้ำมันก็ลดราคา ลงถึง
25 เซ็นต์ต่อหนึ่งแกลลอนจน เกิดความเป็นห่วงว่า ภาวะเงินเฟ้อ จะเกิดขึ้นแทน
อเมริกาประกาศตัวเลขคน ตกงานต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี เมื่อ เดือนตุลาคม โดยมีคนใหม่ตกงาน
450,000 คน ขณะที่เดือนสิงหาคม มี เพียง 54,000 คน และเดือนกัน ยายน มี 213,000
คน ส่วนอัตราการ ว่างงานนั้น คิดเป็น 5.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่ามากที่สุด
ในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา แต่ก็ยังน้อยกว่าอัตรา 11 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย
เมื่อปี 1981-1982
ตัวเลขการว่างงานของ อเมริกานั้น แม้จะน้อยกว่าประเทศ อื่น เช่น ฝรั่งเศส
มียอดคนว่างงาน 9.1 เปอร์เซ็นต์ เยอรมนี 9 เปอร์เซ็นต์ แคนาดา 7.3 เปอร์เซ็นต์
อย่างไร ก็ตาม อเมริกามีพลเมืองมากกว่า ดูแลได้ไม่ทัวถึงเท่าและมีสวัสดิการ
สังคมที่ด้อยกว่าประเทศเหล่านั้น มาก อีกทั้งยังมีปัญหาคนว่างงาน แอบแฝงในกลุ่มผู้ลักลอบทำงาน
และอยู่อย่างผิดกฎหมาย อัตราที่ น้อยกว่านี้จึงทำให้อเมริกามีปัญหา มากกว่าได้