Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543
ไทยประสิทธิฯ หมดยุคธุรกิจครอบครัว             
 

   
related stories

เนชั่นไวด์ โกลบอล โฮลดิ้ง

   
search resources

ไทยประสิทธิเนชั่นไวด์
ไทยประสิทธิประกันภัย
Insurance




ไทยประสิทธิประกันภัยของตระกูลจันทร์ศรีชวาลา ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานใหม่ให้มีความสามารถ รับมือกับสถานการณ์การตกต่ำของตลาด ทั้งการแข่งขัน ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ

วิธีการหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้คือ การแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจหรือบริษัทร่วมทุนต่างชาติ ที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของโลกเข้ามาเสริมทัพสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัท ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ทางด้านฐานลูกค้า เทคโนโลยี และโนว์ฮาวรวมทั้งเครือข่ายโยงใยในต่างประเทศของบริษัทพันธมิตรด้วย

สถานการณ์ตอนนี้เหมาะสม อย่างมากสำหรับไทยประสิทธิประกันภัย ในการหาพันธมิตรร่วมทุน (Joint Venture) เพราะราคาหุ้นตกลงอย่างมาก และเป็นเรื่องลำบากในการระดมทุนด้วยตัวเอง

ไทยประสิทธิ หนึ่งในสี่บริษัทประกันภัยในประเทศไทย ที่ถือใบอนุญาตดำเนินธุรกิจ 2 ใบ คือ ธุรกิจประกันชีวิต และประกันภัยได้ทำการแยกธุรกิจออกจากกันโดยเด็ดขาดแล้วเมื่อต้นเดือนเมษายน ที่ผ่านมา โดยธุรกิจประกันภัยได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ เป็น "มิตรแท้ประกันภัย" และทำการเพิ่ม ทุนจดทะเบียนจาก 360 ล้านบาท เป็น 1.14 พันล้านบาท โดยตระกูลจันทร์ศรีชวาลา

ขณะที่ธุรกิจประกันชีวิตของตระกูลดัง กลับต้องอาศัยพันธมิตรใหม่ "เนชั่นไวด์ โกลบอล โฮลดิ้ง" สัญชาติอเมริกันเข้ามาเพิ่มทุนให้จากเดิม 175 ล้านบาท เป็น 375 ล้านบาท การเพิ่มทุน จำนวน 200 ล้านบาทนี้ เนชั่นไวด์รับไปทั้งหมดส่งผลให้เข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 25% เป็นพันธมิตรใหม่ของจันทร์ศรีชวาลา พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ไทยประสิทธิเนชั่นไวด์"

สุนทร บุญสาย กรรมการผู้จัด การไทยประสิทธิเนชั่นไวด์ กล่าวถึงดีล นี้ว่า ไม่มีทางเลือกอื่นในสถานการณ์แบบนี้ บริษัท ที่แสวงหาการเจริญเติบโตให้กับตนเองจำเป็นต้องมีแหล่งเงินทุนสนับสนุน "ถ้าไม่มีปัจจัยนี้เราคงจะขยายงานออกไปไม่ได้แม้ว่าจะต้องสูญเสียสัดส่วนการถือหุ้นออกไปบ้างก็ตาม"

อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นแผนการดำเนินงานจะเป็นไปตามแผนเดิม ที่ได้วางไว้เมื่อต้นปี "การเปลี่ยนแปลง ที่เป็นรูปธรรมขณะนี้เกิดขึ้นเฉพาะการร่วมทุน มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการชุดใหม่ อำนาจการบริหารงานจะขึ้นอยู่กับเนชั่นไวด์ โดยมีเงื่อนไขว่าให้ผมนั่งทำงานเหมือนเดิม" สุนทรบอก

เม็ดเงิน ที่ไทยประสิทธิได้จากการขายหุ้นให้กับเนชั่นไวด์จำนวน 200 ล้านบาทจะนำไปไถ่ถอน ทรัพย์สินออกไปจำนวนพันกว่าล้านบาท "ปัจจุบันเรามีเงินสดในมือประมาณ 1,500 ล้านบาทจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้"

สิ่งที่ไทยประสิทธิจะได้จากเนชั่นไวด์ นอกเหนือจากเม็ดเงินแล้วยังรวมถึงเทคโนโลยี และโนว์ฮาวด้วย โดย เฉพาะด้านการพัฒนารูปแบบการออมจะเปลี่ยนแปลงโดยจะคล้อยตามกันหมดทั่วโลก คือ การประกันชีวิตจะแปรรูปจาก traditional policy หรือ traditional product ไปเป็น invest-ment product สิ่งเหล่านี้ไทยประสิทธิจะต้องอาศัยเนชั่นไวด์ในการดำเนินธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งจะมีความหมาย มากขึ้น

สำหรับแผนงานของไทยประสิทธิ ที่เนชั่นไวด์ไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ก็คือ เป้าหมายเบี้ยประกันปีแรก ที่ปีนี้ตั้งเป้าการเติบโตไว้ ที่ระดับ 170% เมื่อเทียบ กับปีที่แล้ว และ 5 เดือนแรกปีนี้เติบโตไปแล้ว 154% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกัน ของปีก่อน

"ส่วนเบี้ยปีต่ออายุเราตั้งเป้าโตไม่ต่ำกว่า 80% ของเบี้ยประกันรวมของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของตลาด แสดง ว่าเบี้ยประกันรวมจะอยู่ ที่ 1,150 ล้านบาท ขณะที่ปีที่แล้วทำได้ 690 ล้านบาท หมายความว่าเบี้ยรวมเราจะโตประมาณ 67%"

อย่างไรก็ตามสำหรับการเปิดศักราชใหม่ภายใต้ไทยประสิทธิเนชั่น ไวด์ปีนี้จะขาดทุนอย่างมาก เนื่องจากค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นสูงในปี แรก "ยิ่งเราขยายตัวมากเท่าไหร่โอกาส ที่เราจะขาดทุนก็มากเท่านั้น เช่น เบี้ยประกัน 100 บาท ที่เก็บเข้ามาค่าใช้จ่ายจะมากตามสินไหม ที่เกิดขึ้นในปีแรกจะมาก แต่เมื่อขยายตัว และเก็บเบี้ยปีแรกเข้ามาแล้ว พอปีต่อไปจะเป็นเบี้ยต่ออายุ ค่าใช้จ่ายลดลงอย่างมาก นั่นคือ กำไรของเรา ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของธุรกิจประกันชีวิต ที่ปีแรก margin แทบจะไม่มีเลยหรือติดลบมหาศาลด้วยซ้ำ บริษัทจะขาดทุนไป 1-2 ปีข้างหน้าจากนั้น ถึงจะเริ่มมีกำไร"

สำหรับแผนงานในระยะยาวของไทยประสิทธิเนชั่นไวด์ ปัจจุบันกำลังพิจารณากันอยู่ว่าจะเดินไปทางไหน แต่ ที่ชัดเจน และมีความเป็นไปได้มากที่สุดน่าจะอยู่ ที่แผนการเพิ่มทุนอีกประมาณ 600 ล้านบาท ภายใน 5 ปีข้างหน้าเพราะจะเป็นลู่ทางให้เนชั่นไวด์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมด นั่นจะทำให้ความเป็นธุรกิจครอบครัวของตระกูลจันทร์ศรีชวาลาในไทยประสิทธิหมดลงทั้งจำนวนหุ้น และอำนาจการบริหารงาน สะท้อนได้จากในขณะนี้ ที่เนชั่นไวด์เริ่มมีบทบาทอย่างเห็นได้ชัด คงจะต้องดูกันต่อว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า หน้าตาของไทยประสิทธิ เนชั่นไวด์จะเหลือเค้าโครงความเป็นบริษัทท้องถิ่นหรือไม่

ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย ที่บริษัทประกันภัยจากตะวันตกกำลังคืบคลานเข้ามาสร้างฐานธุรกิจ แต่การดำเนินการเป็นไปทั่วเอเชีย ภายใต้ข้อจำกัดทางธุรกิจของเหล่าบรรดาบริษัทท้องถิ่นทั้งหลาย หลังจากเจอวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา

จับตาดูให้ดีจากนี้ไปโอกาส ที่บริษัทประกันท้องถิ่นจะดำรงสถานะอยู่รอดปลอดภัยจะลดลง และในที่สุดบริษัทเหล่านั้น ก็จะกลายเป็นลูกครึ่ง หรือกลายพันธุ์ไปเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us